คอร์สติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย - GAT, PAT Admission คือ ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (CentraI University Admissions System : CUAS) หรือระบบแอดมิสชั่นส์กลาง ที่ใช้ทำการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา 2549 แทนระบบเอ็นทรานซ์ที่ใช้อยู่เดิม โดยมีองค์ประกอบเพื่อใช้เป็นเกณฑ์
ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษา ในมหาวิทยาลัย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดองค์ประกอบ และค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเข้าศึกษา
ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง (Admissions) ประกอบด้วย 1. GPAX 2. O-NET 3. GAT 4. PAT รวม 100 %
1. O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ในตอนนี้จะพูดถึงการสอบ O-NET ในระดับชั้น ม.6 เพียงอย่างเดียว O-NET ม.6 คือ การวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆ ที่วัดเฉพาะพื้นฐานจริงๆ เท่านั้น
2. GAT (Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆ ว่า การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก
3. PAT (Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ
ความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test/ 300 คะแนน/เวลาสอบ 3 ชม.) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ
1. เนื้อหา
– การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา (ทาง คณิตศาสตร์) 50% หรือ 150 คะแนน
– การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ (Vocabulary, Structure/Writing, Reading Comprehensive) 50% หรือ 150 คะแนน
2. ลักษณะข้อสอบ
– ข้อสอบปรนัย และอัตนัยที่ตอบแบบปรนัย
– ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
– เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT : Professional and Academic Aptitude Test/ 300 คะแนน/เวลาสอบ 3 ชม.) คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท
- PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
เป็นโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากที่สุดในการสอบ Admission (ยากกว่าข้อสอบ O-Net และ 9วิชาสามัญ) นักเรียนคนไหนที่ได้คะแนนสูงๆ ถือว่ามีทักษะด้านคณิตศาสตร์ที่ดีมากๆ
เนื้อหาของข้อสอบ ประกอบด้วยบทเรียนของคณิตศาสตร์พื้นฐาน (คณิตศาตร์หลัก) และคณิตศาสตร์เสริม ทั้งหมด 17 บท ซึ่งบทเรียนที่มีเนื้อหาซับซ้อน และปริมาณมากๆ ก็จะใช้ออกข้อสอบในปริมาณที่มากตามไปด้วย เช่น เอกซ์โพแนนเชียลและลอการึทึม ความน่าจะเป็น ตรีโกณมิติ แคลคูลัส สถิติ ลำดับและอนุกรม
กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์กายภาพ กลุ่มเกษตร-วนศาสตร์ กลุ่มบริหาร-บัญชี เศรษฐศาสตร์
- PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหาของข้อสอบ ประกอบด้วย 4 วิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และ ดาราศาสตร์ โดยจำนวนข้อสอบของวิชา ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา แต่ละวิชามีจำนวนข้อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน (25-35%) ส่วนดาราศาตร์จะมีจำนวนข้อที่น้อยสุด (10-15%) เนื่องจากข้อสอบ PAT2 ประกอบด้วย 4 วิชาด้วยกัน มีผลทำให้นักเรียนจำนวนมาก เลือกทำเฉพาะวิชาที่ตนเองได้เตรียมตัวมา ดังนั้น PAT2 ถือว่ามีความยากอยู่พอสมควร เพราะปริมาณที่มากของบทเรียนในการออกข้อสอบมีคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
เนื้อหาของข้อสอบ ประกอบด้วย 3 วิชา คือ ฟิสิกส์ (เน้นเรื่องของไหล แสง เสียง ภาคกลศาสตร์ และไฟฟ้า) เคมี (เน้นคำนวณ เช่น ปริมาณสารสัมพันธ์ กรด-เบส แก๊ส รวมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม) คณิตศาสตร์ (เน้นเรื่องแคลคูลัส สถิติ) รวมถึงการมองภาพ3มิต ิ(isometricพื้นฐาน) ก็เป็นข้อสอบด้วยเช่นกัน มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
เนื้อหาของข้อสอบ เกี่ยวกับ isometric(PLAN PRONT SIDE) แนวข้อสอบตรรกะ ความรู้ทั่วไป และให้วาดรูป (perspective) มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
- PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหาเกี่ยวกับ ทฤษฎีศิลปะ ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏยศิลป์ มีคณะที่ใช้ คือ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (วิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์) ดุริยางคศิลป์ และนาฏยศิลป์
- PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
แบ่งออกเป็น 6 หมวด ดังนี้
7.1 ภาษาฝรั่งเศส 7.2 ภาษาเยอรมัน 7.3 ภาษาญี่ปุ่น
7.4 ภาษาจีน 7.5 ภาษาอาหรับ 7.6 ภาษาบาลี
มีคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มการโรงแรมและท่องเที่ยว กลุ่มมนุษย์ฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์ สำหรับการสอบ GAT PAT ค่อนข้างจะอิสระพอสมควร ทุกคนมีสิทธิในการสอบหมด ทั้ง ม.6 เด็กซิ่ว หรือสายอาชีพ และจะสมัครกี่ครั้งก็ได้ (ปีนึงมี 2 ครั้ง) โดยอายุของคะแนนสอบ GAT PAT อยู่ได้ 2 ปี นั่นหมายความว่า หาก ม.6 ปีนี้ อยากซิ่วในปีหน้า คะแนนของปีนี้ก็ยังใช้ได้ โดยในการสมัครแอดมิชชั่นกลางจะมีระบุไว้ว่าใช้รอบใดได้บ้าง และในรับตรงบางคณะ จะกำหนดไว้ว่าใช้คะแนนรอบไหนได้บ้าง สามารถสมัตรสอบ Gat Pat และ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง
http://www.niets.or.th/การสอบรับตรงจุฬา เกษตร ธรรมศาสตร์ มหิดล มศว
- ข้อมูลการสอบรับตรงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://admission2.atc.chula.ac.th/- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://registrar.ku.ac.th/direct-admission- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://web.reg.tu.ac.th/registrar/home.asp- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.mahidol.ac.th/quota2013/1.html- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัย มศว ประสานมิตร
http://admission.swu.ac.th/