͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: AOT คาดงวดปี 67 กลับมากำไรระดับหมื่นลบ.หลังประเมินผู้โดยสารฟื้นเท่าก่อนโควิด  (อ่าน 21 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ hs8jai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12750
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) คาดว่า ผลประกอบการของบริษัทจะค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นตามการกลับมาผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น โดยในงวดปี 66 (ต.ค.65-ก.ย.66) คาดจะมีกำไรระดับพันล้านบาท ซึ่งประเมินว่าจำนวนผู้โดยสารจะกลับมา 2 ใน 3 ของจำนวนก่อนโควิด-19 หรือราว 96 ล้านคน จากงวดปี 65 ที่ 46 ล้านคนและขาดทุนอยู่

ขณะที่งวดปี 67 (ต.ค.66-ก.ย.67) คาดว่า AOT จะกลับมากำไรในระดับหมื่นล้านบาท จากการประเมินจำนวนผู้โดยสารกลับมาเท่ากับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ที่ 140 ล้านคน

ทั้งนี้ ในงวดปี 66 รายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสนามบินจะเพิ่มขึ้นหลังจากวันที่ 1 เม.ย.66 AOT มีกำหนดกลับมาเก็บส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำจากผู้ประกอบการพื้นที่เชิงพาณิชย์ จากเดิมที่ AOT ได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำเพื่อบรรเทาผลกระทบในช่วงสถานการณ์โควิด-19

ขณะที่คิงเพาเวอร์ ซึ่งมีสัญญาบริหารพื้นที่ดิวตี้ฟรีในสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินภูเก็ต สนามบินเชียงใหม่ และสนามบินหาดใหญ่ รวมถึงบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ และส่วนผู้โดยสารในประเทศของสนามบินสุวรรณภูมิ ยังคงเก็บตามอัตราขั้นต่ำ (Minimum Guarantee ) จำนวนรายได้ต่อหัว โดยสนามบินสุวรรณภูมิเก็บ 233 บาท/คน , สนามบินภูมิภาค 127 บาท/คน และพื้นที่เชิงพาณิชย์และในประเทศสุวรรณภูมิ เก็บ 71 บาท/คน หากมีจำนวนผู้โดยสารที่สนามบินสุวรรณภูมิเกิน 66 ล้านคน/ปี ก็จะปรับการเก็บเป็นรายได้ต่อหัว รวมกับการพิจารณาอัตราการเติบโตของผู้โดยสารและอัตราเงินเฟ้อของปีปฏิทินก่อนหน้า (MAG I)

ส่วนกรณีกรมธนารักษ์ที่เคยให้ส่วนลดค่าเช่า 50% พื้นที่ตั้งสนามบินของ AOT ก็จะกลับมาเก็บในอัตราปกติ พร้อมกับที่บริษัทยุติการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่สนามบิน

นายนิตินัย ยังเปิดเผยว่า ในปี 67 คาดว่าสัดส่วนรายได้ของ AOT จาก Non-Aero จะเพิ่มเป็นมากกว่า 50% จากปีก่อนโควิดมีสัดส่วนอยู่ที่ 43% ขณะที่รายได้จาก Aero มีสัดส่วน 57% โดยจะมาจากรายได้จากการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น และมาจากธุรกิจใหม่ อาทิ รายได้จากดิจิทัลผ่านแอพพลิเคชั่น SAWASDEE by AOT และ ศูนย์ Certify Hub เป็นต้น

ปัจจุบัน 6 สนามบินที่ AOT บริหาร มีจำนวนผู้โดยสาร 2.3-2.4 แสนคน/วัน (เดือน ต.ค.65) เพิ่มจากก่อนหน้าที่ 1.8-1.9 แสนคน/วัน ขณะที่ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 มีผู้โดยสาร 4 แสนคน/วัน

นายนิตินัย กล่าวว่า แนวโน้มการเดินทางเข้ามาจะมีมากขึ้น แม้ว่าจีนยังไม่เปิดประเทศ แต่ไทยก็มีนักท่องเที่ยวจากซาอุดิอาระเบียและประเทศแถบตะวันออกกลาง รวมถึงอินเดีย ที่เข้ามาทดแทนผู้โดยสารจีนได้มาก อย่างไรก็ตาม ในฝั่งซัพพลายเชนยังไม่ฟื้นตัวเทียบเท่ากับด้านดีมานด์ได้ และเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของ AOT จึงประเมินว่าในช่วงปี 66 ก็คงจะเกิดปัญหาการบริการที่ไม่เหมือนเดิม อาทิ รถแท็กซี่ บริการภาคพื้นดิน การขนส่งสัมภาระ เป็นต้น ดังนั้น AOT จึงได้นำเทคโนโลยีมาช่วยการให้บริการที่ใช้คนน้อยลง

ล่าสุด AOT จับมือ บมจ.สกายไอซีที (SKY) พัฒนาแอปพลิเคชั่น SAWASEDEE by AOT ให้เป็น Thailand Travel Super App ที่ครอบคลุมความต้องการของนักท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิด "Gateway to Thailand" ยกระดับฟีเจอร์ใหม่ตอบโจทย์ 3 ด้าน ได้แก่ 1.Digital Airport Experiences ยกระดับประสบการณ์ภายในสนามบินทั้ง 6 ท่า 2. Digital Lifestyle ยกระดับการใช้จ่ายและสิทธิพิเศษ และ 3. Digital Travel Safety ยกระดับความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว ซึ่งแอปพลิเคชั่นนี้รองรับได้ถึง 8 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี สเปน และรัสเซีย