͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: วิกฤติขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน หลายชาติเลือกข้างชัด จุดยืนไทย ยังนิ่งเงียบ  (อ่าน 304 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ B001

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 575
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
วิกฤติขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน หลายชาติเลือกข้างชัด จุดยืนไทย ยังนิ่งเงียบ
24 มี.ค. 2565 นี้ จะครบ 1 เดือน ในการบุกถล่มยูเครนของรัสเซีย นับวันจะรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เต็มไปด้วยความสูญเสียและพังพินาศเกือบทั่วทุกภูมิภาคในยูเครน โดยเฉพาะเมืองมาริอูโปลได้ถูกปิดล้อม กำลังเผชิญกับหายนะทางมนุษยธรรม และความหวังให้สงครามสงบ ด้วยการเจรจาสันติภาพ ยังไม่มีวี่แวว  แม้ท่าทีของโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนยอมอ่อนลงอย่างมาก ได้ล้มเลิกความตั้งใจจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต เพื่อแลกกับการหยุดยิงและถอนกำลังของรัสเซียไม่ได้ผล หรือสงครามโลกครั้งที่ 3 กำลังเริ่มชัดเจนมากขึ้น จากการแบ่งขั้วออก เป็นสองขั้วของแต่ละประเทศ   ยิ่งจีนหากจับมือกับรัสเซียแนบแน่นมากขึ้น จะยิ่งน่ากลัว หลังหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ชี้ว่าจีนมีท่าทีจะให้ความช่วยเหลือกับรัสเซีย ทั้งด้านทหารและการเงิน ขณะที่นาโตและประชาคมยุโรป ยังคงให้การสนับสนุนด้านอาวุธและทางการเงินแก่ยูเครน    mgwin88 ?????       แล้วประชากรโลกจะอยู่อย่างไรต่อไป หลายประเทศอาจต้องเผชิญความอดอยากครั้งใหญ่ จากการออกมาเตือนขององค์การสหประชาชาติ เพราะราคาอาหาร พลังงาน จะทะยานปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง กระทบต่อระบบห่วงโซ่อุปทาน จนสร้างปัญหาให้กับประเทศยากจน และประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา พึ่งพาการนำเข้าธัญพืชจากยูเครนและรัสเซีย    รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ ผู้อำนวยการศูนย์ยุโรปศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุในการเสวนาวิกฤติความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ว่า ยุโรปยังคงช่วยเหลือยูเครนต่อไป แต่จะไม่มีทางประกาศเขตห้ามบินในรัศมีน่านฟ้ายูเครน เพราะว่ายูเครน ไม่ใช่สมาชิกนาโต และจะทำให้เกิดการประจัญหน้ากัน ถึงแม้ไม่ถึงขั้นสงครามโลก แต่จะเป็นสงครามระหว่างสองทวีป คือยุโรปกับเอเชีย และไทยจะมีผลกระทบโดยตรง เพราะถ้าไทยอยู่กับจีนด้วย จะทำให้โดนปิดไปหมด     mgwin88 ?????       ส่วนในเรื่องพลังงาน จริงๆ แล้วยุโรป ควรได้บทเรียนตั้งแต่ปี 2008 จากการถูกรัสเซียตัดแก๊ส ตอนทำสงครามบริเวณที่จะมีการแบ่งตัวจากจอร์เจีย แต่ครั้งนี้ในกรณียูเครน ทางยุโรปต้องเจรจาอย่างจริงจังในการเอาพลังงานกับสหรัฐฯ หรือตะวันออกกลางบางประเทศ เพื่อคลี่คลายปัญหาระยะยาว อีกทั้งเยอรมนี และออสเตรีย พึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียมากๆ และอดีตผู้นำประเทศเหล่านี้ เมื่อเกษียณก็ไปเป็นที่ปรึกษาท่อแก๊สให้รัสเซียด้วย ต้องพยายามใช้พลังงานทางเลือก พลังทดแทนมากขึ้น ยิ่งยุโรปไม่มีความมั่นคงทางอาหาร และยิ่งไม่มีความมั่นคงทางพลังงานไปอีก จะยิ่งเป็นปัญหา    ขณะที่นโยบายด้านต่างประเทศของกระทรวงต่างประเทศของไทย ต้องทำให้ไทยมีความชัดเจนเหมือนสิงคโปร์ เหมือนเคยมีนโยบายภัยคุกคามในยุคสงครามเย็น แต่หลังจากนั้นไม่มีอีกแล้ว กลายเป็นไทยหลุดออกมาเหมือนเป็นประเทศอาเซียนในกลุ่ม CLMV มีกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ไปอยู่กับฝั่งจีน ซึ่งไทยจะต้องคิดทบทวนในเรื่องนี้.
mgwin88 ?????