͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: วิจัยกรุงศรีประเมินฉากทัศน์ (scenario) ของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน  (อ่าน 16 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12494
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
วิจัยกรุงศรีประเมินฉากทัศน์ (scenario) ของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน คาดลดทอน GDP ไทยปีนี้ลงจากกรณีฐาน 0.4-2.4%
 
วิจัยกรุงศรีรายงานว่า วิกฤตราคาพลังงานผลพวงจากสงครามรัสเซียกับยูเครนกดดันความเชื่อมั่นและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์อ่อนแอลง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ 43.3 จาก 44.8 เดือนมกราคมเช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนที่ 86.7 จาก 88.0 ในเดือนก่อน ปัจจัยลบจากความกังวลจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโอมิครอนที่เพิ่มขึ้นสูงอาจกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศชะลอลง ราคาพลังงานที่สูงขึ้นมากกระทบต่อต้นทุนการผลิตค่าขนส่ง และเพิ่มภาระค่าครองชีพจากราคาสินค้าที่ทยอยปรับขึ้น

วิจัยกรุงศรีประเมินความเป็นไปได้ของผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนจำแนกเป็น 3 กรณี ได้แก่ (1) การสู้รบยุติภายในเดือนมีนาคม ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกแบนการค้าและธุรกรรมทางการเงินของรัสเซียบางส่วนไปจนถึงสิ้นปีนี้ (2) การสู้รบยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 2/2565 ทำให้ชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงมากขึ้น มีการแบนสินค้าที่ไม่ใช่พลังงานจากรัสเซียทั้งหมด และ (3) การสู้รบยืดเยื้อและขยายขอบเขตไปยังประเทศอื่นจนถึงกลางปี 2565 ชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตรรุนแรงมากขึ้น ทำให้รัสเซียตอบโต้ด้วยการยุติการส่งออกสินค้าพลังงานไปยังยุโรป จนนำไปสู่วิกฤตพลังงานขึ้นในยุโรป โดยช่องทางการส่งผ่านผลกระทบหลักมีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ การค้าและการขนส่ง ความมั่นคงด้านพลังงาน เสถียรภาพด้านราคา และผลจากรายได้และตลาดการเงิน

วิจัยกรุงศรีใช้แบบจำลอง Dynamic Stochastic General Equilibrium (DSGE) คำนวณหาผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย โดยผลต่อไทย พบว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ในกรณีฐาน 0.4% 1.1% และ 2.4% ตามลำดับ ส่วนอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวกว่าที่คาดไว้ 1.4% 2.3% และ 3.5% ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณการส่งออกลดลงจากกรณีฐาน 1.1% 3.0% และ 4.7% ตามลำดับ

ในส่วนของผลต่อภาคอุตสาหกรรม พบว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง ภาคขนส่ง โรงกลั่นน้ำมัน การขนส่งทางเรือ และอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าโลหะและพลังงาน ส่วนอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ ธุรกิจน้ำตาล เสื้อผ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องหนัง โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ประโยชน์จากราคาที่สูงขึ้นและการเบี่ยงเบนทางการค้า (Trade Diversion) (อ่านฉบับเต็มได้ที่ ผลกระทบของวิกฤติรัสเซีย-ยูเครนต่อเศรษฐกิจไทย)

ล่าสุดแรงกดดันจากราคาพลังงานยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากทางการเตรียมปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนเป็น 333 บาทต่อถัง 15 กก. (เริ่ม 1 เมษายน) และการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) ในงวดเดือนพฤษภาคม ส่วนแนวทางในการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตราคาพลังงาน ทางการเผยเตรียมให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (13.5 ล้านคน) ได้แก่ (i) เพิ่มวงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จาก 45บาท/คน/3 เดือน เป็น 100 บาท/คน/ 3 เดือน (ii) ช่วยเหลือค่าน้ำมันเบนซินสำหรับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนในกลุ่มผู้ถือบัตรฯ