͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ประเมินวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ  (อ่าน 23 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12494
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ประเมินวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย 3 ด้าน

เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ประเมินวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย 3 ด้าน
ทีมนักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิจัย บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) หรือ MST กล่าวว่าวิกฤต รัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบเชิงลบต่อภาคเศรษฐกิจจริง สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ส่งผลให้มาตรการตอบโต้ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการต่างประเทศ เริ่มขยายวงกว้าง ซึ่งส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวจาก Covid-19 และสร้างความกังวลว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

ผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย หากประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการคว่ำบาตรรัสเซีย อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่

1) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง - ไม่มาก

-การค้าระหว่างประเทศ: ไทย-รัสเซียมีสัดส่วนที่ไม่สูง ในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ไทยส่งออกไปรัสเซียคิดเป็น 0.5% และนำเข้าคิดเป็นเพียง 0.4% ของมูลค่ารวม

-การท่องเที่ยว: แม้นักท่องเที่ยวรัสเซียที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยในปี 2564 สูงเป็นอันดับที่ 4 แต่คิดเป็นจำนวนไม่มากเพียง 3 หมื่นราย เนื่องจากผลกระทบ Covid-19

2) ผลกระทบด้านห่วงโซ่อุปทานและเงินเฟ้อ - ค่อนข้างรุนแรง

ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน คือการเร่งภาวะเฟ้อที่มาจากด้านต้นทุน (Cost Push Inflation) ให้รุนแรงขึ้น ทั้งจากราคาพลังงานโดยตรง และราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นที่รัสเซียเป็นผู้ผลิตหลักของโลก ส่งผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่ม TRANS PETRO Packaging CONMAT และ Man.cturing (ผลลบมากกว่าผลบวกจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวขึ้น)

-ผลกระทบด้านพลังงาน: หากเกิดกรณีชาติตะวันตกคว่ำบาตรรัสเซีย (สหรัฐฯส่งสัญญาณยังไม่ปิดโอกาส แต่ยุโรปไม่เห็นด้วย) ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่จะส่งผลให้ Supply ขาดแคลนอย่างเฉียบพลัน

-ผลกระทบต่อต้นทุนภาคอุตสาหกรรม: รัสเซียเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งแร่โลหะ (metals) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในหลายอุตสาหกรรม ประกอบด้วย Palladium ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์ Platinum ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และ จิวเวอร์รี่ Nickel ใช้ผลิตแสตนเลส ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับการผลิตอุปกรณ์ของใช้ในบ้าน (เช่น เครื่องครัว) อุตสาหกรรมการแพทย์ โครงสร้างพื้นฐาน และยานพาหนะ Copper ใช้ในการก่อสร้าง อุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์ และการขนส่ง

3) ความเสี่ยงจากกระแสเงินลงทุนต่างชาติ - ปานกลาง

กระแสเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ช่วง ธ.ค. รวมทั้งสิ้นสูงถึงระดับ 8 หมื่นล้านบาท บนมุมมองเชิงบวกแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัว การเริ่มเปิดประเทศ ระดับราคาอยู่ในจุดที่ดึงดูด และเป็นช่วงที่ตลาด DM: Developed Market อยู่ในจุดที่ Valuation ตึงตัว อย่างไรก็ตามวิกฤตที่เกิดขึ้นส่งผลให้ภาพดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนไป ตลาดหุ้น DM (S&P500 Stoxx50) ปรับฐานแรงจนกลับไปสู่ระดับเทียบเคียงกับตอนที่เผชิญวิกฤต Covid-19 ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่กระแสเงินลงทุนอาจไหลออกจากตลาดหุ้นไทยที่ Outperform สู่ตลาด DM ที่มีส่วนลด

ราคาหุ้นตอบรับเชิงลบไปแล้วพอสมควร และลงมาถึงจุดที่น่าสนใจทยอยสะสม ตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันตอบรับความเสี่ยงต่างๆไปแล้วพอสมควร และถึงจุดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่โดนผลกระทบจำกัด นำโดย Tourism COMM จาก

1) SET Index ล่าสุด (ปิดเช้าวันที่ 8 มี.ค.) ปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดของปีประมาณ -5.5%                                                                                                                                          

2) Earnings Yield Gap ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดของปี ที่ 3.76%                                                                                   

3) ปัจจุบัน SET ซื้อขายที่ P/E 17 เท่า (EPS 94.2) ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย P/E ย้อนหลัง 5 ปี