ภาวะ
ตลาดเงินบาท: เปิด 33.13 แนวโน้มผันผวนทางอ่อนค่า ให้กรอบเคลื่อนไหววันนี้ 33.00-33.30
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.13 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อย จากเย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.17 บาท/ดอลลาร์
วันนี้เงินบาทคาดว่าจะยังเคลื่อนไหวผันผวน แต่มีโอกาสจะไปในทิศทางที่อ่อนค่าต่อได้อีก เนื่องจากช่วงนี้ปัจจัยสำคัญ คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้นักลงทุนในตลาดมีความเชื่อมั่นลดลง และต่างหันไปถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยกันมาก ขึ้น เช่น ดอลลาร์สหรัฐ และทองคำ
Wนักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.00 - 33.30 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (8 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.61892% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.67253%
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.19000 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 115.89 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 115.55 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0918 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0886 ดอลลาร์/ยูโร
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.100 บาท/ดอลลาร์
รัสเซีย-ยูเครน ฉุดหุ้นไทยร่วงต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีปิดตลาดที่ 1,619.10 จุด ลดลง 7.60 จุด ส่วนราคาทองคำใน
ประเทศ 8 วัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแล้วกว่า 1,750 บาท
กระทรวงการคลัง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนัก
งานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เพื่อประเมินผลกระทบจากสงครามรัสเซียและยูเครนที่มีต่อเศรษฐกิจ
ไทย เบื้องต้นยอมรับว่าในระยะสั้นมีผลกับราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าหากสถานการณ์ดังกล่าวจบเร็ว จะกระทบกับราคาพลังงาน
ในช่วงสั้นเท่านั้น แต่ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอยู่บ้าง
กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยช่วงเดือน ก.พ.65 ที่ผ่าน
มา พบว่า นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิ 61,336 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสูงสุดในรอบ 16 ปี เนื่องจากเชื่อว่าตลาดหุ้น
ไทยยังเป็นที่หลับภัยชั้นดีสำหรับชาวต่างชาติจากการเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐและภาวะเงินเฟ้อจึงลดน้าหนักการลงทุนของทั่ว
โลก แล้วเข้ามาลงทุนในหุ้นไทย รวมไปถึงอานิสงส์การกลับมาเปิดประเทศโดยเฉพาะกลุ่มบริการ กลุ่มทรัพยากร และกลุ่มการเงิน ที่ปรับ
ตัวดีขึ้น
สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นรายงานในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2564 ขยายตัว
4.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งถูกปรับลดลงจากการประมาณการเบื้องต้นที่ระบุว่าขยายตัว 5.4% นอกจากนี้ ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าที่นัก
วิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 5.6%
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าสหรัฐพุ่งขึ้น 9.4% สู่ระดับ 8.97 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนม.ค.
ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.71 หมื่นล้านดอลลาร์ จากระดับ 8.20 หมื่นล้านดอลลาร์
ในเดือนธ.ค.
ส่วนการนำเข้าในเดือนม.ค.พิ่มขึ้น 1.2% สู่ระดับ 3.141 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การ ส่งออกลดลง 1.7% สู่ระดับ 2.244 แสนล้านดอลลาร์
สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) แถลงในวันนี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมปรับตัวลง 1.4 จุด สู่
ระดับ 95.7 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี จากระดับ 97.1 ในเดือนธ.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร
(8 มี.ค.) ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทะลุระดับ 2,000 ดอลลาร์ในวันอังคาร (8 มี.ค.) เนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
ยังคงเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของสกลุเงินดอลลาร์
นักลงทุนยังคงจับตาการทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งผลกระทบจากการที่นานาประเทศประกาศใช้
มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเพื่อตอบโต้การใช้กำลังทหารบุกโจมตียูเครน โดยล่าสุดประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศระงับการนำเข้าน้ำมัน
และก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย โดยมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้รัสเซียไม่สามารถส่งน้ำมันมายังท่าเรือสหรัฐอีกต่อไป
โกลด์แมน แซคส์ประกาศปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในปีนี้และปีหน้า โดยระบุว่าเศรษฐกิจโลกจะเผชิญ
ปัญหาการขนส่งน้ำมันครั้งใหญ่ที่สุด ท่ามกลางวิกฤตการณ์ในยูเครน ซึ่งส่งผลให้นานาประเทศคว่ำบาตรต่อรัสเซีย
นักลงทุนจับตาตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งจะมีการเปิดเผย
ในวันพฤหัสบดีนี้ ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 15-16 มี.ค. ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 2 ในปีนี้