͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.08 ระหว่างวันผันผวน  (อ่าน 146 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Thetaiso

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 9362
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.08 ระหว่างวันผันผวน ก่อนกลับมาแข็งค่าในรอบ 2 เดือน ให้กรอบพรุ่งนี้ 33.00-33.25

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.08 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 33.25 บาท/ดอลลาร์

วันนี้บาทเคลื่อนไหวผันผวน และแกว่งถึง 30 สตางค์ โดยช่วงเช้าบาทอ่อนค่า แต่ในช่วงบ่ายบาทปรับตัวแข็งค่าเร็ว ซึ่งคาด ว่าเป็นการตอบรับข่าวเรื่องที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ระบุว่าอาจจะกลับมาใช้ระบบรับนักท่องเที่ยว แบบ Test&Go อีกครั้ง ประกอบกับช่วงบ่ายดอลลาร์ในตลาดโลกกลับมาอ่อนค่า จึงส่งผลให้เย็นนี้บาทปรับตัวแข็งค่า โดยระหว่างวันเงิน บาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.03 - 33.35 บาท/ดอลลาร์

"สกุลเงินภูมิภาควันนี้เป็นแบบผสม โดยบาทแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค และเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบเกือบ 2 เดือน" นัก
บริหารเงิน กล่าว
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามช่วงนี้ คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนทั้งต่างประเทศ และในประเทศ ที่ ล่าสุดพบผู้เสียชีวิตจากโอมิครอนแล้ว จึงอาจเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินบาทในระยะต่อไปได้

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.00 - 33.25 บาท/ดอลลาร์ ให้กรอบกว้าง เนื่องจากคืนนี้ตลาดสหรัฐฯ หยุด ตลาดเบาบาง และอาจผันผวนขึ้นลงได้เร็ว

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.51 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 114.43 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1418 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1405 ดอลลาร์/ยูโร
ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,676.87 จุด เพิ่มขึ้น 4.24 จุด (+0.25%) มูลค่าการซื้อขาย 82,389 ล้านบาท
สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,313.51 ลบ.(SET+MAI)
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เผยพบผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน 2 รายแรกของไทย เป็น
เพศหญิงทั้งคู่ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว โดยมีรายหนึ่งที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์แล้ว 2 เข็ม ส่วนอีกรายไม่ได้รับวัคซีน
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2565 (1 ต.ค. -
31 ธ.ค.64) สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งสิ้น 48,533 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการสะสม 6,361 ล้าน
บาท หรือคิดเป็น 34% ของเป้าหมายการจัดเก็บในปีงบประมาณ 2565
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เปิดฉากการประชุม เพื่อประเมินสัญญาณเริ่มต้นของเงินเฟ้อ และความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ
จากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน โดยมีการคาดการณ์ในวงกว้างว่า BOJ จะคงนโยบายการ
เงินแบบผ่อนคลายพิเศษ และเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อสำหรับปีงบประมาณ 2565
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2564 ของจีนขยายตัว 8.1% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดใน
รอบ 10 ปี เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2565 ลงสู่ระดับ 4.3% จากเดิมที่ระดับ 4.8% โดย
ระบุว่ารัฐบาลจีนกำลังเผชิญกับความยากลำบากมากขึ้น ในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
มูดี้ส์ อนาไลติกส์ ให้ความเห็นว่า ปัญหาติดขัดในห่วงโซ่อุปทาน มีสาเหตุหลักมาจากที่จีนใช้นโยบายรักษาจำนวนผู้ติดเชื้อโค
วิดให้เป็นศูนย์หรือ Zero-Covid โดยปัจจุบัน ปัญหาคอขวดฝั่งอุปทานได้ดำเนินมายาวนานถึง 1 ปีแล้ว แต่ทั้งนี้คาดว่า ปัญหาดังกล่าวจะ

เริ่มคลี่คลายลงในช่วงต้นปีนี้