͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: รัฐเหลือช่องก่อหนี้ ม.28 ไม่ถึง 2 หมื่นล้าน “สันติ” ยัน “คลังถังไม่แตก”  (อ่าน 87 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Joe524

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15802
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
“สันติ” เผย คลังมีหน้าจัดหาเงินให้หน่วยงานตามคำขอ ยัน “คลังถังไม่แตก” พร้อมเร่งหน่วยงานที่ใช้เงินตาม ม.28 ปิดโครงการและคืนงบ ขณะที่การก่อหนี้ภายใต้ ม.28 เหลือช่องให้รัฐก่อหนี้ได้อีกไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาท

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีกระแสข่าวที่รัฐบาลประสบปัญหาเรื่องการจัดหางบประมาณ ไม่สามารถนำเงินมาจ่ายชดเชยส่วนต่างโครงการประกันรายได้ข้าวเปลือกให้กับชาวนาได้ และได้มีการติดค้างกับชาวนามาแล้ว 4 งวดตั้งแต่งวดที่ 3-6 นั้น โดยยืนยันคลังมีหน้าที่ในการจัดหางบประมาณให้หน่วยงานตามคำขอ และคลังมีหน้าที่ในการหารายได้ ซึ่งขณะนี้ยังมีเงินอยู่เยอะ และคลังไม่เคยถังแตกอย่างที่เป็นข่าว

 

“คลังมีหน้าที่จัดหางบประมาณให้ตามคำขออยู่แล้ว ซึ่งไม่ได้มีปัญหาอะไร หากใครมีโครงการขอมาก็พร้อมจัดหางบให้ ขอมาเมื่อไหร่ก็ให้ ซึ่งตอนนี้ก็มีเงินเหลืออยู่เยอะแยะ คลังไม่เคยถังแตกอย่างที่เป็นข่าว” นายสันติ กล่าว

สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 
สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง



นายสันติ กล่าวด้วยว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างติดตามการใช้จ่ายโครงการ ที่ได้รับงบตามระเบียบ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 28 ไปแล้วอยู่ ซึ่งกำชับให้หน่วยงานเร่งปิดโครงการ และรายงานตัวเลขการใช้จ่ายกลับมา เพื่อดูว่าจะมีเงินคงเหลือแท้จริงเท่าไร เพื่อนำมาจัดสรรให้กับโครงการที่รอใช้เงินอยู่


ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม ว่า สำหรับตัวเลขการก่อหนี้โดยให้หน่วยงานของรัฐ ดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการแทน ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 28 ล่าสุด หลัง ครม.อนุมัติให้ชดเชยการปล่อยกู้ในมาตรการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพของธนาคารออมสินเป็นเงิน 1,500 ล้านบาทนั้น จะทำให้ภาระที่รัฐบาลที่ต้องรับชดเชยคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 911,263 ล้านบาท หรือคิดเป็น 29.40% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 65 ซึ่งใกล้เต็มกรอบวินัยการเงินการคลัง ตาม มาตรา 28 ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 30% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ 930,000 ล้านบาท ทำให้ขณะนี้รัฐบาลเหลือช่องว่างให้ก่อหนี้ได้อีกเพียง 0.6% หรือไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาท