͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: จับสัญญาณบวกตลาดปลายปี 64 ชี้ 6ปัจจัยปลุกอสังหาฯ “ดีเวลลอปเปอร์” ปูพรมโปรเจกต์ใหม่รับกำลังซื้อฟื้น  (อ่าน 93 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Chigaru

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13687
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีว่าตลาดอสังริมทรัพย์หดตัวอย่างหนัก บรรยากาศซื้อขายที่อยู่อาศัยเงียบเหงาอย่างผิดหูผิดตา เมื่อเทียบกับตลาดในช่วงปี 2561 และปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่ตลาดอสังหาฯ ไทยคึกคักมากที่สุดในรอบ 20 ปีก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม หลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ตลาดอสังหาฯ ซบเซาอย่างหนัก แม้ว่าผู้ประกอบการอสังหาฯ จะจัดแคมเปญกระตุ้นการตัดสินใจซื้อลูกค้า ซึ่งมีทั้งการลดราคาขายกว่า 30-40% แจกของแถมมูลค่าสูงๆ แต่ปัจจัยลบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้ต้องมีการล็อกดาวน์ประเทศ ภาวการณ์หดตัวเศรษฐกิจในประเทศ รวมไปถึงการเข้มงวดปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และการหดตัวของกำลังซื้อผู้บริโภคทำให้ตลาดในช่วง 2 ปีทีผ่านมาตลาดไม่มีวี่แววฟื้นตัวกลับมา

อย่างไรก็ตาม ความหวังของผู้ประกอบการอสังหาฯ ไม่เคยหมดไปเพราะต่างเชื่อมั่นว่าเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มลดลงจนกลับมาควบคุมได้ จะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของกำลังซื้อและความเชื่อมั่นทั้งในฝั่งของบริษัทอสังหาฯ และผู้บริโภค ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าในช่วงปลายปี 2564 นี้ตลาดอสังหาฯ จะทยอยฟื้นตัวกลับมาได้ เนื่องจากจำนวนการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จะเพิ่มมากขึ้นจนถึงระดับเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ภายในประเทศ จากการคาดการณ์ดังกล่าวทำให้บริษัทอสังหาฯ ต่างตั้งหน้าตั้งตารอสัญญาณบวก และภาวการณ์ฟื้นตัวของตลาดกลับมากอีกครั้ง

และดูเหมือนว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 นี้ สัญญาณบวกและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงการฟื้นตัวในตลาดอสังหาฯ จะเริ่มชัดเจนมากขึ้น ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของปีตลาดมีแนวโน้มกลับมาคึกคักอีกครั้ง แม้ว่าในฝั่งของผู้บริโภคนั้นกำลังซื้อจะยังไม่ฟื้นตัวกลับมาทั้งหมด แต่เมื่อดูจากแนวโน้มของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแล้วคาดว่าในปี 2565 นี้ กำลังซื้อในฝั่งของผู้บริโภคจะกลับมาชัดเจนมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อการขยายตัวในตลาดอสังหาฯ หรือมีสัญญาณที่ชัดเจนกลับมาให้เห็น

สุรเชษฐ กองชีพ
สุรเชษฐ กองชีพ

นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จรัดการ บริษัท ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยบวกที่เป็นเหมือนสัญญาณดีๆ หลายอย่างมีผลให้ผู้ประกอบการเริ่มขยับเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่มากขึ้น โดยในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2564 เห็นได้ชัดเจนเลยว่า ผู้ประกอบการบางรายมีการประกาศเปิดขายโครงการใหม่โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมที่เริ่มเห็นว่ามีการเปิดขายโครงการใหม่มากขึ้นมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 แล้ว ในขณะที่โครงการบ้านจัดสรรยังคงเป็นประเภทโครงการที่อยู่อาศัยที่ผู้ประกอบการเลือกเปิดขายในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ปัจจัยหรือสัญญาณบวกที่มีให้เห็นและผู้ประกอบการคาดหวังว่าจะมีผลให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นคือ

1.จำนวนคนฉีดวัคซีนในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ 2.จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่ลดลงต่อเนื่อง แม้ว่าจะยังมีจำนวนสูงอยู่ก็ตาม 3.การปลดล็อกดาวน์ของหลายธุรกิจ และกิจกรรมช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภายในประเทศที่มากขึ้น 4.การเปิดประเทศให้ชาวต่างชาติจาก 63 ประเทศที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดสามารถเข้าประเทศไทยได้โดยที่ไม่ต้องกักตัว 5.การปลดล็อก LTV สำหรับบ้านหลังที่สอง กระตุ้นกำลังซื้อในกลุ่มที่มีความพร้อม และ 6.กิจกรรมทางการตลาดหรือกิจกรรมที่ต้องจัดให้คนจำนวนมากเข้าร่วมสามารถกลับมาทำได้อีกครั้งภายใต้มาตรการป้องกัน

ปัจจัยบวกหรือสัญญาณดีๆ ทั้ง 6 ปัจจัยนี้มีผลให้ผู้ประกอบการคาดหวังว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเริ่มมีทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้น โดยเฉพาะในปี 2565 ซึ่งหลายฝ่ายแสดงความมั่นใจว่าเศรษฐกิจในปี 2565 จะดีกว่าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาแน่นอน การมีนักท่องเที่ยวต่างชาติในหลายเมืองท่องเที่ยวนับเป็นสัญญาณที่ดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยที่พึ่งพากำลังซื้อจากต่างชาติแม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะยังน้อยมากเมื่อเทียบกับก่อนเกิดโควิด-19 แต่ยังดีกว่าไม่มีเลย เพราะต้องให้เวลาในการตัดสินใจเดินทางเข้ามาในประเทศไทยของชาวต่างชาติด้วย

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมองถึงปีหน้ามากกว่าที่จะคาดหวังว่าปีนี้จะสร้างรายได้หรือมีผลประกอบการที่ดี โดยโครงการต่างๆ ที่เปิดขายในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้เป็นการเปิดขายที่ผู้ประกอบการคาดหวังว่าสามารถทำกิจกรรมต่อเนื่องได้ถึงปีหน้า ไม่ได้คาดหวังว่าต้องปิดการขายหรือมีอัตราการขายที่สูงภายในปีนี้ และยังคงต้องระวังกันต่อเนื่อง เพราะปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วยังไม่มีผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจแบบชัดเจน แค่สร้างแรงกระเพื่อมในระบบเท่านั้น 

แต่ถ้าจำเป็นต้องล็อกดาวน์อีกครั้ เพราะผู้ติดเชื้อมากขึ้น หรือเพราะโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ก็จะเป็นการซ้ำเติมระบบเศรษฐกิจประเทศมากกว่าเดิม ผู้ประกอบการจึงยังเลือกที่จะเปิดขายโครงการแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมที่ต้องเลือกทำเล รูปแบบโครงการอย่างพิถีพิถันก่อนที่จะเปิดขายโครงการ และทยอยเปิดไล่ๆ กันไป ไม่ใช่การเปิดขายแบบพร้อมๆ กันทีละหลายโครงการอีกแล้ว



รายงานข่าวจาก บริษัท เสนาดี เวลลอปเม้นทท์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ เสนาฯ มีแผนจะเดินหน้าเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งโครงการแนวราบ และแนวสูง โดยจะเปิดตัวโครงการแนวราบ 2 โครงการ รวมมูลค่า 2,356 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการเสนา วิลเลจ รามอินทรา กม.9 และโครงการ เสนา เวล่า เทพารักษ์-บางบ่อ ส่วนโครงการแนวสูงจะเปิดตัว 6 โครงการ รวมมูลค่า 3,133 ล้านบาท โดยจะเปิดตัวคอนโดแบรนด์ “เสนาคิทท์” ซึ่งเป็นไฟติ้งแบรนด์ของเสนาฯ ในปีนี้ ประกอบด้วย เสนาคิทท์ บีทีเอส สะพานใหม่ เสนาคิทท์ เอ็มอาร์ที บางแค เสนาคิทท์ ศรีด่าน โครงการ SENA ECO Town รังสิต สเตชั่น โครงการ นิช โมโน พระราม 9 และโครงการเฟล็กซี่สาทร–เจริญนคร เป็นโครงการที่เทกโอเวอร์เข้ามาพัฒนาต่อ

เมื่อนับรวมโครงการเปิดใหม่ทั้งแนวมราบและแนวสูงจะทำให้ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ เสนาฯ มีโครงการเปิดใหม่ทั้งสิ้น 8 โครงการ โดยโครงการทีเปิดตัวในไตรมาส 4 นี้ ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เลื่อนเปิดขายมาจากกำหนดการเดิมที่จะเปิดขายในช่วงไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ที่ผ่านมา โดยโครงการที่นำมาเปิดขายในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีความพร้อมที่จะเปิดขายอยู่แล้ว โดยเฉพาะโครงการที่จับกลุ่มตลาดกลาง-ล่าง แต่รอจังหวะและสัญญาณที่ดีจากตลาด ซึ่งหลังจากมีการปลดล็อกดาวน์เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และปลดล็อกมาตรการ LTV จึงเป็นช่วงเหมาะที่จะนำโครงการที่มีความพร้อมกลับมาเปิดตัวในช่วงปลายปี 2564 นี้



นอกจากค่ายเสนาฯ แล้ว บริษัท ออริจิ้น ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัท มีการเปิดตัวโครงการใหม่หลายโครงการพร้อมๆ กันในช่วงไตรมาส 4 โดยมีการเปิดตัวโครงการใหม่มากถึง 9 โครงการ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 6,295 ล้านบาท ซึ่งตามแผนธุรกิจออริจิ้นฯ จะแบ่งการเปิดตัวโครงการใหม่เป็นคอนโดมิเนียม 3 โครงการมูลค่าโครงการรวม 1,695 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการออริจิ้นเวลเนส เรสซิเดนซ์ แบริ่ง 2.ออริจิ้น เวลเนส เรสซิเดนซ์ รามอินทรา 3.บริกซ์ตันเกษตร ศรีราชา แคมปัส และโครงการบ้านจัดสรร 6 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 4,600 ล้านบาท ประกอบด้วย1.โครงการไบรตัน บางปะกง 2.บริทาเนีย แพรกษาสเตชั่น 3.บริทาเนีย ติวานนท์-ราชพฤกษ์ 4.แกรนด์ บริทาเนีย พระราม 9-กรุงเทพกรีฑา 5.แกรนด์ บริทาเนีย นนทบุรี สเตชั่น 6.แกรนด์บริทาเนีย สุวรรณภูมิ



ขณะที่ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) คืออีกหนึ่งค่ายอสังหาฯ ประกาศปูพรมเปิดตัวโครงการใหม่ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายรวดเดียว 12 โครงการ มูลค่ารวม 8,570 ล้านบาท แบ่งเป็นทาวน์โฮม 9 โครงการ มูลค่ารวม 5,010 ล้านบาทด้วยจุดขาย “พลิกแนวคิดชีวิตแนวตั้ง” กับทาวน์โฮมแบรนด์บ้านกลางเมือง ประกอบด้วย โครงการบ้านกลางเมือง The Edition พหลโยธิน-รามอินทรา มูลค่า 630 ล้านบาท,บ้านกลางเมือง สุขุมวิท-อ่อนนุช มูลค่า 650 ล้านบาท

โครงการทาวน์โฮมภายใต้แบรนด์พลีโน่ประกอบด้วย โครงการแกรนด์ พลีโน่ พหลฯ-วิภาวดี มูลค่า 1,120 ล้านบาท พลีโน่ ปิ่นเกล้า-จรัญฯ 2 มูลค่า 270ล้านบาท พลีโน่ ปิ่นเกล้า-จรัญฯ 3 มูลค่า300 ล้านบาท แกรนด์ พลีโน่ บางนา-อ่อนนุช มูลค่า 410 ล้านบาท พลีโน่ ราชพฤกษ์-สาทร มูลค่า 560 ล้านบาท พลีโน่ วิภาวดี-ดอนเมือง มูลค่า 890 ล้านบาท และโครงการบ้านเดี่ยวแบรนด์เซนโทร 3 โครงการใหม่ ซึ่งย้ำจุดยืน “บ้านที่เข้าใจชีวิต” มูลค่า 3,560 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการ เซนโทร ปิ่นเกล้า มูลค่า 1,620 ล้านบาท, เซนโทร ดอนเมือง-แจ้งวัฒนะ มูลค่า 1,100 ล้านบาท และโครงการ เซนโทร บางนา-ศรีนครินทร์ มูลค่า 840 ล้านบาท



ส่วน บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งแม้ในช่วงปลายปีนี้จะไม่มีโหมดเปิดโครงการใหม่พร้อมกันหลายโครงการ แต่ ศุภาลัยฯ ถือเป็นค่ายที่เดียวที่มีการเปิดตัวโครงการใหม่ในทุกๆ ไตรมาสตามแผนธุรกิจที่มีการประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปี โดย ในช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ได้เปิดตัวศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร คอนโดมิเนียม High Rise ใจกลางเมือง และล่าสุด เปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยวลักชัวรีภายใต้แบรนด์ใหม่ “เอเลแกนซ์” บนทำเลบนถนนบรมราชชนนี มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท หลังจากสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 มีสัญญาณฟื้นตัวที่ดีขึ้น

“หากเทียบจำนวนการเปิดัวโครงการใหม่กับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 และจำนวนการเปิดตัวโครงการใหม่ในสปลายปีนี้ถือว่ามีจำนวนไม่มาก แต่หากเทียบกับไตรมาส 4 ปีก่อน และทุกๆ ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2564 ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ถือว่ามีจำนวนการเปิดตัวโครงการใหม่มากเป็นพิเศษ ซึ่งน่าจะเกิดจากปัจจัยบวกไม่ว่าจะเปิดการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ การปลดล็อกดาวน์ทั่วประเทศ และการปลดล็อกดาวน์ LTV ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจัยบวกต่างๆ ที่เข้ามาจะไม่ชัดเจนมากแต่เป้นสัญญาณบวกที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ต่างรอคอยอยู่ ดังนั้น เมื่อสัญญาณตลาดและแนวโน้มตลาดเป็นใจจึงทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่รอจังหวะการเปิดโครงการใหม่กลับมาทำตลาดได้อย่างเต็มที่ในช่วงปลายปีนี้” นายสุรเชษฐ์ กล่าว