͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ขาใหญ่ “ติดกับ” XPG / สุนันท์ ศรีจันทรา  (อ่าน 85 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Chanapot

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14700
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
การเปิดตัว SCBX ยานแม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB โดยประกาศรุกธุรกิจการเงินเต็มรูปแบบ สร้างความสั่นสะเทือนต่อหุ้นกลุ่มนอนแบงก์ทั้งระบบ

ไม่เว้นแม้แต่หุ้น บริษัท เอ็กซ์ สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ XPG ซึ่งราคาทรุดฮวบลง และเพิ่งผงกหัวขึ้นมาใหม่

นับตั้งแต่กลุ่มนายระเฑียร ศรีมงคล ซื้อหุ้น XPG หรือ บริษัท ซีมิโก้ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ ZMICO เดิม จากนายสุเทพ วงศ์วรเศรษฐ จำนวน 100 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1.60 บาท ราคาหุ้น XPG พุ่งทะยานต่อเนื่อง และกลายเป็นหุ้นร้อนที่ตลาดหลักทรัพย์ต้องประกาศใช้มาตรการกำกับการซื้อขาย

แต่ราคาหุ้น XPG กลับวิ่งไม่หยุด จากราคาเพียงประมาณ 1 บาทเศษ ก่อนที่นายระเฑียรจะเข้ามาซื้อหุ้น ขยับขึ้นไปสูงสุด 11.20 บาท ภายในเวลาไม่กี่เดือน

การประกาศรุกธุรกิจการเงิน รวมทั้งธุรกิจนายหน้าและผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิตอล โดยดึง 3 พันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน ซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวนทั้งสิ้น 1,102.56 ล้านหุ้น ในราคา 4.16 บาท เป็นอีกจุดขาย กระตุ้นให้นักเก็งกำไรแห่เข้ามาลุยหุ้น XPG

เพราะนักลงทุนถูกทำให้เชื่อว่า XPG มีแนวโน้มที่สดใส นายระเฑียร จะปั้นให้บริษัทเติบโต เช่นเดียวกับ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI

และนายมงคล ประกิจชัยวัฒนา นักลงทุนรายใหญ่ที่ร่ำรวยหลายหมื่นล้านบาทจากหุ้นบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC ที่นายระเฑียรบริหาร เป็น 3 พันธมิตรที่ยอมซื้อหุ้นเพิ่มทุน XPG ในราคา 4.16 บาท เพราะเชื่อฝีมือนายระเฑียร

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่ง กำลังรุกธุรกิจการเงิน โดยก่อนหน้า บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) ก็จับมือเป็นพันธมิตรและร่วมทุนกับกลุ่ม บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เตรียมลุยธุรกิจการเงิน แต่ไม่ได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับกลุ่มนอนแบงก์ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น

แต่การเปิดตัวยานแม่ SCBX ทำให้กลุ่มนอนแบงก์ทั้งระบบสะท้าน เพราะจะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะแบงก์ใหญ่ค่าย SCB ที่จะโดดลงสนามเต็มตัว ด้วยความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าแทบทุกด้าน

XPG จะปฏิเสธผลกระทบไม่ได้ ในเมื่อนอนแบงก์ทั้งระบบกระทบ

ภายหลังการเพิ่มทุน จัดสรรหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิมในสัดส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 2 หุ้นใหม่ ในราคา 50 สตางค์ ราคาหุ้น XPG ถูกลากขึ้นไปสูงสุดที่ 5บาท ก่อนจะทรุดฮวบลงมา เมื่อ SCBX เปิดตัว โดยลงไปต่ำสุดที่ 2.70 บาท และขยับขึ้นมาเคลื่อนไหวแถว 3 บาทเศษอยู่หลายวัน

หุ้น XPG เพิ่งฟื้นขึ้นมาใหม่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อ จนวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ขยับขึ้นมาปิดที่ 3.64 บาท และราคาที่กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง น่าจะเกิดจากการที่ นายชูชาติ เพชรอำไพ ประธานกรรมการบริหารบริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC เข้ามาเก็บหุ้น

นายชูชาติรายงานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่า เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ได้ซื้อหุ้น XPG จำนวน 5.7418% รวมกับหุ้นที่มีอยู่เดิม ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มเป็น 7.706% ของทุนจดทะเบียน

การเข้ามาเก็บหุ้นเพิ่ม นายชูชาติ อาจเห็นโอกาสการทำกำไรจาก XPG นอกจากนั้น ราคาหุ้นที่ซื้อ ยังมีต้นทุนต่ำกว่า 3 ขาใหญ่ พันธมิตรของนายระเฑียรซึ่งมีต้นทุน 4.16 บาท

ถ้าจะเสี่ยงกับหุ้น XPG วิริยะประกันภัย SIRI ของนายเศรษฐา ทวีสิน และนายมงคลเสี่ยงกว่า

หรือถ้าจะต้องพลาดท่าเสียที เจ็บจาก XPG จะเจ็บน้อยกว่า 3 ขาใหญ่ ซึ่งถือว่าตอนนี้ “ติดดอย” กันอยู่

จะมีใครเจ็บใครตายกับ XPG หรือไม่ ต้องรอดูในอนาคต เพราะราคาหุ้นวันนี้ เป็นราคาซื้อกันที่อนาคตอีกยาวไกล

ค่า พี/อี เรโช XPG พุ่งไปกว่า 750 เท่า นายระเฑียรจะต้องทำให้ผลประกอบการ XPG เติบโตก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงค่า พี/อี เรโช ให้ลงมาในระดับหุ้นในกลุ่มเดียวกัน

ท่ามกลางการแข่งขันในธุรกิจการเงินที่รุนแรง และมี SCBX ประกาศร่วมในเวที XPG จะสู้ไหวหรือไม่ นายระเฑียรจะทำให้ผลประกอบบริษัทเติบโตเหมือนฝันได้จริงหรือเปล่า

ราคาหุ้น XPG ถูกลากขึ้นสูงลิบลิ่ว แพงจนไม่น่าจะมีนักลงทุนรายย่อยกล้าเสี่ยงเข้าไปลุย