͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “จุรินทร์”โชว์ตัวเลขส่งออก "เดือนสิงหา" ยังพุ่ง 8.93% เวียดนาม -1.7%  (อ่าน 109 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


“จุรินทร์” โชว์ตัวเลขส่งออก "เดือนสิงหา" ยังพุ่ง 8.93% ขณะที่เวียดนาม -1.7% คาดทั้งปี"ไทย"มีโอกาสได้เห็นบวกเป็นเลขสองหลัก

วันที่ 24 กันยายน 2564 เวลา 10.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีแถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศ ของไทย เดือน สิงหาคม 2564 ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตัวเลขการส่งออกเดือนสิงหาคม +8.93% ถ้าหักยุทธปัจจัย ทองคำและน้ำมัน จะเหลือภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงจะ +19.43% มูลค่าการส่งออก 715,416.40 ล้านบาท หรือ 21,976.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ตัวเลข 8 เดือน ตั้งแต่มกราคมถึงสิงหาคม +15.25% มูลค่า 5,441,613.75 ล้านบาท กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร +23.6% มูลค่า 126,425.6 ล้านบาท โดยสินค้าเกษตรแต่ละตัว ผลิตภัณฑ์ยาง +98.8% +11 เดือนต่อเนื่อง ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูป +84.8% ถือว่า บวก 5 เดือนต่อเนื่อง น้ำมันปาล์ม +51.0% บวก 6 เดือนต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง +48.4% บวก 10 เดือนต่อเนื่อง ข้าว +25.4% ซึ่งข้าวกลับมาบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนของปีนี้ อาหารสัตว์เลี้ยง +17.3% บวก 24 เดือนหรือ 2 ปีต่อเนื่อง สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม +3.3% รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบสิงหาคม +17.8% รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ +44.3% เครื่องคอมพิวเตอร์ +10.5% อัญมณีเครื่องประดับ +35.7% เป็นมูลค่า 556,700.9 ล้านบาท ในตลาดสำคัญถือว่าขยายตัวเกือบทุกตลาดยกเว้น 3 ตลาด 1.ออสเตรเลีย เดือนที่ผ่านมาไม่ขยายตัว และตลาดสหราชอาณาจักรและ CLMV ไม่ขยายตัว

ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการส่งออกเดือนสิงหาคมของไทยยังเป็น+(บวก) ปัจจัยแรก คือ มาตรการการแก้ปัญหาเชิงรุกและต่อเนื่องของ กรอ.พาณิชย์ ปัจจัยที่สอง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งอังค์ถัดได้ประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ว่าจะโตเร็วที่สุดในรอบ 5 ทศวรรษ หรือ 50 ปี จะเป็นปัจจัยบวกกับทุกประเทศในโลก จะโตมากในตลาดสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป เป็นต้น ปัจจัยที่สาม ดัชนี PMI ซึ่งเป็นดัชนีของผู้จัดซื้อทางภาคการผลิตรวมของโลก มากกว่า 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 แปลว่าพร้อมซื้อและมีสัญญาณดีมานด์ ปัจจัยที่สี่ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้านราคาของไทยสูงขึ้น ขายสินค้าได้มากขึ้น



อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกต 4 ข้อ คือ

ข้อที่ 1 ประเทศเวียดนามซึ่งตัวเลขส่งออกดีมาโดยลำดับ เดือนสิงหาคมติดลบ 1.7% เพราะสถานการณ์โควิด

ข้อที่ 2 สำหรับไทยตัวเลขการเติบโตเดือนสิงหาคมน้อยลงกว่าเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเพราะเราเผชิญปัญหาคล้ายเวียดนาม โควิดรอบใหม่ และมีการล็อกดาวน์ ภาคการผลิตบางแห่งปิดโรงงานหรือปิดการผลิตบางส่วนรวมทั้งปัญหาโลจิสติกส์ข้ามจังหวัดและข้ามแดนที่มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมและเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตามเนื่องจากเราสามารถแก้ปัญหาเชิงรุกได้อย่างรวดเร็วร่วมกับเอกชน และรัฐบาลให้ความสำคัญในการช่วยกระทรวงพาณิชย์แก้ปัญหาจึงทำให้ตัวเลขการส่งออกเดือนสิงหาคมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่าเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เดือนกรกฎาคมตัวเลขส่งออกรวม 708,651.66 ล้านบาท เดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นเป็น 715,400 ล้านบาท

ข้อที่ 3 ภาพรวมการส่งออกในรอบ 8 เดือน +15.25% เกินกว่าเป้าที่กำหนดไว้ที่ 4% ถ้ารวม 8 เดือน หักน้ำมัน ทองคำและยุทธปัจจัย +21.22%

ข้อที่ 4 สินค้าเกษตรยังขยายตัวได้ดีมาก เดือนสิงหาคม สินค้าเกษตรขยายตัว +45.5% เป็นยางพารา +98.8% หรือเกือบ100% ผักผลไม้ทั้งสดและแช่เย็นแช่แข็ง +84.8% ในรายสินค้า เช่น เงาะ+431% เพราะได้ตลาดมาเลเซีย ตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งตลาดใหม่หลายประเทศเป็นตลาดผลไม้สำคัญของไทยต่อไป ทุเรียน +315.48% ลำไย +102.67% มังคุด +44.16%

" ที่น่าสนใจ คือข้าว ตัวเลข 7 เดือนแรกไม่ดีเท่าที่ควร ช่วงหลังเงินบาทอ่อนค่า เศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น ความต้องการบริโภคข้าวสูงขึ้นผู้ส่งออกข้าวเดินหน้าเจาะตลาด ทำให้เดือนสิงหาคมเป็นบวกถึง 25.44%
เมื่อดูสัญญาณจนสิ้นปีสำหรับมีแนวโน้มที่ดีว่าตัวเลขสัญญาการส่งออกข้าวภาคเอกชนปกติเฉลี่ยเดือนละ 4-5 แสนตัน เดือนกรกฎาคมเพิ่มเป็น 7 แสนตันและเดือนสิงหาคม 8 แสนตัน น่าพอใจกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา
โดยกระทรวงพาณิชย์จะจับมือภาคเอกชนเดินหน้าขับเคลื่อนการส่งออกต่อไป เพื่อทำรายได้ให้กับประเทศ นำรายได้จากการส่งออก นี้ไปแปลงเป็นจีดีพีหรืออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้มีเม็ดเงินไปทำงบประมาณแผ่นดิน สร้างถนนไฟฟ้า ประปา มาทำประกันรายได้ช่วยเหลือเกษตรกร ทำงบประมาณสาธารณสุข การฟื้นฟูเศรษฐกิจอื่น เพื่อช่วยคนไทยทั้งประเทศต่อไป โดยมีการส่งออกเป็นทัพหน้าเป็นปัจจัยสำคัญในการนำเงินเข้าประเทศ " นายจุรินทร์ กล่าว

นายจุรินทร์ กล่าวว่าต่อด้วยว่า การนำเข้าถือเป็นสัญญานที่ดี นำเข้ามาเพื่อผลิตและส่งออกกลับไป ทำรายได้ให้ประเทศ หมายความว่าต่อไปเราจะยิ่งขยายตัว จะมีผลบวกต่อตัวเลขส่งออก ถ้าตลาดโลกยังฟื้นตัวอย่างนี้และตนมอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ทำหน้าที่เซลล์แมนประเทศและมีตัวชี้วัดในการเจาะตลาดชัดเจน โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีเงื่อนไขต้องทำอะไรบ้างเพื่อชี้วัดประสิทธิภาพประสิทธิผล การทำงานของทีมเซลล์แมนประเทศ และแผนงานส่งเสริมการส่งออกมีความชัดเจนปี 2564 กำหนดตั้งแต่ต้นปี 200 กว่ากิจกรรมอยู่ที่ประเทศใดบ้างทูตพาณิชย์รับทราบหมดแล้วว่ามีหน้าที่ต้องไปทำอะไรอย่างไรที่ไหน ในทางนโยบายต้องเร่งทำ 2 ข้อ นอกจากเร่งขายของคือ 1.เร่งทำข้อตกลงทางการค้า ในแต่ละประเทศ ทั้งในรูป FTA Mini-FTA ทวิภาคีหรือพหุภาคี ตามเป้าหมายที่ตนมอบเป็นนโยบายไว้ และตลาดใหม่ วันอังคารที่ผ่านมาตนได้พูดใน ครม.ว่าตลาดรัสเซียกับตลาด กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS) เป็นตลาดที่สำคัญมาก ท่านนายกฯอยากให้ไปเร่งเจาะตลาด ตนแจ้งว่าอยู่ในแผนของกระทรวงพาณิชย์และเราให้ความสำคัญมากเพราะจะเป็นตลาดใหม่ ตัวเลขเรายังไม่มาก และแอฟริกา ตะวันออกกลาง และตลาดสแกนดิเนเวียเป็นตลาดสำคัญ นอกจากตลาดอื่นๆ

จากนั้นในการแถลงข่าวนี้ผู้สื่อข่าวถามเรื่องปัญหาขาดแคลนชิปในการพัฒนาสินค้า เซมิคอนดักเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวตอบว่าช่วงดังกล่าวมีความต้องการสูง และประเทศผู้ผลิตรายสำคัญเช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาภัยธรรมชาติและไต้หวัน เกาหลีใต้ประสบปัญหาโควิดมีผลทำให้กระทบต่อการผลิตหยุดการผลิตชั่วคราว จากการสอบถามภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 จะไม่กระทบกับสินค้าส่งออกเท่าไรนักเพราะมีสินค้าคงคลังเก็บไว้อยู่อาจจะเห็นผลกระทบชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่ 4 โดยตัวเลขสินค้าส่งออกด้านนี้ในช่วงที่ผ่านมายังขยายตัวได้ดีอยู่ทั้งรถยนต์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ภาคเอกชนหวังว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นเพราะช่วงที่ผ่านมามีความต้องการมากจนผลิตไม่ทันและปัญหาภัยธรรมชาติ และโควิดโรงงานไม่สามารถผลิตได้

นายภูสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการนำเข้าในเดือนสิงหาคม มีมูลค่า 23,191.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 47.92% โดยการนำเข้าในเดือนสิงหาคมขยายตัวอยู่ในระดับสองหลัก จากการนำเข้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าสูงขยายตัวถึง 65.73% การนำเข้าสินค้าทุนขยายตัว 23.82% สาเหตุของการขยายตัว 2 ปัจจัยสำคัญ 1.การฟื้นตัวของภาคการผลิต เพื่อการผลิตและส่งออก 2.ราคาสินค้าวัตถุดิบยังขยายตัวสูงขึ้นตามความต้องการใช้สินค้าทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งน้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลเพื่อมาใช้ในการขยายตัวของภาคการผลิต การส่งออกที่เหลือในปี 2564 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ประเมินว่ายังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง แม้การขยายตัวอาจจะชะลอตัวลง เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานเริ่มปรับตัวสูงจากในช่วงปลายปีที่แล้วอุปสงค์จากต่างประเทศ มีทิศทางฟื้นตัวดีมาก จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกประเทศคู่ค้าสำคัญกิจกรรมต่างๆ เปิดล็อกดาวน์ คลายล็อกดาวน์เริ่มกลับสู่สภาวะปกติแล้ว การส่งออกทั้งปีของปี 2564 น่าจะขยายตัว เกินเป้าหมายที่ 4% อย่างแน่นอน

รายงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้ากระทรวงพาณิชย์ นางพรพรรณนิล ศตวรรษธำรง ผู้อำนวยการกองวิจัยเศรษฐกิจการค้ามหภาค ระบุด้วยว่า ตลาดส่งออกสำคัญยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจะชะลอลงบางส่วนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าในหลายประเทศ ส่วนแนวโน้มและแผนส่งเสริมการส่งออกปี 2564 การส่งออกของไทยในปี 2564 มีแนวโน้มของการขยายตัวที่ดี สะท้อนจาก (1) สินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการยังเติบโตได้ต่อเนื่อง เป็นสัญญาณบวกต่อภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกของไทย (2) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกของสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ (3) มาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ในสหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป และการเร่งฉีดวัคซีนทั่วโลก ส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า (4) ค่าเงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อสินค้าส่งออกของไทยที่เน้นการแข่งขันด้านราคา