͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: อีอีซีกล่อมนักธุรกิจต่างชาติ เข้าลงทุน4อุตสาหกรรมเป้าหมาย  (อ่าน 122 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ hs8jai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12750
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด

นางลัษมณ อรรถาพิช รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) หรือ อีอีซี กล่าวว่าตนได้ร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนาออนไลน์ (Webinar) Thailand Business Forum 2021 จัดโดย สถานเอกอัครราชทูตณ กรุงบูดาเปสต์ สำนักงานส่งเสริมการลงทุนณ นครแฟรงค์เฟิร์ต และ Hungarian Chamberof Commerce and Industry (HCCI)เพื่อแสดงถึงศักยภาพและความพร้อมของโครงการและโอกาสการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้แก่นักลงทุนและภาคเอกชนในฮังการีและประเทศใกล้เคียงทราบ

ทั้งนี้ อีอีซีได้นำเสนอความก้าวหน้าการพัฒนาโครงการอีอีซีพร้อมทั้งชักจูงและสร้างโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.สุขภาพ 2.ดิจิทัล 3.Decar bonization ซึ่งครอบคลุมเรื่องยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Green and Circular Economy) และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City), และ 4.โลจิสติกส์ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านดิจิทัล และด้านการวิจัยพัฒนา และนวัตกรรมในอีอีซีที่รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าว


“ในงานสัมมนาครั้งนี้ มีนักลงทุนและภาคเอกชนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมงานและให้ความสนใจจำนวนมาก อาทิ ประเทศฮังการี เยอรมนี สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ออสเตรเลีย เป็นต้น โดยคาดว่า 4 อุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าวจะสามารถดึงนักลงทุนและภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในอีอีซีได้”นางลัษมณกล่าว

นางลัษมณกล่าวว่า นอกจากนี้ ได้ประชุมสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ “Development of Circular Economy Investment Promotion Policy and Action Plan in EEC” ที่จัดขึ้นร่วมกับหน่วยงานภาครัฐได้แก่ องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย จำกัด บริษัท พีทีที โกล. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท ยูนิลิเวอร์ ประเทศไทย จำกัด และ บริษัท อีอาร์เอ็ม สยาม จำกัด เพื่อแสดงศักยภาพและความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) ในมิติด้านการสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่อีอีซีของทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานของภาคเอกชนในประเทศไทยในการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ในภาคการผลิต


 
สำหรับในการประชุมสัมมนาฯ ครั้งนี้ได้มีการเผยแพร่โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่อีอีซี เช่น การทำ Platform สำหรับจับคู่ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิล การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน รวมถึงระบบติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่อีอีซี ซึ่งถือเป็นพื้นที่ต้นแบบสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการลงทุนเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อให้อีอีซี เป็นพื้นที่คาร์บอนต่ำผ่านนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกและการเชื่อมโยงภาครัฐและเอกชนโดยเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันผ่านการสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ผ่าน 4 กิจกรรม ได้แก่ การพัฒนาต้นแบบ CE-EEC Model ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้าน Circular Economy การสำรวจข้อมูลเทคโนโลยี วัตถุดิบ ของเสีย และ GHG Mitigation Information Platform