͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ทส. ร่วมกับ EU SWITCH-Asia ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนวิถีชีวิตยั่งยืน  (อ่าน 113 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15570
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “พลังของคนรุ่นใหม่กับการขับเคลื่อนสู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน” ภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อบูรณาการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติ” ที่จัดขึ้นในวันนี้ (16 ก.ย. 2564) ว่า การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นนโยบายสำคัญที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาประเทศ ตั้งแต่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 12 ของสหประชาชาติ (SDG 12) ว่าด้วยเรื่องการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และปัจจุบัน กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564 – 2570 ต่อเนื่องมาจากแผนส่งเสริมฯ ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556

โครงการ “การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อบูรณาการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติ” เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือจาก 3 หน่วยงาน ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) โดยเน้นที่การพัฒนาการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน สื่อสารถึงหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งเติบโตมาพร้อมๆ กับกระแสความตื่นตัวต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และการเรียกร้องสิทธิ์ในการมีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีให้อยู่ในรุ่นของพวกเขา สอดคล้องกับนิยามของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ว่า “การพัฒนาที่สนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง”

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในทวีปเอเชีย (EU SWITCH-Asia SCP Facility) ของสหภาพยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์ 5 ข้อ ได้แก่ 1. เพื่อเพิ่มการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อศึกษาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆ และจัดกลุ่มเพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. เพื่อจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการส่งเสริมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4. เพื่อให้ความรู้และข้อมูลเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 5. เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ด้านสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านแนวปฏิบัติที่ดีและการถอดบทเรียนแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศกลุ่มผู้นำด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน อื่นๆ

ผลผลิตสำคัญที่ได้จากการดำเนินโครงการนี้ ได้แก่ ร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการส่งเสริมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ผนวกกรอบแนวคิดของการจัดทำ National Green Directory หรือบัญชีรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ออกเป็น 4 กลุ่มตามระดับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและสื่อสารให้แก่ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ พร้อมทั้งคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการพิจารณาและขั้นตอนในการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการผลิตสื่อเผยแพร่เพื่อสร้างความตระหนักด้วย
โดยร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการฯดังกล่าว สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565-2570 แบ่งออกเป็น 6 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การเพิ่มปริมาณสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริมให้เกิดการบริโภคอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 4 การใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์และกฎหมายเพื่อสนับสนุน กลยุทธ์ที่ 5 การติดตามและรายงานผล และ กลยุทธ์ที่ 6 การบริหารและกำกับดูแลแผนปฏิบัติการ โดยภายใต้แต่ละกลยุทธ์ ประกอบด้วยกลยุทธ์ย่อยและแผนงาน ซึ่งแบ่งเป็นแผนระยะสั้น 2 ปี (พ.ศ. 2564 – 2565) แผนระยะกลาง 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) และแผนระยะยาว 10 ปี (พ.ศ.2571-2580) เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

เชื่อว่าผลสำเร็จจากโครงการฯ และผลจากงานสัมมนาในวันนี้ จะส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ร่วมกันประสานพลัง และจับมือกันระหว่างคนแต่ละรุ่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความยั่งยืน

มร.จูเซ่ปเป้ บูซินี่ อุปทูต คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย
มร.จูเซ่ปเป้ บูซินี่ อุปทูต คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย

มร.จูเซ่ปเป้ บูซินี่ อุปทูต คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า สหภาพยุโรปมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มุ่งสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยโครงการ “การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อบูรณาการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติ” ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปภายใต้แผนงาน SWITCH-Asia ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ อีกทั้งแผนการปฏิรูปสีเขียวของสหภาพยุโรป (EU Green Deal) มีเป้าหมายร่วมกันหลายประการกับประเทศไทย ในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจชีวภาพ และเศรษฐกิจสีเขียว (Thai Bio-Circular-Green หรือ BCG) และเราจะยังคงร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศไทยในโครงการนี้ต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่และอนาคตของโลก

รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญโครงการฯ 
รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญโครงการฯ

รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญโครงการฯ กล่าวว่า โครงการนี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 มีหน่วยงานนำร่องภายใต้โครงการ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ (ตัวแทนหน่วยงานราชการส่วนกลาง) เทศบาลนครรังสิต (ตัวแทนหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตัวแทนบริษัทเอกชน)

จากการศึกษาข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างปีงบประมาณ 2563 ของทั้ง 3 หน่วยงานนำร่อง โดยอ้างอิงนโยบายและแนวทางที่เสนอภายใต้โครงการฯ พบว่า กรมควบคุมมลพิษ มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากเดิม 6.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 3.5 เท่า เป็น 23.82 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 12 ล้านตัน ภายในระยะเวลา 8 ปี (2565-2572)

สำหรับเทศบาลนครรังสิต มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากเดิมที่ 4% เป็น 80% ของงบประมาณทั้งปี ขณะที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจาก 77% เป็น 88% ของงบประมาณทั้งปี

ผลสำเร็จที่เป็นผลผลิตของโครงการฯนี้ จะมีการถ่ายทอดประสบการณ์ไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน และจะมีขยายผลต่อเนื่องภายในประเทศไทย ไปสู่การพัฒนาจัดทำระบบลงทะเบียนผู้ขาย (Vendor List Registration System) ตามแนวคิดของแพลตฟอร์ม National Green Directory เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อ จาก ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป รวมทั้งเพิ่มโอกาสแก่ผู้ขาย ทั้งที่เป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้เกิดการขยายตลาดสีเขียว (Green Market) ของประเทศไทย รวมทั้งช่วยให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมกับตลาดการผลิตและการบริโภคสีเขียว สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืนด้วย