͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.เผยความคืบหน้าการบรรจุข้าราชการโควิด รอบ 2  (อ่าน 97 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12494
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


กระทรวงสาธารณสุข เผยความคืบหน้าการเสนอขอตำแหน่งบรรจุข้าราชการโควิดกว่า 38,000 อัตรา รอบ 2 ซึ่งผ่านหลักการในที่ประชุม อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุขแล้ว อยู่ระหว่างตรวจสอบคุณวุฒิ หลักเกณฑ์ คาดแล้วเสร็จในสิ้นเดือนกันยายนนี้ ก่อนส่งให้ กพ.พิจารณา

วันนี้ (16 ก.ย.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือกับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบให้นางสาวเรวดี รัศมิทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้แทนรับหนังสือเรื่องการธำรงรักษาพยาบาลวิชาชีพจากสมาคมฯ ว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกสายงานต้องทำงานหนัก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข จึงได้มอบหมายให้ดำเนินการเรื่องการเพิ่มขวัญกำลังใจบุคลากรสาธารณสุขทุกวิชาชีพ โดยการเสนอขอตำแหน่งบรรจุข้าราชการโควิด 38,000 อัตรา รอบ 2 เพื่อบรรจุบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภารกิจโควิด 19 ในสังกัดทั้งส่วนกลางและภูมิภาค แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มภารกิจหลัก ภารกิจสนับสนุนวิชาการ และภารกิจสนับสนุนบริหาร ขณะนี้ที่ประชุม อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบในหลักการแล้ว อยู่ระหว่างการตรวจสอบจำนวน คุณวุฒิ หลักเกณฑ์ ภารกิจที่ปฏิบัติงาน และการจ้างงานให้ตรงกัน คาดว่าจะแล้วเสร็จในสิ้นเดือนกันยายนนี้ จากนั้นจะเสนอ กพ.พิจารณาให้ความเห็นชอบ

นายแพทย์สุระกล่าวต่อว่า ในส่วนการหารือกับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยนั้น ได้ชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเรื่องความก้าวหน้าและค่าตอบแทนต่าง ๆ ให้กับทั้งพยาบาลและวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งทุกคนต่างทุ่มเททำงานในสถานการณ์โควิด แต่ด้วยกรอบอัตรากำลังที่กระทรวงการคลังกำหนดให้มีอัตราการจ้างงานได้ไม่เกิน 450,000 คน เนื่องจากมีภาระงานที่มากขึ้นและขาดแคลนแพทย์และพยาบาล จึงได้ดำเนินการเสนอขยายกรอบอัตรากำลังในปี 2566 และได้เสนอครม.ขอค่าตอบแทนล่วงเวลาให้กับผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยเพิ่มเป็น 2 เท่า รวมทั้งการขอบรรจุพนักงานราชการกรณีพิเศษ 5,000 อัตรา ซึ่งในจำนวนนี้เป็นพยาบาลเกือบ 4,000 อัตรา แพทย์ และนักวิชาการสาธารณสุข สาขาละ 500 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในช่วงโควิดระยะเวลา 1 ปี นอกจากนี้จะผลักดันเรื่องความก้าวหน้าในสายงานให้พยาบาลสามารถเลื่อนระดับชำนาญการพิเศษได้โดยไม่ต้องยุบตำแหน่งอื่น