͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “อาคม” ยันรัฐบาลไม่มีปัญหาเรื่องหารายได้เพิ่ม  (อ่าน 124 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13350
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงาน LiVE Demo Day : The New Road to Capital Market ที่จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจมีทิศทางที่ดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2564 และเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาสก็พบว่าสถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ แม้จะยังไม่แข็งแรงมากนัก

ทั้งนี้รัฐบาลได้สร้างสมดุลระหว่างการรักษาสุขภาพควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยยืนยันความพร้อมของระบบสาธารณะสุขไทย ขณะเดียวกัน ก.คลังได้ใช้มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อช่วยลดภาระเรื่องการนำเข้าชุดตรวจ ATK รวมทั้งออกมาตรการให้หน่วยงานหรือองค์กรสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดตรวจ ATK มาหักลดหย่อนภาษีได้

นายอาคม ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีการกู้เงินจำนวนมากถึง 1.5 ล้านล้านบาท ผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท และพ.ร.ก. เงินกู้เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาทในการแก้ปัญหาและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 นั้นถือเป็นความจำเป็นในการใช้เครื่องมือทางการคลังเข้ามาช่วยในภาวะที่นโยบายการเงินไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ และทุกประเทศก็มีการกู้เงินในช่วงวิกฤตนี้ และยืนยันรัฐบาลไม่มีปัญหาในเรื่องของการหารายได้ซื้อหวยออนไลน์เพิ่มขึ้น เพราะรัฐบาลได้วางโครงสร้างที่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศในอนาคต เช่น โครงการ EEC และการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

 

“ที่มีการพูดว่ารัฐบาลกู้เยอะ และไม่มีปัญญาในการหารายได้เพิ่มขึ้นนั้น จริงๆ แล้วเรามี โดยให้มองภาพโครงการ เช่น EEC ก็เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้นการเคลื่อนย้ายธุรกิจที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามา และการผลักดันการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค และนโยบายส่งเสริมธุรกิจนิวเอสเคิฟซึ่งนับว่าเป็นโอกาสของไทยทั้งนั้น” นายอาคม กล่าว

 

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง


นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ยอมรับในช่วงวิกฤตโควิด ผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีนั้นสาหัส ซึ่งกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำงานร่วมกัน โดยได้ออก พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟูของธปท. วงเงินรวม 2.5 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี ปัจจุบันมีการเบิกจ่ายแล้วเกือบ 1 แสนล้านบาท ช่วยเหลือเอสเอ็มอีแล้ว 3 หมื่นราย ขณะที่มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ เพื่อช่วยธุรกิจที่ปิดกิจการชั่วคราว ปัจจุบันให้บริการไปแล้ว 74 ราย มูลค่ารวมกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท จากวงเงินรวม 1 แสนล้านบาท

 

ขณะที่ด้านตลาดทุน ถือเป็นอีกแหล่งเงินทุนของธุรกิจขนาดใหญ่ที่สามารถเข้ามาระดมทุนได้ และอีกส่วนหนึ่งคือพอร์ต mai ซึ่งเปิดให้เพื่อธุรกิจเอสเอ็มอีเข้ามาระดมทุน อย่างไรก็ตาม การที่จะเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีกฎที่เข้มงวด โดยเฉพาะความโปร่งใสในเรื่องระบบข้อมูล การบันทึกบัญชีต่างๆ ต้องมีความชัดเจน ซึ่งเป็นส่วนที่เอสเอ็มอีจดทะเบียนถูกต้อง แต่ยังขาดองค์ความรู้ เงื่อนไข ที่จะเข้ามาในระบบดังกล่าว ทั้งนี้มองว่าเงินออม หรือ สภาพคล่องในประเทศยังมีอีกมาก เพียงแต่จะทำอย่างไรให้เกิดความเชื่อมโยงกันระหว่างเจ้าของเงินออมและภาคธุรกิจ