͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: EIC ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 64 เหลือโต 0.7%  (อ่าน 114 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Fern751

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15944
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายยรรยงค์ ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เปิดเผยว่า EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 เหลือ 0.7% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 0.9% โดยมีสาเหตุหลักจากผลของการระบาดในประเทศรอบล่าสุดที่รุนแรงมากกว่าคาด ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเดินทางเข้าไทยน้อยกว่าเดิมตามความกังวลที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ระบาดในประเทศ สะท้อนได้จากหลายประเทศที่มีการประกาศให้ไทยเป็นประเทศความเสี่ยงสูงด้านการระบาด COVID-19 เช่น สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร จึงมีการปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวเหลือ 1.7 แสนคน (เดิมคาด 3 แสนคน) นอกจากนี้ การใช้จ่ายของภาคเอกชนได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดในประเทศและมาตรการ lockdown เช่นกัน สะท้อนจากดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนกรกฎาคมที่หดตัวถึง -8.1%YOY รวมถึงการลงทุนก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดแคมป์คนงานในช่วงเดือนกรกฎาคม โดยแม้ว่าจะกลับมาดำเนินการได้แล้ว แต่มาตรการ Bubble and seal ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้นและทำงานได้ไม่เต็มศักยภาพ

ทั้งนี้ คาดว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศจากการระบาดจะมีมากสุดในช่วงไตรมาส 3 ก่อนจะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงต้นไตรมาส 4 จากแนวโน้มการฉีดวัคซีนครบโดสของประชากรที่จะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เป็นผลดีต่อความเชื่อมั่นและการกลับมาดำเนินการของกิจกรรมเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการฟื้นตัวในช่วงไตรมาส 4 แต่ EIC คาดว่า GDP ไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะติดลบแบบ %YOY โดยทั้ง 2 ไตรมาสสะท้อนผลกระทบที่รุนแรงของการระบาดที่ยืดเยื้อต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยปี 2564 ยังมีปัจจัยสนับสนุนซื้อหวยออนไลน์จากภาคส่งออกและเม็ดเงินภาครัฐ โดยภาคส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่อัตราเติบโตจะชะลอลงในช่วงที่เหลือของปีจากฐานของปีก่อนหน้าที่สูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่มีการสะดุดตัวจากการระบาดของสายพันธุ์เดลตาทั่วโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียน อีกทั้งปัญหาด้าน Supply chain disruption ที่อาจเกิดขึ้นจากทั้งการปิดโรงงานในประเทศ และการหยุดการผลิตในประเทศคู่ค้าที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดียวกัน ในส่วนของภาครัฐยังมีการเบิกจ่ายต่อเนื่องจากทั้งในงบประมาณและจากหลายมาตรการช่วยเหลือแต่มาตรการที่มียังไม่เพียงพอ ทั้งใน 1) เชิงพื้นที่ที่ช่วยเหลือรายได้นายจ้างและลูกจ้างเพียง 29 จังหวัดที่โดน lockdown ขณะที่ผลกระทบกระจายตัวไปยังทั่วประเทศ 2) เชิงระยะเวลาที่ช่วยเหลือรายได้เพียง 1-2 เดือน ขณะที่ผลกระทบลากยาวอย่างน้อย 6 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายน และ 3) เชิงเม็ดเงินที่มีมาตรการช่วยเหลือจากการโอนเงินโดยตรงเพียง 2 แสนล้านบาท ขณะที่ EIC ประเมินผลกระทบการระบาดระลอก 3 มีมากถึง 8.5 แสนล้านบาท ดังนั้น EIC จึงคาดว่าภาครัฐจะต้องออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี โดยจะเป็นการใช้เม็ดเงินจนหมด พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และอีก 2 แสนล้านบาทจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท

สำหรับปี 2565 EIC คาดเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ที่ 3.4% จากการฟื้นตัวจากทั้งอุปสงค์ภายในและนอกประเทศ ตามความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนที่มากขึ้น โดยอัตราการฉีดวัคซีนที่มากขึ้นทั่วโลกในปีหน้าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร่งขึ้นจากปีก่อน ซึ่งทำให้การส่งออกไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลงมาที่ 4.7% นอกจากนี้ ภาคท่องเที่ยวระหว่างประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวเช่นกัน โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้นเป็น 6.3 ล้านคน ด้านเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวเช่นกันจากอัตราการฉีดวัคซีนที่คืบหน้า โดยในช่วงไตรมาสแรกปี 2565 อาจมีผู้ได้รับวัคซีนครบโดสถึง 70-80% ของประชากร ซึ่งส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจ สำหรับภาครัฐ แม้การใช้จ่ายบริโภคจะมีแนวโน้มหดตัวตามกรอบงบประมาณที่ลดลง แต่การลงทุนภาครัฐยังมีแนวโน้มขยายตัวจากเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจในโครงการเมกะโปรเจกต์และอัตราเบิกจ่ายปี 2564 ที่ต่ำจากมาตรการปิดแคมป์คนงานที่จะกลับมาเร่งตัวในปีหน้า นอกจากนี้ ยังคาดว่าภาครัฐจะใช้เงินที่เหลือราว 3 แสนล้านบาทจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาทเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเพิ่มเติมในปี 2565

"จากผลกระทบที่รุนแรงและยืดเยื้อของการระบาดระลอก 3 ทำให้เราปรับลดจีดีพีลงเล็กน้อย และยังเลื่อนระยะเวลาที่จีดีพีในการกลับไปสู่ช่วงก่อนโควิด-19 จากต้นปี 2566 มาเป็นกลางปี 2566 ซึ่งถือว่าเป็นอยู่ในระดับท้ายๆ ของภูมิภาค สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างก่อนและหลังเกิดโควิด-19 ที่มาก หรือมีความเสียหายทางเศรษฐกิจที่สูง และเท่ากับมีแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่ลึกขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวด้วย ดังนั้น นอกจากการเยียวยาผลกระทบ-การฟื้นฟูแล้ว การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะในเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคไปมาก ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการของเราตามไม่ทันประเทศที่ได้ลงทุนในด้านต่างๆ เตรียมพร้อมไว้แล้ว"

ทั้งนี้ แม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ในปี 2565 แต่จะเป็นการฟื้นตัวแบบช้าๆ เนื่องจากผลของแผลเป็นเศรษฐกิจ โดยแผลเป็นในภาคธุรกิจที่การเปิดกิจการยังมีการหดตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรม ยานยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่กิจการที่เปิดใหม่ในระยะหลังมักมีขนาดเล็กและอยู่ในสาขาที่มีการลงทุนน้อยกว่าโดยเปรียบเทียบ เช่น ภาคเกษตร และร้านอาหาร การลดลงของจำนวนกิจการใหม่ในภาพรวมและลักษณะของกิจการเปิดใหม่ที่เปลี่ยนไปจะเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวต่อการลงทุนและการจ้างงานในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ แผลเป็นยังเกิดขึ้นในตลาดแรงงาน สะท้อนจากอัตราการว่างงานช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องที่ราว 1.9% เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากในช่วงก่อนโควิด-19 ขณะที่ผู้ที่ยังมีงานทำอยู่มีรายได้เฉลี่ยลดลง จากการลดลงของจำนวนชั่วโมงการทำงานที่ทำให้รายได้โอทีและโบนัสหดตัวลงมาก อีกทั้งแรงงานยังมีการเคลื่อนย้ายไปในงานที่รายได้ต่ำลงอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการย้ายไปทำงานในภาคธุรกิจที่ค่าแรงเฉลี่ยต่ำลง หรือการเปลี่ยนจากลูกจ้างเป็นประกอบอาชีพอิสระซึ่งมีรายได้ต่ำกว่า โดยสภาวะตลาดแรงงานที่ซบเซานี้จะบั่นทอนความสามารถของภาคครัวเรือนในการหารายได้และการบริหารจัดการหนี้ที่อยู่ในระดับสูงซึ่งคาดว่าน่าจะยังเป็นหนึ่งในภาระหนักของภาคครัวเรือนไทยต่อเนื่องในระยะปานกลาง

ดังนั้น ภาครัฐควรพิจารณากู้เงินเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อลดขนาด Output loss และแผลเป็นเศรษฐกิจเพื่อไม่ให้กระทบศักยภาพของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยจากการคำนวณของ EIC พบว่าแม้เศรษฐกิจจะเติบโตที่ 3.4% ในปี 2565 แต่ยังต่ำกว่าระดับศักยภาพมาก จึงทำให้มี output loss ในระดับสูงและผลของแผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกขึ้น

โดยกว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไปอยู่ในระดับปี 2562 จะต้องรอถึงช่วงกลางปี 2566 ทั้งนี้การปล่อยให้เศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพหรือมีแผลเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นเวลานาน จะส่งผลเสียระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทย ผ่าน 1) จำนวนธุรกิจที่ต้องปิดกิจการมากขึ้น ทำให้การจ้างงานและการลงทุนลดลงมาก กระทบต่อศักยภาพในการเติบโตในระยะข้างหน้า 2) คนว่างงานไม่สามารถหางานได้หรืออยู่ในภาคเศรษฐกิจที่ไม่ตรงกับทักษะ ทำให้คนกลุ่มนี้สูญเสียรายได้เป็นเวลานาน ขาดการพัฒนาทักษะที่เหมาะสม และอาจกลายเป็นผู้ว่างงานระยะยาว ซึ่งจะกระทบกับผลิตภาพของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ขณะเดียวกัน วิกฤตที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มส่งผลกระทบที่รุนแรงกว่ากับแรงงานที่มีรายได้น้อยและทักษะไม่มาก รวมถึงธุรกิจ SME ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในไทยยิ่งถ่างกว้างขึ้น เสี่ยงต่อการก่อเกิดปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมา

ด้วยเหตุนี้ภาครัฐจึงควรพิจารณากู้เงินเพิ่มเติมเพื่อลดแผลเป็นทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสนับสนุนการฟื้นฟูและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะมาตรการเพิ่มทักษะแรงงาน (Upskill/Reskill) มาตรการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของธุรกิจ SME และการลงทุนเพื่ออุตสาหกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับกับโครงสร้างเศรษฐกิจและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกภายหลังโควิด-19 โดยแม้การกู้เงินเพิ่มเติมจะทำให้ระดับหนี้สาธารณะปรับสูงขึ้นกว่าเพดานหนี้ที่ 60% ต่อ GDP แต่ยังอยู่ในวิสัยที่ภาครัฐจะสามารถบริหารจัดการได้ในภาวะดอกเบี้ยต่ำและสภาพคล่องในประเทศอยู่ในระดับสูง โดยภาครัฐต้องสื่อสารถึงแผนการลดระดับหนี้ในระยะปานกลางที่น่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพการคลัง

"การกู้เพิ่มอีก 5 แสนล้านบาทแม้ว่าจะทำให้หนี้สาธารณะทะลุ 66-69% แต่หากนำมาปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการลงทุนด้านสาธารณูปโภคด้านดิจิทัลต่างๆ ซึ่งจะต้องมีความร่วมมือกันทั้ง ธปท.ในเรื่องนโยบายการเงิน ภาคเอกชนในเรื่องของการรีสกิลต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเอสเอ็มอีที่ไม่ได้ขาดแค่สินเชื่อเท่านั้น ยังต้องมีการรีสกิลให้สามารถเข้าสู่ระบบออนไลน์แพลตฟอร์มได้ รวมไปถึงการรีสกิลแรงงานด้วยจะเป็นการช่วยลดแผลเป็นทางเศรษฐกิจ และทำให้ขับเคลื่อนต่อไปในโลกหลังโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันแม้ว่ารูมของนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังจะมีน้อยลง แต่ยังมีพอที่จะทำได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือจะต้องนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและมีวิชัน"