͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: กรมวิทย์ฯ อบรมการใช้ชุดตรวจATK แบบ Home Use  (อ่าน 141 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ hs8jai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12750
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


วันนี้ (10 ก.ย.)  นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่าจากที่รัฐบาลมีแนวทางการแจกจ่ายชุดตรวจ Antigen Test Kit หรือ ATKให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยให้มารับจากร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 และคลินิกพยาบาลเพื่อใช้ตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วยตนเอง ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการให้คำแนะนำปรึกษากับประชาชนที่จะมารับชุดตรวจ ATK ที่ร้านขายยา ซึ่งภาครัฐจะสนับสนุนให้กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ต่างๆ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จัดอบรมการใช้ชุดตรวจ ATK แบบตรวจด้วยตนเอง ( Home Use ) แก่เภสัชกรประจำร้านขายยาเพื่อสามารถให้ข้อมูลการใช้ชุดตรวจ ATK แก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง โดยมีศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา นำร่องจัดอบรมในเขตสุขภาพที่ 9 ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ผ่านระบบออนไลน์ ในเรื่องแนวทางและข้อควรระวังการใช้ชุดตรวจ ATK การอ่านและแปลผล แนวทางปฏิบัติตนหลังทราบผลตรวจ การสวมและถอดชุดป้องกันส่วนบุคคล และการกำจัดขยะติดเชื้อ รวมถึงแนวทางและข้อควรระวังในการใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วอย่างถูกต้อง

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจATK สิ่งสำคัญคือ ประชาชนต้องตรวจอย่างถูกวิธีและแปลผลถูกต้อง เพื่อดำเนินการต่อไปได้อย่างเหมาะสม เช่น หากผลบวกดำเนินการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือเข้ารับการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) หากผลเป็นลบต้องตรวจซ้ำใน 3-5 วันหรือตรวจซ้ำเมื่อมีอาการ และมีการจัดการขยะติดเชื้อได้อย่างเหมาะสม ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการฝึกอบรม อสม. เกี่ยวกับการใช้ชุดตรวจ ATK เพื่อเป็นพี่เลี้ยงและสอนวิธีใช้งานชุดตรวจ ATK แบบตรวจด้วยตนเองให้แก่ประชาชน โดยดำเนินการอบรมไปแล้วในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมจัดอบรมการใช้ชุดตรวจ ATK ที่ถูกต้องให้แก่พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผ่านระบบออนไลน์อีกด้วย

ในช่วงท้าย เภสัชกรบรรจง กิตติรัตน์ตระการ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9นครราชสีมา กล่าวเสริมว่า การอบรมครั้งนี้ มีเภสัชประจำร้านขายยาในเขตสุขภาพที่ 9 เข้าร่วมประมาณ 700คน และได้รับความร่วมมือจากเป็นอย่างดีจากสำนักงานสร้างหลักประกันสุขภาพเขต 9 นครราชสีมา