͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'เมย์แบงก์ กิมเอ็ง' ประเมินผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย  (อ่าน 94 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Fern751

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15944
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ให้ความเห็นว่า เมื่อ European Central Bank (ECB) (Sep 2021) Implication ส่งสัญญาณลดขนาดกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงประเมิน “ผลกระทบจำกัดต่อตลาดหุ้นไทย” ดังนี้ จากมติการประชุม ECB ให้คงดอกเบี้ย เมื่อคืนที่ผ่านมา ECB มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ -0.50% ขณะเดียวกันก็คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25%และปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจขึ้น อย่างไรก็ดี ECB มีมุมองเชิงบวกต่อภาพเศรษฐกิจ และมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วกว่าคาด

โดย 1) ปรับประมาณการ GDP ปี 2021 ขึ้นจาก +4.6% สู่ระดับ +5% และ 2) คาดเงินเฟ้อยูโรโซนปีนี้จะเร่งขึ้นชั่วคราวสู่ 2.2% และค่อยๆลดลงสู่ 1.5% ในปี 2566 พร้อมส่งสัญญาณปรับลดวงเงินและนำไปสู่การยกเลิกโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ในช่วงถัดไป แม้ว่าจะยังไม่มี Timeline ที่ชัดเจนในการปรับลดวงเงินการซื้อคืนพันธบัตร แต่จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นกลับมาได้เร็วกว่าคาด ทำให้ ECB เริ่มส่งสัญญาณสะท้อนโอกาสการยกเลิกโครงการในช่วงถัดไป นำโดย 1) ทยอยลดขนาดการซื้อในช่วง 4Q64 จะซื้อน้อยลงกว่า 2 ไตรมาสที่ผ่านมา และ 2) คงโครงการไว้ จนถึง มี.ค.65 หรือจนกว่าจะมีความเห็นว่า COVID-19 จบลง

Implication Lottovip to Thailand: ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด ผลกระทบจำกัด โดยในระยะสั้น Neutral รายละเอียดต่างๆใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ (คงดอกเบี้ย และ เริ่มมีการส่งสัญญาณลดขนาด PEPP แต่ยังไม่มี Timeline ที่แน่นอน) อย่างไรก็ดีถือเป็นการส่งสัญญาณที่เกิดขึ้นตอกย้ำมุมมอง Monetary Policy Normalization ที่น่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในปีนี้ นั่นคือการปรับลดขนาดการทำ QE ของ Fed และ การปรับลดขนาดโครงการ PEPP ของ ECB ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในตลาดการเงินทั่วโลก

สำหรับระยะกลาง-ยาว ตลาดหุ้นไทยอาจโดนผลกระทบเชิงลบ แต่ไม่มากนัก ผลกระทบจากสภาพคล่องในระบบที่ลดลง น่าจะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดหุ้น U.S. และ Eurozone โดยตรง เนื่องจากเป็นตลาดที่ Outperform (ปรับตัวขึ้น +73.5% และ +70.5% ตามลำดับ ในช่วง 16 มี.ค.–ปัจจุบัน) ได้ประโยชน์จากสภาพคล่องโดยตรง ในทางกลับกันสำหรับตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทย อาจโดนผลเชิงลบจำกัดเนื่องจากเป็นหนึ่งในตลาดที่แทบไม่ได้อานิสงค์บวกจากสภาพคล่องดังกล่าว (นักลงทุนต่างชาติ Net ขาย) และเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ดีขึ้น และความคาดหวังการเปิดประเทศ