͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “กลัฟ คณาวุฒิ” ชวนรักธรรมชาติ ผ่านการสื่อสารรูปแบบใหม่  (อ่าน 128 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ kaidee20

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16453
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


การดำเนินงานด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปยังไม่รู้และไม่เข้าใจความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ จึงยังไม่เห็นความสำคัญ สผ. จึงได้ดำเนินโครงการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และการเพิ่มสมรรถนะในการสื่อสารด้านความหลากหลายทางชีวภาพในยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ (Effective communication) โดยมุ่งหมายที่จะสร้างความตระหนักและความเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (Outreach, Awareness and Uptake) แก่ประชาชนทุกคน โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่

“ดร.รวีวรรณ ภูริเดช” เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวว่าการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และการเพิ่มสมรรถนะในการสื่อสารด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

ในยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ (Effective communication) เป็นการดำเนินงานส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่เรียกว่า “CEPA” (Communication Education and Public Awareness) ดำเนินการตามแนวทางมาตรา 13 ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ดังกล่าว สผ. ได้ให้ความสำคัญในกระบวนการถ่ายทอดและเผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ให้มีความเหมาะสมและน่าสนใจสำหรับกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้แนวคิดการสื่อสารในยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วและ
มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่เกิดความตระหนักและใส่ใจในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการบรรลุวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนของประเทศไทย และในฐานะหน่วยประสานงานกลางของอนุสัญญาฯ ในเชิงนโยบาย สผ. ได้ผนวกการดำเนินงานด้าน CEPA ไว้ในแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงาน ซึ่งการสร้างความตระหนักและความเข้าใจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

“นายประเสริฐ  ศิรินภาพร” รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เสริมว่า สผ. มีแนวคิดในการนำเสนอเรื่องราวของความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบที่ออกจากกรอบวิชาการมาเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวกับทุกคน จึงเป็นที่มาของการดำเนินโครงการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และการเพิ่มสมรรถนะในการสื่อสารด้านความหลากหลายทางชีวภาพในยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ (Effective communication) ภายใต้โครงการมีหลายกิจกรรมที่ตอบโจทย์ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์การสื่อสารด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ จัดทำสารคดีสั้นที่นำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจและเข้าใจง่าย ที่มุ่งเน้นเยาวชนคนรุ่นใหม่ จำนวน 3 เรื่อง จัดทำบทความผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ในรูปแบบป้ายโฆษณาสื่อกลางแจ้ง (Billboard) รวมทั้ง Campaign “Keep Biodiversity” เพื่อรณรงค์ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างการรับรู้ในวงกว้าง การจัดทำบทเพลง โดยได้คุณแมว จีระศักดิ์ ปานพุ่ม เป็นโปรดิวเซอร์ ควบคุมการผลิตเพลง “Can You Be My World” และมีน้องกลัฟ คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์ เป็นผู้ขับร้อง
มีการจัดทำ MV เพลง มีการใช้สื่อออนไลน์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้แนวคิด “Biodiversity is Our Life” ความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ได้ เราอยู่รอด และมี Campaign “Keep Biodiversity” ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเริ่มจากตัวเรา ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมในช่องทาง Online ของ สผ.ได้ที่ Facebook และ Twitter : Biodiversity CHM Thailand   Youtube Chanel : Chm Thai

“นายคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์” ศิลปิน/นักแสดง ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ ได้ให้ความเห็นว่า เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะปัจจุบันสื่อต่าง ๆ ทำให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย ยิ่งเป็นสื่อออนไลน์ เป็นยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับเราทุกคน ยิ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งทุกคนมีใจรักธรรมชาติอยู่แล้วจะทำให้เข้าใจได้ไม่ยาก และรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้ทุกคนได้รับรู้ เข้าใจ และหันมาใส่ใจในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความสำคัญกับเราทุกคน อยากให้ทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ได้ เราอยู่รอด