͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: กรมการแพทย์เตือน LIS ความผิดปกติทางประสาท  (อ่าน 119 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Cindy700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15687
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


วันนี้ (30 ส.ค.) นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองตีบและแตกยังคงเป็นภัยเงียบที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตและทุพพลภาพเฉียบพลันในประชากรไทยอยู่เสมอ ประเทศไทยพบผู้ป่วยใหม่จากโรคหลอดเลือดสมองตีบและแตกจำนวน 304,807 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ปีละไม่ต่ำกว่า 30,000 ราย และทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพอย่างรุนแรงเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต สูญเสียรายได้จากการไม่ได้ทำงานของผู้ป่วยเอง การจ้างคนดูแล และมีค่าใช้จ่ายระยะยาวที่ต้องได้รับการดูแลตลอดชีวิต จึงมีการรณรงค์เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติรับรู้ถึงอาการผิดปกติของตนเองได้อย่างรวดเร็วซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงที สำหรับอาการส่วนใหญ่ที่พบโดยทั่วไป มักเกิดจากการตีบหรือแตกของหลอดเลือดสมอง นำไปสู่อาการ “พูดลำบาก ปากตก ยกไม่ขึ้น” แต่ยังมีอีกหนึ่งอาการที่น่ากลัวและนำไปสู่ความพิการและรุนแรงที่สุดของโรคหลอดเลือดสมองคือ “อาการอัมพาตโดยสมบูรณ์” หรือ “Locked-in syndrome

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติม อาการอัมพาตโดยสมบูรณ์เกิดจากการตีบหรือแตกของหลอดเลือดสมองที่เลี้ยงก้านสมอง ซึ่งมีหลอดเลือดผ่านเพียงเส้นเดียวทำให้เกิดความพิการถาวรอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดสมองตีบจนเกิดการตายของเนื้อก้านสมอง จะมีอาการแขนขาเป็นอัมพาตถาวรทั้งสองข้าง ไม่สามารถขยับแขนขาได้อีก รวมถึงไม่สามารถพูดคุยหรือแสดงการสื่อสารทางสีหน้าได้ ถึงแม้ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวดีตลอดเวลาและหายใจเองได้ แต่จะเคลื่อนไหวได้เพียงการกลอกตาเพื่อตอบสนองสิ่งเร้าเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดมากที่สุด และเมื่อเกิดภาวะนี้แล้วจะไม่สามารถฟื้นฟูผู้ป่วยให้หายได้ ทำให้พิการติดเตียง การป้องกันไม่ให้เกิดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยสังเกตความผิดปกติแต่เนิ่นๆ อาการเริ่มแรกนอกจากพูดลำบาก ปากตก ยกไม่ขึ้น ยังมีอาการที่เพิ่มเติมได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง ซึมลง เวียนศีรษะเดินเซ ตามัวและเห็นภาพซ้อนเฉียบพลัน และกลืนลำบาก เป็นต้น ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันรวดเร็วและรุนแรงทันทีทันใด ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและให้การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำหรือใส่สายสวนหลอดเลือดเพื่อเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกภายใน 6-24 ชั่วโมง ตั้งแต่ผู้ป่วยยังมีอาการน้อยจนอาจจะเกือบหายขาดสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดังนั้น การป้องกันที่ขาดไม่ได้คือ การรักษาสุขภาพอยู่เสมอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ติดตามรักษาโรคประจำตัวที่สำคัญ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง งดสูบบุหรี่ ล้วนเป็นการป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ ให้ห่างไกลอัมพฤกษ์อัมพาตมากที่สุด