͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำอย่างไรเมื่อ 'เด็กติดเชื้อโควิด-19' การดูแลทั้งที่ รพ.และรักษาที่บ้าน  (อ่าน 108 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


วันนี้ (26 ส.ค. 64) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 18,501 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศและมาจากต่างประเทศ 18,362 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 139 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 1,120,872 ราย 

มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 229 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมสูงถึง 10,220 ราย ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 10,314 ราย กำลังรักษาตัวอยู่ 186,934 ราย กลุ่มคนไข้อาการหนัก 5,174 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจอีก 1,090 ราย ผู้ป่วยหายป่วยกลับบ้านวันนี้ 20,606 ราย สะสมตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 มี 896,195 ราย มีผลบวก ATK อีก 2,339 ราย 

10 อันดับ ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด 

อัตราป่วยไทย 16,012 ต่อล้านประชากร
สำหรับสถานการณ์ในทวีปเอเชีย พบว่าประเทศที่มีผู้ป่วยต่อเนื่อง ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ญี่ปุ่น บังคลาเทศ และไทย โดยอัตราป่วยของไทย 16,012 ต่อล้านประชากร ขณะที่อัตราตาย 147 ต่อล้านประชากร




เด็ก 12 ขวบ เสียชีวิต 1 ราย 
สำหรับรายละเอียดผู้เสียชีวิต 229 ราย เป็นเพศชาย 127 ราย หญิง 102 ราย ค่ากลางอายุ 65 ปี (12 - 97 ปี) ค่ากลางเวลาทราบผลติดเชื้อจนเสียชีวิต 10 วัน นานสุด 93 วัน โดยยังคงเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 151 ราย คิดเป็น 66% มีโรคเรื้อรัง 57 ราย คิดเป็น 25% รวม 2 กลุ่มคิดเป็น 91% โดยมีเด็ก 12 ปี เสียชีวิต 1 ราย จ.ชลบุรี มีโรคประจำตัว ได้แก่ มะเร็งต่อมไพเนียล


แนวทาง ดูแลเมื่อ "เด็กติดโควิด-19" 
แนวทางการดูแลเมื่อพบว่าลูกน้อยติดเชื้อโควิด19 โดย สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย เผยแพร่ในเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19  มีดังนี้

1. กรณีต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล


1.1 กรณีเด็กและผู้ปกครองเป็นผู้ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลร่วมกันกับผู้ปกครอง โดยเน้นให้จัดอยู่เป็นกลุ่มครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจากผู้ปกครอง


1.2 กรณีเด็กเป็นผู้ติดเชื้อแต่ผู้ปกครองไม่เป็นผู้ติดเชื้อ ให้เด็กเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยมีผู้ดูแลที่ไม่มีโรคประจำตัว และอายุไม่เกิน 60 ปีเข้าดูแลเด็กด้วย หากเป็นโรงพยาบาลสนาม ควรขอจัดพื้นที่ให้เด็กและผู้ปกครองเป็นการเฉพาะ โดยแยกจากผู้ติดเชื้ออื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อโรคได้

2. กรณีเฝ้าสังเกตอาการที่บ้าน (Home Isolation)


อุปกรณ์เพื่อใช้ติดตามอาการ และบรรเทาอาการเด็กที่บ้าน

ปรอทวัดไข้
ที่วัดออกซิเจนปลายนิ้ว
อุปกรณ์ที่สามารถถ่ายภาพ หรือ คลิปวิดีโออาการของเด็กได้
ยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก เกลือแร่
สังเกตอาการโดยรวมของเด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยระดับอาการของเด็กแบ่งเป็น 2 แบบ

อาการในระดับที่สามารถเฝ้าสังเกตอาการที่บ้านต่อไปได้ คือ มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก มีอาการไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ถ่ายเหลว ยังคงกินอาหาร หรือนมได้ปกติ ไม่ซึม
อาการในระดับที่ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กส่งโรงพยาบาล คือ ไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ใช้แรงในการหายใจมาก อกบุ๋ม ปีกจมูกบานตอนหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 95% ซึมลง งอแง ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร
เบอร์ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กส่งโรงพยาบาล

- ติดต่อที่เบอร์สายด่วน โทร 1668 / 1669 หรือ 1330

- ติดต่อสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ทาง Line ด้วยการเพิ่มเพื่อน COVID QSNICH ที่ Line id : @080hcijL

- ลงทะเบียนข้อมูลให้ครบถ้วน หลังจากนั้นให้รอเจ้าหน้าที่ของสถาบันติดต่อกลับภายใน 24 ชม. หรือโทรสอบถามที่เบอร์ 1415