͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'นายกฯ'สั่งพยุงการจ้างงาน ต้องมีมาตรการรองรับนศ.จบใหม่  (อ่าน 118 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้รับรายงานสถานการณ์ภาวะสังคมประจำไตรมาสที่2/64 จากสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุถึงแนวโน้มการจ้างงานเพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่ดีขึ้นตามแนวโน้มการส่งออก


อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีเห็นว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังทำให้แรงงานมีความเปราะบาง จึงมอบหมายให้ทุกหน่วยงานร่วมกันพิจารณามาตรการการจ้างงานมาตรการพยุงการจ้างงาน ช่วยเหลือให้แรงงานยังมีรายได้เพราะในช่วงโควิด-19แพร่ระบาดซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างน้อย 3 ปีตั้งแต่ปี 2563-65 สร้างจุดเปราะบางหลายจุด เกิดทั้งผู้ว่างงาน ผู้เสมือนว่างงานคือทำงานไม่ถึง 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ที่พบว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงต้องมีมาตรการรองรับสำหรับผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนคือกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่ที่มีแนวโน้มต้องใช้เวลาหางานยาวนานขึ้น

ประกันโควิด เจอ จ่าย จบ! รับเลย 100,000 บาท

“นายกรัฐมนตรีย้ำว่า ที่รัฐบาลจะดำเนินการคือการควบคุมการแพร่ระบาดให้เร็ว พยุงการจ้างงานและดูแลรายได้ของประชาชน โดยการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐให้เกิดผลอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้จีดีพี พื้นตัวได้เร็วขึ้น” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  นายกรัฐมนตรียังได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณามาตรการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการลักษณะร่วมจ่าย หรือ co-pay การดึงเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ทุกมาตรการและโครงการสามารถตรวจสอบการใช้จ่ายที่โปร่งใส ปรับแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้
วมถึงพิจารณามาตรการบรรเทาภาระหนี้สิน เนื่องจากรายงานของ สศช. ระบุให้เห็นภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง โดยขอให้มาตรการต่างๆ การดำเนินการอย่างระมัดระวัง เข้าถึงลูกหนี้จริง ชั่งน้ำหนักผลได้ผลเสียทั้งต่อตัวลูกหนี้เองกับผู้ประกอบการ ไม่ให้มีการออกไปใช้หนี้นอกระบบ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ให้ผู้ประกอบการต้องขาดทุนจนเกิดผลกระทบเชิงระบบการเงินในภาพรวม