͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: BOI กับมิติใหม่ ในการส่งเสริมดิจิทัล  (อ่าน 136 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13281
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


“ดิจิทัล” เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จนกลายมาเป็นสาขาที่มีจำนวนคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

BOI เริ่มให้การส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลมากว่า 20 ปี ตั้งแต่เปิดส่งเสริมกิจการพัฒนาซอฟต์แวร์และอีคอมเมิร์ซ เมื่อปี 2543 หลังจากนั้นได้ปรับปรุงและเพิ่มเติมกิจการด้านดิจิทัลอื่นๆ อีกหลายครั้ง ล่าสุดบอร์ด BOI ได้เห็นชอบการปรับเปลี่ยนมาตรการด้านดิจิทัลครั้งใหญ่ เพื่อให้มีความยืดหยุ่น และตอบสนองรูปแบบธุรกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น

มาตรการส่งเสริมดิจิทัลของ BOI มีอยู่ 5 ด้าน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในทุกมิติ ทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล และกิจกรรมดิจิทัลต่างๆ ส่งเสริมทั้งฝั่งผู้พัฒนาและผู้ใช้ รวมไปถึงด้านบุคลากร IT ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคลากรไทย หรือการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

หนึ่ง การส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เช่น Data Center, Cloud Service, Submarine Cable, Digital Park, Incubation Center, Maker Space หรือ Fabrication Lab, Co-working Space, ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงกิจการพัฒนา Smart City

สอง การส่งเสริมกิจกรรมด้านดิจิทัล เดิม BOI แบ่งเป็นกิจการย่อยๆ แต่ในช่วงหลัง ธุรกิจเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และบางโครงการทำคาบเกี่ยวหลายกิจกรรม บอร์ด BOI จึงเห็นชอบให้ยุบรวมเป็นประเภทเดียว โดยใช้ชื่อว่า “กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล หรือดิจิทัลคอนเทนต์”


พร้อมทั้งปรับเพิ่มการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 8 ปี และเปลี่ยนวิธีการกำหนดวงเงินยกเว้นภาษี จากเดิมอิงตามมูลค่าสินทรัพย์ มาเป็นการอิงตามค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ทั้งค่าจ้างและค่าฝึกอบรม รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ใบรับรองมาตรฐาน เพราะมองว่า การลงทุนในตัวคน เป็นหัวใจของธุรกิจดิจิทัล

นอกจากนี้ ยังได้ขยายขอบข่ายรายได้ที่ได้รับสิทธิ จากเดิมที่ให้เฉพาะรายได้จากการจำหน่าย เช่า ใช้ซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์ม ขยายให้ครอบคลุมถึงค่าโฆษณา ซึ่งกลายมาเป็นรายได้หลักของธุรกิจดิจิทัลในปัจจุบัน

สาม เมื่อเร็วๆ นี้ BOI ได้ออกมาตรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนำซอฟต์แวร์ ระบบ ERP หรือระบบ IT อื่นๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรหรือสายการผลิต หรือเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบออนไลน์ของรัฐ เช่น National E–Payment หรือประยุกต์ใช้ AI, Machine Learning, Big Data หรือ Data Analytics โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน

สี่ มาตรการ Smart Visa เพื่อดึงดูดผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล และกลุ่มสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพจากต่างประเทศ โดยการให้วีซ่าชนิดพิเศษที่มีระยะเวลานานกว่าปกติ และสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน อีกทั้งได้รับการขยายเวลารายงานตัวจากทุก 90 วันเป็น 1 ปี ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและสตาร์ทอัพได้รับการรับรอง Smart Visa แล้วกว่า 400 คน

ห้า การให้เงินสนับสนุนค่าจ้างบุคลากรแก่สตาร์ทอัพ จากกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันฯ เป็นมาตรการล่าสุดที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันฯ หลักเกณฑ์สำคัญคือ ต้องเป็นสตาร์ทอัพในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งด้านดิจิทัลและ Deep Tech และต้องเคยได้รับเงินทุนจาก VC หรือ CVC มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท สามารถยื่นขอรับเงินสนับสนุนสำหรับค่าจ้างบุคลากร ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 50 รวมไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อบริษัท ระยะเวลาสนับสนุนไม่เกิน 2 ปี

มาตรการทั้งหมดนี้จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยพันธมิตรทั้งรัฐและเอกชนมาช่วยกันผลักดัน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว และสร้างให้ประเทศไทยเป็น “ดิจิทัลฮับ” ของภูมิภาค