͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: โควิด-19 พ่นพิษ ผู้ปกครองกังวลผลกระทบคุณภาพการศึกษา  (อ่าน 152 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16766
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เด็กต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน กระทบต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง บางครอบครัวที่ต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) ควบคู่กับการเลี้ยงลูก และดูแลคุณภาพการศึกษาของลูกให้เป็นไปตามแผนการสอนของโรงเรียน จนอาจทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเกิดภาวะเครียด กังวล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจอาจแสดงพฤติกรรมเชิงลบใส่เด็ก และซ้ำเติมความเครียดของเด็กเพราะข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย สำรวจผลกระทบวิกฤตโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทย อายุ 15-19 ปี จำนวน 6,771 คน เมื่อเดือนมีนาคม-เมษายน 2564 พบเด็กและเยาวชนมีความเครียด วิตกกังวล ด้านการเรียน ร้อยละ 70 อาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตในระยะยาว หากเด็กและเยาวชนไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจากที่บ้าน

ดร.สุปรีดา กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบดังกล่าวและส่งเสริมสุขภาวะเด็กและครอบครัว สสส. ร่วมกับ สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาเว็บไซต์ https://www.netpama.com สร้างหลักสูตรฝึกอบรมผู้ปกครองของเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม (Internet-Base Parent Management Training Program: Net PA-MA เน็ต ป๊า-ม้า) ขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยพ่อแม่ยุคใหม่ให้รู้วิธีเลี้ยงลูกเชิงบวก และทำให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง ผ่านองค์ความรู้ที่นำไปใช้ปฏิบัติได้จริง 6 บทเรียน ได้แก่ 1.ปัจจัยพื้นฐานในการปรับพฤติกรรมเด็ก 2.ทักษะพื้นฐานในการสื่อสาร 3.เทคนิคการชม 4.เทคนิคการให้รางวัล 5.เทคนิคการลงโทษ และ 6.เทคนิคการให้คะแนน โดยบทเรียนเหล่านี้จะทำให้พ่อแม่รู้วิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนแผนระยะยาว สสส. จะร่วมกับภาคีเครือข่าย ขยายผลนำหลักสูตรนี้ไปเชื่อมกับองค์กรและบริษัทต่างๆ เพื่อส่งต่อองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกเชิงบวกในโลกยุคใหม่แก่พนักงานในองค์กรและบริษัท เชื่อว่าหลักสูตรออนไลน์ที่ผสมผสานทั้งสาระและความบันเทิงจะช่วยให้ครอบครัวยุคใหม่รับมือกับสถานการณ์ทั้งช่วงโควิด-19 และในภาวะปกติได้เป็นอย่างดี



รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า พ่อ แม่ที่เครียดเพราะลูกต้องเรียนออนไลน์ช่วงโควิด-19 ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ไม่รู้วิธีเลี้ยงลูกในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และบางครอบครัวอาจมีเด็กพิเศษที่มีปัญหาการเรียนรู้ สมาธิสั้น หรือ ภาวะเรียนรู้บกพร่อง เมื่อมาอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเรียนออนไลน์ จึงต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพราะขาด 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการเลี้ยงลูก ทักษะการสื่อสาร และทักษะการฝึกวินัยเชิงบวกให้กับลูก จึงทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบด้านอารมณ์และพฤติกรรมในเด็ก เช่น ดื้อ เอาแต่ใจ ต่อต้าน ก้าวร้าว และมีปัญหาเรื่องเข้าสังคม จึงเป็นที่มาของการพัฒนาหลักสูตรนี้ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2544 ถึงปัจจุบัน ระยะเวลายาวนานถึง 20 ปี โครงการนี้จึงเป็นการนำความรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติจริงมาพัฒนาเป็นหลักสูตรออนไลน์ ให้เหมาะสมสำหรับผู้ปกครองอายุ 25-50 ปี ที่ต้องการศึกษาวิธีเลี้ยงลูกที่ถูกต้องผ่านพฤติกรรมและคำพูดเชิงบวก

“เนื้อหาแต่ละบทเรียน จะสอนเทคนิคต่างๆ เช่น ลูกไม่ทำการบ้าน ไม่มีสมาธิเรียน ทะเลาะกัน และไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ต้องใช้วิธีจัดการหรือใช้คำพูดกับเด็กอย่างไรให้เหมาะสม โดยที่ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง และเด็ก จะไม่บอบช้ำทางจิตใจ สำหรับพ่อแม่ที่สนใจหลักสูตรเลี้ยงลูกออนไลน์มีคอร์ส 2 รูปแบบ ได้แก่ คอร์สเร่งรัด เหมาะกับคนที่มีพื้นฐานจิตวิทยาการเลี้ยงลูก ไม่ค่อยมีเวลา อยากเรียนรู้เทคนิคบางอย่าง และ คอร์สจัดเต็ม เหมาะกับคนที่ต้องการเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มต้นในการปรับพฤติกรรมเด็กทั้งการสื่อสาร จับอารมณ์ สะท้อนความรู้สึก เทคนิคการชม ให้รางวัล ลงโทษ ฯลฯ สามารถเข้าไปสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.netpama.com ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย” รศ.นพ.ชาญวิทย์ กล่าว



นางสาวณัฐพร พีรพุทธรางกูร ผู้ปกครองที่เข้าร่วมหลักสูตรออนไลน์ที่เข้าร่วมสอนเทคนิคในการปรับพฤติกรรมเชิงบวกเด็กกับ www.netpama.com กล่าวว่า จุดเริ่มต้นที่ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมลงทะเบียนเรียน เพราะต้องการมีองค์ความรู้เรื่อง ‘จิตวิทยาเด็ก’ เพื่อนำไปใช้กับลูกในชีวิตประจำวัน จึงเลือกสมัครคอร์สแบบจัดเต็ม 6 บทเรียน โดยเนื้อหาเรียนทำให้ได้รู้วิธีการและเทคนิคเชิงบวกในการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลังจากเรียนนอกจากได้รับประกาศนียบัตรและคะแนนสะสมเพื่อใช้เป็นสิทธิพิเศษในการปรึกษาจิตแพทย์เด็ก วัยรุ่น และนักจิตวิทยาที่มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กแล้ว แล้วยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เลี้ยงลูกในระยะยาวได้ ทั้งการสานสัมพันธ์ในครอบครัว การใช้คำพูดและคำชมเชิงบวก รวมถึงวิธีการให้รางวัลและลงโทษที่เหมาะสม และหลังจากนำมาใช้ในการเลี้ยงลูกพบว่า เด็กมีเหตุผล เชื่อฟัง มีความรับผิดชอบมากขึ้น และทำให้ตัวเองในฐานะผู้ปกครองก็ได้มีมุมมองการเลี้ยงลูกแบบใหม่คือ เลิกคาดหวังกับลูก ไม่กดดันในสิ่งที่เด็กไม่ชอบ เพื่อให้เขาเติบโตอย่างมีความสุข ควบคู่กับการมีสุขภาวะที่ดี