͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ดาวโจนส์'พุ่ง 225 จุดได้แรงหนุนจากหุ้นเทคโนโลยี  (อ่าน 129 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14271
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 225.96 จุดหรือ 0.65% ปิดที่ 35,120.08 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 35.87 จุดหรือ 0.81% ปิดที่ 4,441.67 จุด และดัชนีแนสแด็กบวก 172.88 จุด หรือ 1.19% ปิดที่ 14,714.66 จุด

ถึงแม้ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นในวันนี้ แต่เมื่อพิจารณาตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ดาวโจนส์ดิ่งลง 1.1% ขณะที่ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลบ 0.8% และดัชนีแนสแด็กร่วงลง 1.2%

ทั้งนี้ นักลงทุนกังวลว่า เฟดจะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เร็วกว่าที่คาดไว้ หลังจากที่รายงานการประชุมประจำเดือนก.ค.ของเฟดระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่เห็นพ้องที่จะเริ่มปรับลดวงเงินคิวอีในปีนี้

ประกันโควิด เจอ จ่าย จบ! รับเลย 100,000 บาท

ปัจจุบัน เฟดซื้อพันธบัตรตามมาตรการคิวอีอย่างน้อย 120,000 ล้านดอลลาร์/เดือน โดยเฟดซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวงเงิน 80,000 ล้านดอลลาร์/เดือน และซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (เอ็มบีเอส) ในวงเงิน 40,000 ล้านดอลลาร์

นักลงทุนจับตาการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 26-28 ส.ค. โดยคาดว่าเฟดจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งแนวโน้มการปรับลดวงเงินคิวอีในการประชุมดังกล่าว


ที่ผ่านมา การประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮล ถือเป็นการประชุมที่ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้ว่าการธนาคารกลาง รัฐมนตรีคลัง นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน จากประเทศต่างๆทั่วโลก เดินทางเข้าร่วมการประชุม ขณะที่ไฮไลท์จะอยู่ที่การกล่าวปาฐกถาของประธานเฟดในขณะนั้นเพื่อแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับนโยบายการเงินของเฟด และแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ

สำหรับหัวข้อในการประชุมประจำปีนี้คือ “Monetary Policy Framework Review” โดยนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด จะกล่าวสุนทรพจน์ในประเด็น “แนวโน้มเศรษฐกิจ”

ด้านนายโรเบิร์ต แคปแลน ประธานเฟด สาขาดัลลัส กล่าวว่า เขากำลังจับตาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่จะมีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และเขาอาจปรับเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับนโยบายของเขา หากเศรษฐกิจมีการชะลอตัวลงอย่างมาก

“ขณะนี้ เดลตายังไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกิจกรรมของผู้บริโภค เช่น การออกไปรับประทานอาหาร แต่กำลังส่งผลกระทบทำให้การกลับเข้าทำงานในสำนักงานต้องล่าช้าออกไป และกระทบความสามารถในการจ้างพนักงานเนื่องจากกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ รวมทั้งอาจกระทบต่อภาคการผลิต” นายแคปแลนกล่าว

ก่อนหน้านี้ นายแคปแลนกล่าวว่า เฟดควรทำการประกาศในเดือนหน้าเกี่ยวกับไทม์ไลน์ในการปรับลดวงเงินคิวอีและเริ่มทำการปรับลด คิวอีในเดือนต.ค.

“ผมมีมุมมองว่า หากเศรษฐกิจปรับตัวตามที่ผมคาดการณ์ไว้ ผมก็จะสนับสนุนการประกาศแผนปรับลดคิวอีในการประชุมของเฟดในเดือนก.ย. และเริ่มลดคิวอีในเดือนต.ค.” นายแคปแลนกล่าว

นอกจากนี้ นายแคปแลน ยังระบุว่า เขาต้องการให้การปรับลดคิวอีดำเนินไปโดยใช้เวลาราว 8 เดือน ซึ่งหากเฟดยิ่งเริ่มปรับลดคิวอีได้เร็วเท่าใด ก็จะยิ่งช่วยให้เฟดมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการใช้ความอดทนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย