͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ซีพีเอฟจับมือพันธมิตรระดับโลก เดินหน้าขับเคลื่อนยกระดับ  (อ่าน 132 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12494
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานสัตว์น้ำบนพื้นฐานของความยั่งยืน โดยจับมือเครือข่ายพันธมิตรทั้งในประเทศและทั่วโลกสนับสนุนแนวปฏิบัติที่ดีในการทำประมงที่ถูกกฎหมาย ได้มาตรฐานสากล ปลอดการใช้แรงงานบังคับ และช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ต่อยอดการจัดหาปลาป่นที่ตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาได้ 100% มีส่วนร่วมสร้างหลักประกันอาหารมั่นคงให้แก่ผู้บริโภคในทุกช่วงเวลา

นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในฐานะที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร มีบทบาทการสร้างความมั่นคงทางอาหาร จึงให้ความสำคัญต่อการใช้ผลผลิตทางธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดอย่างเหมาะสมและใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในห่วงโซ่การผลิตกุ้งของซีพีเอฟในประเทศไทย ได้ดำเนินนโยบายใช้ปลาป่นที่มาจากผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ (by product) 100% สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มาที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน และได้รับรองมาตรฐาน MarinTrust ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับ Code of Conduct for responsible Fisheries ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)



ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมส่งเสริมการทำประมงที่ถูกต้อง ป้องกันประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) และมีส่วนร่วมปกป้องระบบนิเวศ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยเป็นผู้นำร่องในการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับของ Global Dialogue on Seafood Traceability (GDST) ตลอดห่วงโซ่อุปทานกุ้ง ตั้งแต่เรือประมง จนถึงโรงงานแปรรูปกุ้ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคต่อการผลิตกุ้งที่ใส่ใจสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของเรือประมง บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของแนวปฏิบัติที่ดีของการประมงที่มีต่อระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเล ซึ่งเป็นต้นทางของห่วงโซ่อุปทานกุ้งที่ยั่งยืน จึงได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนามาตรฐานการประมงตามหลักสากล ครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล เพื่อสร้างห่วงโซ่การผลิตกุ้งและอาหารทะเลของไทยที่ยั่งยืน และนำไปสู่ "ความมั่นคงทางอาหาร" สามารถรองรับความต้องการบริโภคอาหารที่ใส่ใจที่มาและกระบวนการผลิตและที่มาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” นายไพโรจน์กล่าว



อนึ่ง การส่งเสริมการประมงที่รับผิดชอบต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยซีพีเอฟได้ทำงานกับพันธมิตร และคณะทำงานทั้งในและต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทย ซีพีเอฟ ร่วมกับ คณะพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงไทย (Thai Sustainable Fisheries Roundtable : TSFR) ดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Project : FIP) สำหรับการประมงอวนลากในฝั่งอ่าวไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการประมงตามมาตรฐาน MarinTrust (ชื่อเดิม IFFO RS) และได้จัดทำแผนการปรับปรุงและพัฒนาการประมง (Fishery Action Plan: FAP) ซึ่งได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการของ MarinTrust เข้าสู่ขั้นตอนการรับรองมาตรฐาน Improver Program (IP) ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดหาวัตถุดิบทางทะเลที่ร่วมรักษาความหลากหลายทางชีวภาพเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

อีกทั้งร่วมก่อตั้งและเป็นคณะทำงานร่วมในระดับอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล (Seafood Task Force) เพื่อป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย แก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน และการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย โดยสนับสนุนการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล การมีระบบติดตามเรือประมง (Vessel Monitoring System : VMS)



นายไพโรจน์กล่าวเสริมว่า ซีพีเอฟยังร่วมจัดตั้งศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมง จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2558 เพื่อบูรณาการการขจัดปัญหาแรงงานบังคับ การใช้แรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมงของไทย ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานประมงและครอบครัว

สำหรับความร่วมมือในระดับโลก บริษัทฯ เป็นสมาชิกในกลุ่มความร่วมมือ Seafood Business for Ocean Stewardship หรือ SeaBOS ตั้งแต่ปี 2560 เป็นความร่วมมือระดับนานาชาติในการพิทักษ์มหาสมุทรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล สู่เป้าหมายการผลิตอาหารทะเลคุณภาพสูงอย่างเพียงพอ และรักษาจำนวนและความหลากหลายของสัตว์น้ำ โดยในปีนี้กลุ่ม SeaBOS ได้ผลักดันบริษัทสมาชิกไม่ทำประมงที่ผิดกฎหมาย หรือทำลายสัตว์ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ และขจัดการใช้แรงงานผิดกฎหมาย พร้อมกำหนดให้บริษัทสมาชิกทั่วโลกผลิตสินค้ามาจากการทำประมงที่ปลอด IUU และปลอดการใช้แรงงานทาส ภายในเดือนตุลาคม ปีนี้



นายไพโรจน์กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นและความพยายามของซีพีเอฟในการสนับสนุนการประมงยั่งยืน ส่งผลให้ซีพีเอฟได้รับคะแนนสูงสุดในหมวดสิทธิมนุษยชน และการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และมีผลคะแนนรวมด้านความยั่งยืนเป็นอันดับ 3 จาก 30 บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลก จากดัชนี Seafood Stewardship Index (SSI) ในครั้งที่ผ่านมา