͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: หุ้นเดินเรืองบสวย พร้อมแล่นต่อครึ่งปีหลัง        (อ่าน 139 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ PostDD

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14907
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
 

ข่าวใหญ่สำหรับภาคการขนส่งทำให้เกิดผลบวดต่อธุรกิจโลจิสติกส์อีกแล้ว หลังโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ามีการกระจายอย่างรวดเร็วในเอเชีย ทำให้ลายประเทศรวมทั้งไทยต้องงัดมาตรการล็อกดาวน์บางส่วนมาใช้ 

รอบนี้หนึ่งในตลาดขนส่งรายใหญ่ของโลกอย่างจีนต้องเผชิญปัญหาพันธุ์เดลต้าเช่นกันทำให้ต้องปิดท่าเรือคอนเทนเนอร์หนิงโป-โจวซาน (Ningbo-Zhoushan) ชั่วคราวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นท่าเรือที่มีเรือสินค้าใช้บริการแออัดมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ขนถ่ายสินค้าจากเรือราว 1.2 ล้านล้านตันในปี 2564            

การปิดท่าเรือดังกล่าวห้ามเรือสินค้าเข้าเทียบท่าเรือหรือแล่นออกจากท่าเรือ และระงับการบริการขนถ่ายสินค้าจากเรือทั้งหมด หลังพบคนงานคนหนึ่งของบริษัทหนิงโป เม่ยตง คอนเทนเนอร์ เทอร์มินอล (1 ในเครือหนิงโป-โจวซาน) ติดโควิด-19 ทำให้ต้องกักกันเฝ้าระวังพนักงานอีก 2,000 คน            

ที่ผ่านมาโลกได้เผชิญเหตุการณ์ระบบโลจิสติกส์สดุดจากตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน   จนทำให้เกิดสินค้าตกค้างเป็นจำนวนมากในฝั่งสหรัฐและยุโรป   ทำเป็นสาเหตุทำให้ค่าเช่าตู้แพงระยับ ค่าระวางเรือพุ่งสูงขึ้น   และเมื่อเกิดสถานการณ์คล้ายๆกัน ทำให้เกิดความวิตกว่าการปิดท่าเรือดังกล่าวทำให้ซัพพรายชงักตามไปด้วย            

ตัวเลขที่ยังสะท้อนปัจจัยดังกล่าวคือดัชนีค่าระวางเรือ (BDI)  ยังทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง มาอยู่ที่ 3,566  ดอลลาร์  หลังทพึ่งทำตัวเลขทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี อยู่ที่ 2,319 จุด (24 มี.ค.64)   และในรอบ 6 เดือนแรกปี 2564 BDI ปรับเพิ่มขึ้นจากปลายก่อน 10 %

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ ไต้หวัน คาดการ Re-stock สินค้าทั่วโลกยังเร่งตัวขึ้นไปจนถึงกลางปีหน้าเป็นอย่างน้อย   ซึ่งจะผลักดันค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้น หลังดัชนี BDI และ BHSI ทำสถิติสูงสุดในรอบ 11 ปี  ซึ่งยังมีดีมาร์ทการขนส่งสินค้าทั่วโลกที่ยังเร่งตัวขึ้น ตัวเลขการส่งออกของไทยที่ยังเติบโต           

เมื่อหันมาดูหุ้นเดินเรือของไทยกลายเป็นกลุ่มที่ราคาหุ้นเคลื่อนไหวอย่างคึกคักเพื่อตอบรับกับคาดการณ์ของผลดำเนินงานจะเติบโตแรง ซึ่งในไตรมาส 2 ปี 2564 ที่ประกาศออกมานั้นแต่ละบริษัทเครื่องร้อนจัดทำกำไรกันเพิ่มขึ้นเป็นระดับเกินเท่าตัวทุกราย

สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการข่นส่งสินค้า และตู้ขนเทนเนอร์โดยตรง บริษัท  อาร์ ซี  แอล  จำกัด (มหาชน) หรือ  RCL ซึ่งให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเล    ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ต้นปีมากกว่า 200 % 

รายงานกำไรไตรมาส 2 ที่  3,189 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 1,383 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน และในรอบ 6 เดือนแรก กำไร 6,130 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,600 %   มาจากปริมาณขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มขึ้น ค่าระวางเรื่อต่อตู้พิ่มกว่า 76 % ทำให้อัตราค่าเช่าเรือสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

บริษัท  ไวส์ โลจิสติกส์  จำกัด (มหาชน) หรือ WICE  ดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์ระหว่างประเทศทางทะเล-อากาศ  โชว์กำไรไตรมาส 2 ที่  111 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 101 % บริษัท ทรัพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ III ธุรกิจโลจิสติกส์ระหว่างประเทศและในประเทศ อากาศ –ทะเล-บก มีกำไรในช่วงดังกล่าว 85 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 150 %

บางธุรกิจเผชิญขาดทุนสามารถพลิกกลับมามีกำไร บริษัทพรีเซียส ชิฟปิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSL ไตรมาส 2 กำไร 826 ล้านบาท พลิกจากขาดทุน 1,183 ล้านบาท ท่ามกลางผลกระทบจากโควิดทำให้ ผู้บริหารอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเลขนาดใหญ่มั่นใจว่าอัตราค่าระวางจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ (Petter Haugen นักวิเคราะห์ของ Kepler Cheuvreux)  

หรือ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA    ที่พลิกมีกำไร 530 ล้านบาท จากขาดทุน  240 ล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน  ซึ่งบริษัทมีสัดส่วนธุรกิจขนส่งทางเรือ 52 % ได้รับผลดีจากอัตราค่าระวางเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่าทศวรรษ มีปัจจัยหนุนปริมาณการขนส่งแร่หล็กและธัญพืชที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความแออัดของท่าเรือ

เรียกได้ว่าปี 2564 เป็นปีทองต่อเนื่องของธุรกิจโลจิกติกส์ ระดับโลกที่ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในไทยได้รับอานิสงค์ตามไปด้วย   ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ที่ส่งผลลบต่อหลากหลายธุรกิจแต่ในขณะเดียวกันยังเอื้อให้บางธุรกิจกลับมาเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 1-3 ปีจากนี้ไป