͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิชาการ ชี้ 4 ทางรอด “ร้านอาหาร” สู้โควิดฯยุคปิดเมือง  (อ่าน 161 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Joe524

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15802
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ผศ.ธารีทิพย์ ทากิ อาจารย์ประจําสาขาการโรงแรมและธุรกิจอาหาร คณะการท่องเที่ยวและ การโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยถึง “ข้อเสนอทางรอด” ของธุรกิจร้านอาหาร และผู้เกี่ยว ข้องทุกฝ่ายว่า จากการจัดเวทเสวนาแบบกลุ่มย่อยหรือ “โฟกัสกรุ๊ป” โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการร้าน อาหารและผู้ให้บริการแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่นฟู้ดเดลิเวอรี่ เข้าร่วมประชุมผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อรับฟังความคิดเห็น สรุปประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย เมื่อเร็วๆ นี้

ได้ข้อสรุปว่ามาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายหรือโครงการส่งเสริมยอดขายเพื่อสร้างรายได้ของร้านอาหารให้เพิ่มขึ้น คือ การตอบโจทย์ของทุกปัญหาที่ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องการจะเห็น เพราะรายได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางใดก็ตาม นอกจากจะช่วยให้ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร ได้มีสภาพคล่องทางการเงินและมีเงินทุนหมุนเวียน สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจและ แรงงานภาค บริการภายในร้านแล้ว ยังช่วยส่งเสริมและกระจายรายได้ไปถึงไรเดอร์ (Rider) หรือคนขับผู้จัดส่งอาหาร และผู้ให้บริการแพลตฟอร์มฯ รวมถึงเพิ่มทางเลือกในการตัดสินใจสั่งซื้ออาหารของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี





“ส่วนตัวเห็นด้วยกับนโยบายล่าสุดของรัฐบาลที่ผ่อนปรนให้มีการขายอาหารภายในห้างสรรพสินค้าได้ รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชั่นฟู้ดเดลิเวอรี่ เพื่อเป็นทางเลือกในการ ตัดสินใจช่วงที่มีการประกาศล็อกดาวน์ แต่ภาครัฐและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันสร้างโอกาสในการ เพิ่มยอดขาย เพื่อสร้างรายได้ให้กับร้านอาหาร เพราะรายได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น จะช่วยลดปัญหาต่างๆ ในสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี”

ผศ.ธารีทิพย์ ย้ำว่า ทางรอดที่จะนำไปสู่การสร้างยอดขายหรือรายได้ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการทุกกลุ่มได้ นำเสนอ กระทั่ง สรุปเป็นประเด็นที่มีโอกาสความเป็นไปได้นั้น ประกอบด้วย 4 แนวทาง ดังนี้

1.เพิ่มช่องทางขายออนไลน์ ผู้ประกอบการร้านอาหารควรเร่งปรับตัวเพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าผ่าน ช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะการ ให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่นฟู้ดเดลิเวอรี่ เนื่องจากเป็นช่องทางที่ดีและ เหมาะสมที่สุดในยามนี้ ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์พบว่าร้านอาหารมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากยอดสั่งซื้ออาหาร ผ่านช่องทางนี้สูงถึงร้อยละ 60-70% เมื่อเทียบกับการขายหน้าร้านเพียงอย่างเดียว แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ สำคัญสำหรับผู้ประกอบการคือการ กระตุ้นยอดขายให้มากขึ้นในช่องทางออนไลน์ ในช่วงเวลาที่ยอดขาย จากการนั่งทานในร้านหายไป เพื่อให้เกิดสภาพคล่องและยังคงประคับประครองธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้

2.โปรโมทร้านสร้างยอดขายจากโปรโมชั่น ผู้ประกอบการร้านอาหารจะต้องโปรโมทตัวเองให้เป็นที่รู้จัก ของลูกค้า เนื่องจากในแต่ละแฟลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่มีร้านอาหารมาเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ร้านอาหารที่มี ชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก หรือทำการโปรโมทไปก่อนหน้านี้จะมีโอกาสได้รับความสนใจและสั่งซื้อมากกว่าร้านที่ไม่ เคยทำการโปรโมทฯมาก่อน แต่ก็ต้องแลกกับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการบางรายที่เข้าร่วม ในทุกแพลตฟอร์มฯและโหมทำการโปรโมทร้านค้าตัวเองจนยอดขายเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 90 ถึงจะแลก กับการจ่ายเงินค่าการตลาดที่เพิ่มขึ้นมา แต่ทำให้ร้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค และนำมาซึ่งยอด ขายตามมาในอนาคต



3.เข้าร่วมโครงการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยมาตรการต่างๆ ของภาครัฐมีส่วนช่วยลดภาระต้นทุนใน การขนส่งอาหารให้กับผู้บริโภค เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวตัดสินใจสั่งซื้ออาหารของผู้บริโภค เนื่องจากนโยบาย

ของรัฐในช่วงที่ผ่านมาส่งผลโดยตรงอย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของผู้คน และอาหารก็เป็นสิ่งที่ ผู้คนจะต้องบริโภคทุกวันๆ ละ 2-3 มื้อ ดังนั้น หากผู้บริโภคต้องแบกรับภาระค่าขนส่งฯมากเกินไป อาจ กระทบต่อการตัดสินใจสั่งซื้ออาหาร ทั้งนี้ การที่ภาครัฐเตรียมจะเปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิในโครงการคนละครึ่ง สามารถสั่งซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชั่นฟู้ดเดลิเวอรี่ ถือเป็นอีกความช่วยเหลือที่ดีแก่ผู้บริโภคและผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มอื่นๆ แต่ก็เป็นคนละส่วนกับการช่วยลดภาระด้านต้นทุนการขนส่งฯที่ภาครัฐจะต้องให้น้ำหนักความ สำคัญแยกออกมาต่างหาก

และ 4.สร้างจุดขายผ่าน CSR ผู้ประกอบการร้านอาหารจะต้องมองหาพันธมิตรองค์กร ทั้งจากภาครัฐ และเอกชน ที่มีนโนบายด้านสังคม (CSR) ด้วยการรับผลิตอาหารชุด (กล่อง) เพื่อนำไปบริจาคให้กับ ผู้ป่วยโควิด-19 และบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาล, โรงพยาบาลสนาม และศูนย์พักคอยผู้ป่วย โควิดฯแม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบการร้านอาหารจะต้องพยายามทำควบคู่ไปกับแนวทางอื่นๆ เพื่อเพิ่มยอดขาย

“เห็นได้ชัดว่า ทั้ง 4 แนวทางที่สรุปจากข้อเสนอของทุกฝ่ายนั้น ล้วนส่งผลไปถึงการสร้างรายได้จากยอดขาย ที่เพิ่มขึ้น ตรงกับความต้องการแท้จริงของทุกฝ่ายที่จะได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ ร้านอาหาร กลุ่มคนขับหรือไรเดอร์, ผู้ให้บริการแฟลตฟอร์มฯ แม้กระทั่ง ผู้บริโภคฯเอง ส่วนประเด็นเรื่องค่า GP หรือค่าคอมมิชชันที่ผู้ให้บริการแฟลตฟอร์มฯคิดกับร้านอาหารฯตามข้อเสนอที่ภาครัฐเคยมีก่อนหน้านี้ นั้น ผู้ประกอบการร้านอาหารส่วนใหญ่กลับมองเห็นว่า เรื่องนี้ยังไม่สำคัญเท่ากับการกระตุ้นให้เกิดการ สั่งซื้ออาหาร ที่จะนำไปสู่การเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ให้กับพวกเขา เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งมวลที่เกิดขึ้น ในทุกวันนี้ และเข้าใจดีว่าแพลตฟอร์มเองก็มีต้นทุนที่ต้องรับผิดชอบ โดยเฉพาะค่าตอบแทนของไรเดอร์ และค่าทำการตลาดที่สำคัญต่างๆ อีกทั้งมองว่าการลดค่า GP ของแพลตฟอร์ม อาจนำมาซึ่งผลกระทบต่อ ผู้เกี่ยวข้องฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน” อาจารย์มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวสรุป