͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: กฟผ.ลุยลงทุนระบบส่งกว่า 2.42 แสนล.กระตุ้นเศรษฐกิจตลอด10ปี  (อ่าน 177 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16170
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.ได้เตรียมพร้อมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ตามนโยบายของภาครัฐ หรือ Restart Thailand โดยจะเร่งรัดดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณในปี 2564 ตามแผนการเบิกจ่ายงบประมาณที่วางไว้ ในส่วนของโครงการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างและขยายระบบส่งไฟฟ้าครอบคลุมทั้งประเทศ จำนวน 17 โครงการ ตลอดระยะเวลา 10 ปี ระหว่างปี 2564-2573 คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจรวมทั้งสิน 242,567 ล้านบาท


โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก ปี2564-2568 จะมีแผนเบิกจ่ายเงินทั้งสิ้น 136,405 ล้านบาท และระยะที่สอง ปี2569-2573 มีแผนเบิกจ่ายเงินทั้งสิ้น 106,162 ล้านบาท ซึ่งจะมีทั้งการลงทุนสายส่งระดับแรงดัน 115,230 และ 500 กิโลโวลต์ เพื่อรองรับการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า เสริมความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้า การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า Smart Grid การปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพ และสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น


นอกจากนี้ ยังมีแผนการลงทุนระยะยาว เพื่อพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. อีก 2 โครงการ กับ 1 แผนงาน ที่อยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติโครงการ ได้แก่ 

1.โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 1 (SEZ1) วงเงินลงทุน 2,150 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการปี 2563-2568 เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าให้แก่บริเวณ อ.แม่สอด จ.ตาก และ อ.เมือง จ.มุกดามาร ในระยะยาว และรองรับการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้าน



2.โครงการพัฒนาระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลไปยังบริเวณอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (SPSS) วงเงินลงทุน 11,230 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการปี 2563-2569 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการส่งกำลังไฟฟ้าบริเวณเกาะสมุย และบริเวณข้างเคียง (เกาะพะงันและเกาะเต่า) และรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

แม้ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่เกาะสมุย จะชะลอตัวในช่วงระยะเวลา 1-3 ปี แต่มีแนวโน้มจะกลับมาเพิ่มสูงขึ้นหลังผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งระบบไฟฟ้าในปัจจุบันไม่สามารถรองรับได้ กฟผ.จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามแผนงาน เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานต่อไป

โดยทั้ง 2 โครงการนี้ ได้นำเสนอต่อปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)ไปแล้ว เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2563


และ 3.โครงการแผนลงทุนระยะยาว-แผนใหม่ แผนงานปรับปรุงสถานีไฟฟ้าแรงสูงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (HSIT)วงเงินลงทุน 1,600 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการปี 2563-2569 เพื่อช่วยรักษาและเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าในการจ่ายไฟฟ้าของ สฟ.ในพื้นที่ 3 จังหวัดฯ รวมถึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายของอุปกรณ์ภายใน สฟ.ในพื้นที่ 3 จังหวัดฯ โดยปัจจุบันโครงการนี้ ได้รับการอนุมัติแผนการลงทุนจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)แล้ว

”ช่วงไตรมาส1ปีนี้ กฟผ.มีการเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน ไตรมาส 2 ก็คาดจะเบิกจ่ายได้ตามแผน ส่วนไตรมาส 3-4 ก็จะพยายามทำให้ได้ตามเป้า”


นายบุญญนิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กฟผ.ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของโครงการอีก 2 โครงการ คือ 1.โครงการขยายระบบไฟฟ้าเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะที่ 4 (BSB4) วงเงินลงทุน 5,800 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการปี 2566-2571 เพื่อสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในเขตเมืองหลวง ซึ่งเป็นศูนย์การของส่วนราชการ ธุรกิจ การค้า การท่องเที่ยว และรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

และ 2.โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานระยะที่ 3 วงเงินลงทุน 23,380 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการปี 2566-2570 เพื่อปรับปรุงสถานีไฟฟ้าแรงสูงและสายส่งไฟฟ้าแรงสูงซึ่งเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน และเพื่อลดปัญหาความสูญเสียที่เกิดจากไฟฟ้าดับเรื่องจากอุปกรณ์ขำรุด