͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ไอเดีย'ของขวัญวันแม่'ในยุคโควิด-19 ระบุ 'นมแม่' วัคซีนที่ดีที่สุด  (อ่าน 152 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12494
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


เข้าสู่วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ ที่ในปีนี้ ใครหลายๆ คนอาจจะไม่ได้กลับไปหาแม่ที่บ้าน เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19

การแสดงความรัก การดูแลพ่อแม่ ไม่จำเป็นจะต้องเฉพาะ '12 สิงหา วันแม่แห่งชาติ' เท่านั้น แต่เมื่อเป็นวันพิเศษ ก็อาจจะมีของขวัญพิเศษๆ ให้แก่คุณแม่ ถึงตัวจะไปหาไม่ได้ส่งของขวัญไปแทนกันยังดี

เลือกของขวัญแทนคำบอกรักแก่คุณแม่
เริ่มด้วย อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ  สิ่งสำคัญอย่างมากในกลุ่มคุณแม่ หรือผู้สูงอายุ ยิ่งในยุคนี้อาหารเสริมเพื่อสุขภาพมีความจำเป็นอย่างมากในการเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคต่างๆ แก่ผู้สูงอายุ

สเปรย์แอลกฮออล์พกพา และชุดหน้ากากอนามัย เรียกได้ว่ากลายเป็นอาวุธประจำตัวของทุกคนไปแล้วในยุคโควิด-19 เพราะไปไหนมาไหน หรือแม้แต่อยู่ในบ้านก็ต้องมีติดตัวไว้ แนะนำให้เลือกสเปรย์แอลกฮออล์พกพาที่จะถนอมมือคุณแม่ มอบความชุ่มชื่น ไม่ทำให้มือลอก มือแห้ง ขณะที่ชุดหน้ากากอนามัยก็ควรจะเลือกผ้า หรือยี่ห้อที่ไม่ระคายเคืองผิวของคุณแม่


แผ่นหอมติดแมส คุณแม่ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา อาจหายใจไม่สะดวก อึดอัด แนะนำ แผ่นหอมติดแมส ช่วยให้หายใจสดชื่นแม้ใส่แมสตลอดเวลา ลดกลิ่นอับ ลมหายใจไม่สดชื่น ปลอดภัยด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีอันตราย

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด มีความจำเป็นอย่างมากในยุคโควิด สามารถวัดระดับออกซิเจนในเลือด (Sp02) อัตราการเต้นของหัวใจ (PR) และค่าการไหลเวียนของเลือด (PI) ได้ เพื่อความปลอดภัย

ชุดเครื่องหอม สมุนไพร ผู้สูงอายุอาจมีอาการวินเวียงหัว ปวดหัว ยิ่งใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา อาจทำให้หายใจไม่สะดวก แนะนำเลือกซื้อ ชุดเครื่องหอม สมุนไพร ที่ช่วยให้ความรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าผ่อนคลาย ลดอาการคันและปวด มอบความเย็นสบาย

'นมแม่' วัคซีนป้องกันโควิด-19 ป้องกันโรคได้ดีที่สุด
นอกจากของขวัญที่จะให้คุณแม่ใน วันแม่แห่งชาติ แล้ว รู้หรือไม่ว่า??? 'นมแม่' เป็นเสมือนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ป้องกันโรคต่างๆ แก่ลูกได้ดีที่สุด  

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าโควิด-19 สามารถติดต่อผ่านน้ำนมแม่ได้ องค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ จึงแนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถให้นมจากเต้าและโอบกอดแนบเนื้อได้แม้ว่าแม่จะติดเชื้อโควิด-19 หรือมีความเสี่ยงสูงก็ตาม  

อย่างไรก็ดี แม่ควรรักษาสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัยขณะให้นมลูก ล้างมือด้วยสบู่ก่อนและหลังสัมผัสลูก ตลอดจนหมั่นทำความสะอาดพื้นผิวที่แม่สัมผัสบ่อยๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ


การศึกษาต่าง ๆ พบว่า ประโยชน์ของ นมแม่ มีมากกว่าความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปสู่ลูก อีกทั้งแอนติบอดี้ในนมแม่ยังอาจช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อหาก ทารก ได้รับเชื้อโควิด-19


นางคยองซัน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการช่วยให้ทารกเติบโตอย่างแข็งแรงโดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของ โควิด-19 น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับทารก เพราะเปี่ยมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ แอนติบอดี้ ฮอร์โมน และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยกระตุ้นระบบ ภูมิคุ้มกัน ของทารกและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ดี

'ยูนิเซฟเรียกร้องคุณแม่ไทยม่เลี้ยงลูกด้วย 'นมแม่'
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กทั้งในช่วงแรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ การศึกษาต่าง ๆ พบว่าเด็กที่ได้กินนมแม่มักจะมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยน้อยกว่า อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะมีไอคิวสูงกว่า มีการศึกษาที่สูงกว่าและทำงานที่ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่

นอกจากนี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังช่วยเสริมสร้างสายใยรักและผูกพันระหว่างแม่กับลูก อีกทั้งลดความเสี่ยงของแม่ในการเป็นโรคอ้วน  โรคเบาหวานชนิดที่สอง โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่อีกด้วย


ยูนิเซฟได้แนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกเพื่อประโยชน์สูงสุดด้านสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตรานี้ต่ำที่สุดในภูมิภาค ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยพ.ศ. 2562 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและยูนิเซฟ พบว่า มีเด็กเพียงร้อยละ 14 ที่ได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกของชีวิต ซึ่งลดลงจากร้อยละ 23 ในพ.ศ. 2559

แนะรัฐบาล สธ.ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างจริงจัง
ยูนิเซฟ ได้เรียกร้องให้ภาครัฐบาลและเอกชนเพิ่มการลงทุนในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการ เลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ ตัวอย่างเช่น บุคลากรทางการแพทย์ควรสนับสนุนให้ทารกแรกเกิดได้รับนมแม่ภายในชั่วโมงแรกหลังคลอด พร้อมให้ความรู้และคอยแนะนำให้แม่สามารถให้นมลูกได้อย่างต่อเนื่อง

ในขณะเดียวกัน หน่วยงานสาธารณสุขควรปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กอย่างเคร่งครัด เช่น กำกับดูแลการตลาดออนไลน์ของนมผงที่เข้าถึงแม่โดยตรง หรือห้ามการแจกตัวอย่างนมผงภายในโรงพยาบาล


นอกจากนี้ ภาครัฐบาลและเอกชนควรออกนโยบายที่เป็นมิตรกับเด็กและครอบครัวเพื่อให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องหลังจากที่ต้องกลับไปทำงาน เช่น สามารถ ลาคลอด ได้อย่างน้อย 18 สัปดาห์โดยได้รับค่าจ้าง หรือสิทธิลาคลอดสำหรับพ่อ ในขณะเดียวกัน ที่ทำงานควรมีนโยบายที่ชัดเจนและจัดให้มีมุม นมแม่ ที่สะอาดปลอดภัยเพื่อให้แม่บีบเก็บน้ำนมได้ 

อ้างอิง: promotions, unicef