͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'หัวเว่ย' ยังลงทุนไทยต่อ!! - ผุด 'ธุรกิจพลังงาน' ในไทยเป็นครั้งแรก  (อ่าน 113 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15570
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


หัวเว่ย ยังมั่นใจประเทศไทย ย้ำชัด คือ ยังเป็นตลาดกลยุทธ์หลักของหัวเว่ย เร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มที่ ขยายส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัลเป็นครั้งแรกในไทย ลงทุนต่อเนื่อง 5G คลาวด์ พัฒนาทักษะดิจิทัลในประเทศ สวมบทป๋าดัน หนุนไทยสู่ดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน และผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาเซียน

เจย์ เฉิน รองประธานหัวเว่ยเอเชียแปซิฟิก กล่าวถึงเทรนด์ เทคโนโลยีทั่วโลกที่น่าสนใจในยุคนิวนอร์มอล ว่า สองปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับทุกคน การรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดในขณะนี้ทำให้เราเห็นว่าทุกประเทศหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น

ข้อมูลจากรายงาน Global Connectivity Index ฉบับล่าสุดของหัวเว่ยระบุว่า ประเทศที่มีความพร้อมทางด้าน ICT มากกว่าประเทศอื่นจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้น้อยกว่า ทั้งในแง่ของภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจ รวมทั้งยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือตลาดประเทศไทย ที่สถานการณ์ระบาดในตอนนี้ทำให้เห็นว่าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ICT และเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มที่ในช่วงก่อนหน้านี้ มีผลเป็นอย่างยิ่งกับการช่วยให้ประเทศยังคงฟื้นตัวและเดินหน้าต่อไปได้ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติ

3 เรื่องดันไทยขึ้นดิจิทัลฮับอาเซียน

เจย์ เฉิน ระบุว่า ประเทศไทยค่อยๆ ก้าวขึ้นเป็นดิจิทัลฮับในภูมิภาคอาเซียนจากหลายองค์ประกอบ เรื่องแรก คือ ไทยได้พัฒนาแผนเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลและการเดินตามวิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0

เรื่องที่สองคือข้อมูลอ้างอิงจาก Speedtest Global Index 2020 ระบุว่าประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับหนึ่งใน 176 ประเทศในแง่ของความเร็วอินเทอร์เน็ตแบบฟิกซ์บรอดแบนด์ ซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในแง่การวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยี 5G

เรื่องที่สามคือประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคเกษตรกรรม กาคสาธารณสุข ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการสร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัล

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านการบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัล ซึ่งหัวเว่ยได้มีส่วนสนับสนุนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น Huawei ASEAN Academy ซึ่งตั้งเป้าบ่มเพาะบุคลากรในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคให้ได้ถึง 300,000 คนภายในระยะเวลาห้าปี และจะมีสัดส่วนในการฝึกอบรมบุคลากรในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนถึงหนึ่งในสามจากจำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมทั้งหมด

อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวต่อว่า หัวเว่ยยังเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและพลังงานดิจิทัลมาเนิ่นนาน ซึ่งได้รับการนำไปประยุกต์ใช้ในกว่า 170 ประเทศและภูมิภาค โดยส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ยได้เติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทั้งในแง่ของผลประกอบการและส่วนแบ่งตลาด ทั้งในส่วนธุรกิจ Prefabricated Modular Data Center, Smart PV และ Site Power Facility ที่หัวเว่ยถือว่าเป็นผู้นำส่วนแบ่งตลาดในระดับโลก

สำหรับส่วนธุรกิจ mPower หัวเว่ยถือเป็นบริษัทแห่งแรกในโลกที่ส่งมอบนวัตกรรมใหม่ในชื่อว่า X-in-1 ePowertrain ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานให้แก่รถยนต์พลังไฟฟ้า นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ Modular Power ประสิทธิภาพสูงเป็นจำนวนมากกว่า 300 ล้านชิ้นทั่วโลก โดยในปี 2563 หัวเว่ยทำยอดขายในส่วนธุรกิจพลังงานจากทั่วโลกได้มากกว่า 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้บริการประชากรถึง 1 ใน 3 จากทั่วโลก

นั่นทำให้หัวเว่ยตัดสินใจขยายส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัลสำหรับตลาดประเทศไทยในปีนี้ โดยปัจจุบัน หัวเว่ยได้ให้บริการลูกค้าระดับองค์กรธุรกิจมากกว่า 1,000 รายในตลาดประเทศไทย ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจ 35 แห่งจาก 50 แห่ง ได้เลือกหัวเว่ยเป็นพาร์ทเนอร์ในด้านพลังงานดิจิทัล

"หัวเว่ยกำลังสร้างเครือข่ายพาร์ทเนอร์สำหรับด้านการบริการ การติดตั้ง และด้านโซลูชันมากกว่า 50 รายในประเทศไทย โดยหัวเว่ยคาดว่าการขยายส่วนธุรกิจในครั้งนี้จะช่วยสร้างงานในทางอ้อมได้มากกว่า 1,000 ตำหน่งในประเทศไทย ซึ่งหัวเว่ยทีมกับพาร์ทเนอร์หวังว่าเทคโนโลยีชั้นนำและกรณีตัวอย่างการใช้งานในระดับโลกจะสามารถช่วยส่งเสริมประเทศไทยในการขึ้นเป็นผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาเซียนได้"



ลงทุน 4 ด้านหลักต่อเนื่อง

อาเบล เติ้ง ย้ำด้วยว่า ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดสำคัญของหัวเว่ย ซึ่งหัวเว่ยจะยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยใน 4 ด้าน อันได้แก่ ด้านเทคโนโลยี 5G ด้านดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ ด้านพลังงานดิจิทัล และด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นดิจิทัลฮับของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งบรรลุเป้าหมายในการเป็นประเทศผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภูมิภาคนี้ให้จงได้

"ในด้านเทคโนโลยี 5G ประเทศไทยได้ขึ้นเป็นผู้นำในเรื่องการริเริ่มติดตั้งเครือข่าย 5G ในระดับภูมิภาคไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายรายต่าง ๆ ในไทยที่ช่วยผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ภายในสิ้นปีนี้ ประเทศอื่น ๆ ก็จะเริ่มตามทันไทยในแง่ของการขยายเครือข่าย 5G ต้องการจะเอาชนะในยก 2 ต่อจากนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องผลักดันให้มีอัตราการใช้งาน 5G เพิ่มขึ้นอย่างเร็วที่สุด เพื่อสร้างงานและโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงช่วยเพิ่มสัดส่วนที่เศรษฐกิจดิจิทัลจะมีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ซึ่งหัวเว่ยจะสนับสนุนประเทศไทยผ่านการลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านนวัตกรรม 5G และเสริมสร้างอีโคซิสเต็มในประเทศ" คุณอาเบลกล่าว

ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ลงทุนเป็นเงิน 475 ล้านบาทในโปรเจ็ค 5G EIC เพื่อพัฒนานวัตกรรม 5G สำหรับใช้งานในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ และเพิ่มทักษะให้แก่สตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี โดยหัวเว่ยยังได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อจัดงานประชุมสุดยอด 5G Summit ในไทยในปีนี้ เพื่อช่วยวางรากฐานให้แก่อุตสาหกรรมและอีโคซิสเต็มของ 5G ในประเทศ

ซึ่งหัวเว่ยเชื่อว่างานประชุมสุดยอดในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลในประเทศไทยด้วยการประยุกต์ใช้ 5G ในอุตสาหกรรมแนวดิ่ง นอกจากนี้ หัวเว่ยยังจะได้รับการสนับสนุนจากดีป้าในการสร้างอีโคซิสเต็มของพาร์ทเนอร์เพื่อก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรด้าน 5G และเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มสำหรับนวัตกรรมและแอปพลิเคชัน 5G ในภาคอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์

"ที่สำคัญคือหัวเว่ยจะยังคงมุ่งมั่นสร้าง อีโคซิสเต็มของ 5G ในประเทศไทยต่อไป เพื่อสร้างนคร 5G ระดับแนวหน้า และมีมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่าย 5G ในขั้นสูง เสริมแกร่งแอปพลิเคชันรวมทั้งนวัตกรรมด้าน 5G เพื่อสร้างโมเดลและคุณค่าใหม่ทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงพอที่จะขึ้นเป็นเมือง 5G แห่งภูมิภาคอาเซียน รองรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2565 ของไทยที่จะจัดขึ้นในจังหวัดกรุงเทพมหานคร พัทยา และเชียงใหม่" เขากล่าวเสริม

ปีนี้ หัวเว่ยจะลงทุนเป็นเงิน 700 ล้านบาท สำหรับศูนย์ข้อมูลการให้บริการคลาวด์แห่งที่สามในประเทศไทย ซึ่งทำให้หัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการ HUAWEI CLOUD ระดับโลกในไทยเพียงรายเดียวที่มีศูนย์ข้อมูลในประเทศถึงสามแห่ง

โดยหัวเว่ยต้องการสนับสนุนด้านการวางจุดยืนให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ดูน่าลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในด้านการตั้งศูนย์ข้อมูล (Data Center) และการลงทุนในครั้งนี้ยังช่วยสร้างงานใหม่กว่า 200 ตำแหน่ง ด้วยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในไทยกว่า 200 ราย

ทั้งนี้ หัวเว่ยต้องการจะผลักดันให้ประเทศไทยดูน่าดึงดูดและน่าลงทุนมากขึ้นในสายตาขององค์กรธุรกิจข้ามชาติ ที่ต้องการจะตั้งศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคนี้

หัวเว่ยยังเชื่อว่าหัวใจสำคัญของการผลักดันการพัฒนาด้านดิจิทัลนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งทางบริษัทได้ผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผ่านการบ่มเพาะบุคลากรในไทย เพื่อช่วยลดช่องว่างเรื่องการขาดจำนวนบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทย ด้วยโครงการพัฒนาอย่าง Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย ซึ่งตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรที่ทำงานด้านไอทีในไทยให้ได้รับทักษะในระดับโลกเป็นจำนวน 100,000 คนภายในเวลา 5 ปีนี้