͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เปิด'ปฏิญญาทาชเคนต์'บทบาทอุซเบกิสถานต่อเอเชียใหม่  (อ่าน 159 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Beer625

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13322
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


โดยปกติเราไม่ค่อยได้ยินข่าวประเทศจากเอเชียกลางอย่างอุซเบกิสถานมากนัก แต่เมื่อกลางเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา กรุงทาชเคนต์ของอุซเบกิสถาน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติหัวข้อ “เอเชียกลางและเอเชียใต้: การเชื่อมต่อ ความท้าทาย และโอกาสระดับภูมิภาค” ถือว่าจัดได้ถูกที่ถูกเวลา มีประเทศเข้าร่วมถึง 50 ประเทศ เช่น ตุรกี อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน รัสเซีย อินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา  รวมถึงตัวแทนจากองค์การระหว่างประเทศ กลุ่มคลังสมองเด่นๆ สถาบันการเงิน บริษัท ภาคธุรกิจอีกกว่า 30 องค์กร

ที่สำคัญคือผู้นำหลายคนมาพบกันในเวทีนี้ อาทิ ประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ของอัฟกานิสถาน นายกรัฐมนตรีอิมราน ข่าน แห่งปากีสถาน เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียสุพรหมณยัม ชัยศังกระรัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย และหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ในช่วงเวลาที่เกิดข้อพิพาททางภูมิรัฐศาสตร์โดยมีเอเชียเป็นศูนย์กลาง เวทีนี้จึงเป็นการแสดงถึงความวิตกกังวลร่วมกัน แล้วแสวงหาเจตจำนงร่วมบนเส้นทางเอเชียกลาง-ใต้ ที่จะเป็นพื้นที่สำคัญของระบบระหว่างประเทศในอนาคต ผ่านการประกาศ“ปฏิญญาทาชเคนต์แห่งเอเชียใหม่"

ประธานาธิบดีชาฟเคท เมอซิโยเยฟแห่งสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน แสดงสุนทรพจน์ครั้งประวัติศาสตร์ ขนานนามเอเชียกลางและเอเชียใต้ว่า “สะพานแห่งการสนทนา” ระหว่างผู้คนกับอารยธรรม เป็น “เส้นทางสายไหมอันยิ่งใหญ่” โดยได้เน้นย้ำถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ ตอบโต้ข้อสรุปเรื่องการปะทะกันของอารยธรรมว่า เอเชียกลางและเอเชียใต้ไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อนยากจน ตรงกันข้ามที่นี่คือศูนย์กลางแห่งอารยธรรม วิทยาศาสตร์ ความมั่งคั่ง ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนามนุษย์ ตัวชี้วัดพื้นฐานที่สุดดูได้จาก เมืองและถนนหนทาง (บนเส้นทางสายไหมในประวัติศาสตร์) ภูมิภาคนี้สามารถฟื้นคืนความมั่งคั่งและมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างอารยธรรม

ประกันโควิด เจอ จ่าย จบ! รับเลย 100,000 บาท

เอเชียกลางและเอเชียใต้ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่ของคนป่าฆาตกร หรือมีปัญหาความมั่นคงอย่างที่ถูกตีตรา ในทางกลับกันที่นี่เป็นศูนย์กลางของความมั่นคง เสถียรภาพ ความยุติธรรม อดทนอดกลั้น และอยู่ร่วมกันมาหลายร้อยปี

ทั้งยังเป็นภูมิภาคที่ยึดประชาชนและมนุษยธรรมเป็นศูนย์กลาง ผู้คนต่างศาสนา อิสลาม พุทธ ฮินดู และอื่นๆ จึงอยู่ร่วมกันมานานหลายศตวรรษ กลายเป็นหุ้นส่วนทางชาติพันธุ์อันยิ่งใหญ่ รุ่มรวยด้วยวัฒนธรรมหลากสีสัน โครงสร้างทางภูมิวัฒนธรรมเช่นนี้ที่กำลังถูกทำให้กลายเป็นความขัดแย้ง แท้จริงแล้วมีประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันมาก ทุกคนในพื้นที่สังเกตเห็นได้ ด้วยเหตุนี้จึงควรตระหนักถึงศักยภาพด้านการท่องเท่ี่ยวระหว่างเอเชียกลางและเอเชียใต้ และควรขยายการแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม

เอเชียกลางและเอเชียใต้เป็นที่ตั้งแห่งเอกภาพ ไม่ใช่การปะทะกันของอารยธรรมอย่างที่เคยมีคนว่าเอาไว้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่เอเชียกลางและเอเชียใต้ต้องจับ “จิตวิญญาณเส้นทางสายไหม” ไว้ให้ได้เพื่อร่วมมือกัน และต้องปรับปรุงความสัมพันธ์ที่เริ่มขาดหายกันไปซึ่งยังไม่สายเกินไป

ภายใต้บริบทนี้ อุซเบกิสถานยุคใหม่จึงดำเนินการภายใต้กรอบความรับผิดชอบของประเทศ ชี้วัดได้จากกระบวนการความร่วมมือใหม่ที่อุซเบกิสถานพัฒนากับเพื่อนบ้าน ด้วยเชื่อว่า ความเข้าใจและความร่วมมือนี้จะโดดเด่นไปทั่วภูมิภาคสะท้อนถึงความพยายามทั้งหมดที่ทำ

ประธานาธิบเมอร์ซิโยเยฟกล่าวด้วยว่า โครงการที่ตนเสนอต่อที่ประชุม เน้นความร่วมมือเป็นพื้นฐาน เป็นส่วนเสริมมิใช่แข่งขันกับโครงการที่ทำมาก่อน ทั้งยังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการริเริ่มสายแถบและเส้นทางในแง่ของการเปิดศักยภาพความร่วมมือที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์อย่างกว้างขวางยิ่ง ตัวอย่างเช่น เส้นทางแคสเปียน-เอเชียกลาง-เอเชียใต้ที่เป็น “หัวใจแห่งเอเชีย” เส้นทางรถไฟสาย Tirmidhi-Mazar-i-Sharif-Kabil-Peshawar ที่ครอบคลุมอุซเบกิสถาน อัฟกานิสถาน และปากีสถาน เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่สุดเข้ากันได้กับโครงการสายแถบและเส้นทางซึ่งไม่ควรประเมินเฉพาะมิติทางเศรษฐกิจ-พาณิชย์เท่านั้น โดยเฉพาะในประเด็นอัฟกานิสถาน

“เส้นทางการคมนาคมนี้จะมีประสิทธิภาพในความร่วมมือระหว่างภูมิภาค สร้างสันติภาพและเสถียรภาพและพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศนี้” ประธานาธิบดีอุซเบกิสถานย้ำโดยพิจารณาจากมิติของอัฟกานิสถาน

กล่าวโดยสรุป สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีชี้ให้เห็นว่า อุซเบกิสถานปรารถนาสร้างสันติภาพและเสถียรภาพ สถาปนาความสัมพันธ์อันกว้างขวางและลึกซึ้งระหว่างเอเชียกลางกับเอเชียใต้ การประชุม “เอเชียกลางและเอเชียใต้: การเชื่อมต่อระดับภูมิภาค ความท้าทายและโอกาส” ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของเจ้าภาพเท่านั้น แต่เน้นย้ำผลประโยชน์ร่วมที่สำคัญในแง่การส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในอัฟกานิสถาน

“อัฟกานิสถานไม่ได้มีความหมายแค่เอเชียกลางหรือเอเชียใต้เท่านั้น แต่เป็นประโยชน์สำหรับทวีปเอเชียโดยรวมและโครงการที่พัฒนาขึ้นภายใต้กรอบความร่วมมือนี้” ประธานาธิบดีอุซเบกิสถานกล่าวทิ้งท้าย