͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: Cluster Concepts – ว่าด้วยกรอบระเบียงเศรษฐกิจที่สอง หรือสาม หรือสี่ ….. ตอนที่ 2  (อ่าน 162 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Cindy700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15687
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


คลัสเตอร์อะไรที่ควรพัฒนาในภูมิภาค ในการไขปัญหาข้อแรกที่ว่า “ถ้าจะมีการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแห่งที่สองในเขตพื้นที่ภาคอื่น ๆ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใด?”

คลัสเตอร์อะไรที่ควรพัฒนาในภูมิภาค
ในการไขปัญหาข้อแรกที่ว่า “ถ้าจะมีการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแห่งที่สองในเขตพื้นที่ภาคอื่น ๆ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใด?” จึงต้องคำนึงถึงการก่อตัวของการรวมกลุ่มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงถึงการมีอยู่ของคลัสเตอร์ในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อเป็นการระบุคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพในพื้นที่ภาคดังกล่าว และเป็นการบ่งชี้ถึงศักยภาพของพื้นที่ประกอบการและความพร้อมของเครือข่ายอุตสาหกรรมโดยอ้อม

ทั้งนี้ การศึกษาในเชิงวิชาการเพื่อระบุถึงการมีอยู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้มีการดำเนินการอยู่ 2 แนวทาง คือ (1) การศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพในเชิงลึกประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในระดับพื้นที่ และ (2) ใช้เทคนิคทางด้านปริมาณจากตัวเลขที่เรียกว่า Cluster Mapping1 ซึ่งจะช่วยระบุการมีอยู่ของคลัสเตอร์ภายในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กำหนด

สำหรับการศึกษาเพื่อตอบคำถามครั้งนี้ ผู้เขียนได้เลือกใช้วิธีการศึกษาด้วยเทคนิคเชิงปริมาณตามแนวทางของ European Cluster Observatory ที่เรียกว่า 3 STAR Model เนื่องจาก มีความเรียบง่าย และสามารถวัดเปรียบเทียบได้ โดยจะทำการวัดผลกระทบทางอ้อมจากการอยู่ในพื้นที่ร่วมกันของธุรกิจ (Co-location of Businesses) จากการกระจุกตัวของการจ้างงาน และการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพิจารณา 3 ปัจจัยเป็นลำดับ ประกอบด้วย ขนาด (Size) ระดับความชำนาญพิเศษของพื้นที่ (Specialization) และขอบเขตของอุตสาหกรรมที่พื้นที่จะขับเคลื่อน หรือมุ่งเน้นในการผลิต (Focus) แบ่งเป็นระดับ 0 1 2 และ 3 Stars ตามจำนวนขั้นที่ผ่านเงื่อนไขตามลำดับ โดยใช้ข้อมูลการจ้างงาน และมูลค่าเพิ่มจากสถิติมูลฐานอุตสาหกรรมการผลิตในปี 2554 จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จากการนำระดับการจัดประเภทอุตสาหกรรม TSIC 4 ตำแหน่ง ในระดับประเทศ และภูมิภาคต่าง ๆ มาคำนวณ แล้วคัดเลือกสาขาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เป็นตัวนำในแต่ละเขตพื้นที่จากกลุ่มสาขาอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในระดับของความชำนาญพิเศษ 3 Stars และจำนวนการจ้างงานอย่างน้อย 2 Stars ร่วมกับสาขาที่มีจำนวนการจ้างงานในระดับของความชำนาญพิเศษ 3 Stars และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 2 Stars ซึ่งถือว่าเป็นสาขาที่มีความสำคัญต่อประเทศ และมีระดับสัดส่วนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าค่าเฉลี่ยอย่างเพียงพอ แล้วนำมาจัดกลุ่มสาขาอุตสาหกรรมดังกล่าว ให้เป็นคลัสเตอร์


ในเบื้องต้น พบว่า ในแต่ละเขตพื้นที่มีกลุ่มคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพสูง

(1) เขตพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก มีคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย คลัสเตอร์ยานยนต์ และชิ้นส่วน คลัสเตอร์ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ และคลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงคลัสเตอร์กลุ่มสาขาอื่น ๆ เช่น สาขาการผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้ และสิ่งของสาขาการผลิตรองเท้า และสาขาการพิมพ์

(2) เขตพื้นที่ภาคเหนือ มีคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย คลัสเตอร์กลุ่มอุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์และอุปกรณ์ถ่ายภาพ คลัสเตอร์เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้สอยในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทำจากไม้ และการผลิตสิ่งของ รวมถึงคลัสเตอร์เกษตรแปรรูป อาทิ สาขาผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในขณะที่สาขาการแปรรูป และการถนอมผลไม้และผัก และสาขาการผลิตน้ำตาล ยังคงมีระดับสัดส่วนของการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสัดส่วนการจ้างงานน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศตามลำดับ

(3) เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย คลัสเตอร์อาหาร และเกษตรแปรรูปในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการโม่-สีธัญพืช สาขาการผลิตน้าตาล รวมถึงสาขาการผลิตสตาร์ชและผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช

(4) เขตพื้นที่ภาคใต้ มีคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย คลัสเตอร์เกษตรแปรรูปในกลุ่มยางพาราและปาล์มน้ามัน ในขณะที่สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้าแปรรูปอื่น ๆ ยังคงมีระดับสัดส่วนของการสร้างมูลค่าเพิ่มน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ

นอกจากนี้ จากการพิจารณาผลการศึกษาคลัสเตอร์ ที่มีศักยภาพในมิติการจ้างงาน หรือมูลค่าเพิ่มในระดับ 1 ถึง 3 Stars ของเขตพื้นที่แต่ละภาคควบคู่กับนโยบาย 10 อุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมายของรัฐบาล เพื่อเชื่อมโยงเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ กับศักยภาพในระดับพื้นที่ พบว่า สาขาอุตสาหกรรมในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนที่มีศักยภาพต่อยอดไปสู่กลุ่มยานยนต์สมัยใหม่ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีศักยภาพต่อยอดไปสู่กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ กลุ่มปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ ที่มีศักยภาพต่อยอดไปสู่เคมีชีวภาพ รวมถึง กลุ่มคลัสเตอร์ดิจิทัล คลัสเตอร์การแพทย์ครบวงจร (ในกลุ่มเภสัชภัณฑ์ และเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์) และคลัสเตอร์อากาศยานนั้น มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นในเขตพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ส่วนกลุ่มคลัสเตอร์อาหาร และเกษตรแปรรูป ที่มีศักยภาพพัฒนาไปสู่อาหารแห่งอนาคต เชื้อเพลิงชีวภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพ ในเขตพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายกว่า และมีการกระจุกตัวสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเขตพื้นที่ภาคอื่น ๆ ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางสาขาในอุตสาหกรรมอาหาร และเกษตรแปรรูป มีการกระจุกตัวอยู่ในเขตพื้นที่ภาคที่เหลือ ตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น กลุ่มการแปรรูป และการถนอมผลไม้ และผัก กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาสูบ และกลุ่มการผลิตน้าตาลในเขตพื้นที่ภาคเหนือ กลุ่มการผลิตน้าตาล และสตาร์ช ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือกลุ่มยางพารา และปาล์มน้ามัน ในเขตพื้นที่ภาคใต้ เป็นต้น

มีแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ อย่างไร?
สำหรับการไขปัญหาข้อที่สองที่ว่า “ควรมีแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์อย่างไรจึงจะเหมาะสม?” นั้น ต้องย้อนกลับไปที่ความสำคัญของพื้นที่ที่ตั้งของบริษัทต่อขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น โดยพื้นที่ที่มี “องค์ประกอบของปัจจัยแวดล้อม” ที่เอื้อต่อการกระจุกตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในธุรกิจสาขาเฉพาะในพื้นที่ใกล้เคียงกัน (หรือคลัสเตอร์) อย่างเหมาะสมจะเป็น ตัวจักรสาคัญที่ขับเคลื่อนให้พื้นที่หรือประเทศนั้นมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง คาถามที่ตามมาคือ “แล้วอะไร คือ ปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมที่ไทยควรผลักดันให้มีขึ้นล่ะ?” จากการค้นคว้าพบว่ามีหลายบทความวิชาการได้พยายามตอบคาถามดังกล่าว รวมถึงแนวคิด Diamond Model ของ Michael E. Porter ที่ได้รับความนิยม นอกจากนั้น ยังมีข้อสังเกตอีกว่าแนวทางในการพัฒนาให้เกิดการรวมกลุ่มในรูปแบบคลัสเตอร์ไม่ใช่จุดสุดท้ายของเรื่อง เพราะคลัสเตอร์ก็มีวงจรของการก่อตัว เจริญเติบโต อิ่มตัว และหมดความสาคัญไปจากระบบเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ รวมทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีคลัสเตอร์ ที่มีระดับการพัฒนาที่มากกว่าประเทศที่กาลังพัฒนา กล่าวคือ คลัสเตอร์จะยิ่งมีความลึกและมีซัพพลายเออร์ที่มีความพิเศษ มีความกว้างของระดับชั้นของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีสถาบันสนับสนุนที่มีความครอบคลุม รวมถึงบริษัทที่ตั้งอยู่จะมีความซับซ้อนทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมในระดับที่สูงกว่า ดังนั้น การพัฒนาคลัสเตอร์จึงไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และควรส่งเสริมให้เกิดปัจจัยแวดล้อมที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อพัฒนาโครงสร้าง และยกระดับความซับซ้อนของกิจกรรมของคลัสเตอร์ ไปสู่ฐานคุณค่าใหม่อยู่ตลอดเวลา (ซึ่งเป็นวิธีที่มีความยั่งยืน และก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มากกว่าการส่งเสริมให้เกิดคลัสเตอร์ขึ้นโดยตรง) 


ประกอบกับเมื่อพิจารณาร่วมกับบริบทการพัฒนาของไทยแล้ว โดยในบริบทของไทยมี 5 ประการ ที่ควรริเริ่มให้มีขึ้นประกอบด้วย

(1) การพัฒนาปัจจัยทุน (Capitals) โดยดำเนินการยกระดับศักยภาพของปัจจัยทุนด้านต่าง ๆ ในระดับประเทศเพื่อเชื่อมโยงสู่การพัฒนาระดับภาค ทั้งที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ การพัฒนาทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และวัตถุดิบ รวมถึงแรงงานขั้นพื้นฐาน และปัจจัยก้าวหน้า ได้แก่ การพัฒนาทุนมนุษย์ และแรงงานฝีมือ การพัฒนาทุนทางการเงิน รวมถึงทุนทางปัญญา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ไทยควรคำนึงถึงในการวางรากฐาน ให้พร้อมต่อการก้าวไปสู่อุตสาหกรรมอนาคต

(2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Infrastructures) ที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง อาทิ ถนน ทางรถไฟ สนามบิน รวมถึงระบบการสื่อสาร และโทรคมนาคม ภายในภูมิภาค โดยเฉพาะการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภาคต่าง ๆ เข้าสู่เขตพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักของประเทศ และท่าเรือสำคัญ ไปจนถึงการจัดการผังเมือง/บริการสาธารณะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้อยู่อาศัย เพื่อช่วยดึงดูด และรักษาบุคลากรแรงงานฝีมือ และผู้ประกอบการให้เข้ามาอาศัยในพื้นที่

(3) การส่งเสริมหน่วยเศรษฐกิจที่เป็นกุญแจสำคัญ (Key Economic Actors) เนื่องจากคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพสูง ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของตัวบริษัท และอุตสาหกรรมที่เข้ามาเป็นสมาชิก จึงควรดำเนินการส่งเสริม เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัท/อุตสาหกรรมในประเทศ ไปพร้อมกับการดึงดูดการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติในส่วนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สร้างเป็นสมาชิกในเครือข่ายการผลิตเพื่อขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมฐานเดิมไปสู่อุตสาหกรรมอนาคต เพื่อเป็นการวางตำแหน่งการแข่งขันของไทยในเครือข่าย การผลิตโลกอย่างยั่งยืน

(4) การสร้างสภาพแวดล้อมในการแข่งขัน และร่วมมือที่เหมาะสม (Co-operative Condition) สร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม และการรวมกลุ่ม/พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ร่วมกับการดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และเครือข่ายสถาบันการศึกษา/สถาบันวิจัย โดยใช้กลไกต่าง ๆ อาทิ ก่อตั้งหน่วยงานส่งเสริมการพัฒนาคลัสเตอร์ (Cluster Development Agent: CDA) เพื่อผลักดันและดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคลัสเตอร์ หรือการริเริ่มจัดตั้งประชาคมการวิจัย (Research Consortia) ทุนเพื่อการวิจัยร่วม (Joint Research Fund) และการวิจัยร่วม (Joint Projects) เป็นต้น

(5) การพัฒนาตลาด (Demand) เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดจากการพัฒนาตลาดภายในประเทศ และ/หรือเชื่อมโยงสู่ตลาดต่างประเทศ โดยกำหนดให้ไทยอยู่ในตำแหน่งในการแข่งขันทางการตลาด และเครือข่ายการผลิตระดับอาเซียน/โลกอย่างเหมาะสม

ประเด็นสำคัญ คือ...การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจที่สอง สาม สี่…. จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับเขตพื้นที่ภาคกลาง และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเครือข่ายการผลิต และโลจิสติกส์ของประเทศอย่างใกล้ชิด โดยการขับเคลื่อนการพัฒนาคลัสเตอร์ในพื้นที่นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย และภาครัฐควรมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้สนับสนุนมากกว่าผู้เล่น ดังนั้น การชักจูงภาคเอกชนที่มีความพร้อมในการนำ และมองเห็นโอกาสให้เป็นแนวร่วมสำคัญในการผลักดันการพัฒนาคลัสเตอร์ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญในการขับเคลื่อนแนวคิดเชิงนโยบายไปสู่การพัฒนาที่เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

เอกสารอ้างอิง:
Bresnahan, T., Gambardella, A., and Saxenian A. (2001). Old economy' inputs for 'new economy' outcomes: cluster formation in the new Silicon Valleys. Industrial and Corporate Change, Oxford University Press, No.4 Vol.10, 2001.

Dzisah, J. and Etzkowitz, H. (2008). Triple helix circulation: the heart of innovation and development. International Journal of Technology Management & Sustainable Development, Vol 7, No 2, Sep 2008, pp. 101-115(15).

Europe INNOVA. (2008). The concept of clusters and cluster policies and their role for competitiveness and innovation: main statistical results and lessons learned. Commission staff working document SEC (2008) 2637.

International Trade Department. (2009). Clusters for competitiveness. A practical guide and policy implications for developing cluster initiatives. 2009.