͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'พักชำระหนี้' กับ 'พักหนี้' ไม่เหมือนกัน! เช็คเงื่อนไข ก่อนร่วม 'มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้'  (อ่าน 203 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13281
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ทำความเข้าใจก่อนเข้าร่วม "มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้" เมื่อ "พักหนี้" กับ "พักชำระหนี้" มีความแตกต่างกัน

หลังจากรัฐบาลประกาศความร่วมมือกับ "ธนาคารของรัฐ" และ "ธนาคารพาณิชย์" ออกมาตรการ "ช่วยลูกหนี้" เพื่อแบ่งเบาภาระค่างวด หลังจากที่มีการยกระดับความเข้มข้นของการ "ล็อกดาวน์" ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ โดยมีมาตรการ "พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 2 เดือน" 

หลายคนเข้าใจผิดว่าการ "พักชำระหนี้" คือการหยุดจ่ายหนี้เฉยๆ แต่นั่นผิดถนัด!

เพราะความเป็นจริงแล้วการพักชำระหนี้ ยังคงมีการคิดดอกเบี้ยอยู่ แต่จะถูกคิดในภายหลัง ต่างจากการ "พักหนี้" ที่เป็นการพักชำระแบบหยุดคิดดอกเบี้ยด้วย 

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่างการ "พักชำระหนี้" และการ "พักหนี้" เพื่อให้เข้าใจก่อนเข้าร่วมมาตรการ และวางแผนการชำระหนี้คืนได้ง่ายขึ้น

พักชำระหนี้ 
พักชำระหนี้ หมายความว่า งวดที่ได้รับการพักชำระหนี้จะ "ไม่ต้องจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย" แต่ธนาคารจะยังคิดดอกเบี้ยของแต่ละงวดต่อไปเรื่อยๆ แล้วค่อยมาเรียกเก็บดอกเบี้ยในภายหลัง 

เช่น นาย ก. เป็นลูกค้าของธนาคาร ที่ให้มาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ระหว่างที่มีการพักชำระหนี้ นาย ก. ไม่ต้องชำระเงินให้กับธนาคารเลยในช่วง 2 เดือนนั้นเนื่องจากถูกพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยไว้ 

แต่หลังจากพ้นระยะเวลาพักชำระหนี้ 2 เดือนนี้ แล้ว นาย ก. จะต้องกลับมาผ่อนชำระค่างวดตามปกติในงวดถัดไป และจะต้องจ่ายดอกเบี้ยของงวดที่ถูกพักชำระหนี้ไปด้วย 

ตัวอย่างการพักชำระหนี้

เช่น สมมติมียอดหนี้คงเหลืออยู่ 1,000,000 บาท โดยปกติต้องผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท (เงินต้น 4,000 บาท ดอกเบี้ย 6,000 บาท) หลังพักชำระหนี้ นาย ก. ต้องกลับมาผ่อนชำระ 10,000 บาทตามปกติ + ดอกเบี้ยค้างชำระ 2 เดือนที่พักชำระหนี้ไป คือเดือนละ 6,000 เป็นเวลา 2 เดือน เท่ากับมีดอกเบี้ยคงค้างจากงวดที่พักชำระหนี้จำนวน 12,000 บาท 

ทั้งนี้ ดอกเบี้ยคงค้างจะไม่เรียกเก็บในทันที อาจเรียกเก็บในการผ่อนชำระงวดสุดท้าย หรือมีรูปแบบอื่นๆ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร

แม้จะมีดอกเบี้ยวิ่งอยู่ แต่ ข้อดีของการพักชำระหนี้ คือ 1. มีเงินสดเหลือสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นในช่วงวิกฤติ 2. ไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้ และ 3. ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต

ซึ่งเงื่อนไขการ "พักชำระหนี้" ที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้น ต่างจากการ "พักหนี้" ซึ่งเป็นคำใกล้เคียงกันมากๆ แต่มีรายละเอียดจากการ "พักชำระหนี้" อยู่เล็กน้อย ดังนี้
          

 พักหนี้ 
"พักหนี้" หมายความว่า ในงวดที่ได้รับการพักหนี้ให้ "ไม่ต้องจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย" และธนาคารจะ "หยุดคิดดอกเบี้ยในช่วงที่เราพักหนี้" ด้วย

พูดง่ายๆ ก็คือ เราจะไม่ต้องจ่ายอะไร และไม่มีอะไรติดค้างจากงวดมีการ "พักหนี้" เลย เมื่อหมดการพักหนี้แล้ว ก็กลับมาจ่ายหนี้ตามสัญญาปกติ 

ตัวอย่างคือ นาย ข. เป็นลูกค้าของธนาคารที่มีมาตรการพักหนี้ 2 เดือน เขาไม่ต้องชำระเงินให้กับธนาคารเลย ในงวดที่ธนาคารพักหนี้ให้ เหมือนกับกรณีการพักชำระหนี้ แต่ในระหว่าง 2 เดือนที่ไม่ได้ชำระหนี้นั้น ธนาคารจะ "หยุดคิดดอกเบี้ย" ของนาย ข. ด้วย

ซึ่งหมายความว่า เมื่อพ้นระยะเวลาพักหนี้ไปแล้ว นาย ข. จะสามารถกลับมาผ่อนชำระค่างวดเดือนละ 10,000 บาทตามเดิม ในงวดต่อไปได้ตามปกติ เหมือนว่า 2 เดือนที่ผ่านมาธนาคารหยุดเวลาไว้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ดังนั้นการ "พักหนี้" จึงต่างจากการ "พักชำระหนี้" ตรงที่ทำให้ลูกหนี้ไม่มีดอกเบี้ยค้างจ่ายกับธนาคารตามมาทีหลังนั่นเอง

ดังนั้น ผู้ที่ร่วมมาตรการ "พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย" อาจต้องเตรียมตัวในการผ่อนชำระหนี้ในส่วน "ดอกเบี้ย" ช่วงที่มีการพักชำระหนี้ให้ไว้ด้วย

ส่วนผู้ที่ยังมีกำลังในการจ่ายไหวในช่วงนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำว่า 

"การเลื่อนกำหนดชำระหนี้ออกไป (พักชำระหนี้) ภาระหนี้จะยังคงอยู่และในช่วงที่ผ่อนปรน ดอกเบี้ยยังเดินอยู่ ซึ่งแต่ละคนอาจได้รับผลกระทบแตกต่างกันและสามารถเลือกวิธีผ่อนชำระที่เหมาะสมกับรายได้และเงินในกระเป๋าสตางค์ของตัวเองได้

หากยังอยู่ในกลุ่มที่ยังพอมีศักยภาพ อาจเลือกชำระตามปกติเพราะจะช่วยให้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติม หนี้ไม่เพิ่ม และบางธนาคารให้สิทธิพิเศษปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม แต่สำหรับท่านที่ได้รับผลกระทบ มีสภาพคล่องไม่พอ แนวทางการเลื่อนหรือพักชำระหนี้ก็จะเป็นทางออกหนึ่งสำหรับช่วงนี้ด้วย"


 ลูกหนี้ที่อยากขอ "พักชำระหนี้ 2 เดือน" ต้องทำอย่างไร ?  

1. ตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเองว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่มาตรการกำหนดหรือไม่


2. แจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน กับสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจที่เป็น "เจ้าหนี้" ของเรา