͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “งายก” รถโฟล์คลิฟท์ อุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ต้องตรวจสภาพเสมอ  (อ่าน 135 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ neungreungtaicpe

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 13
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
งา (Forks) ที่ว่านี้ไม่ใช่งาช้าง แต่เป็นส่วนประกอบสำคัญของรถโฟล์คลิฟท์ หรือรถยกที่เป็นตัวทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักและถูกใช้งานอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ความสมบูรณ์คงทน และความแข็งแรงต่างก็เสื่อมสภาพลงอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานกับรถโฟล์คลิฟท์ต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะการสังเกตด้วยตาเปล่า เพื่อประเมินสภาพโดยรวมของงายก ว่ามีร่องรอยความเสียหายที่มองเห็นได้หรือไม่ หากพบความผิดปกติต่าง ๆ ควรรีบแจ้งผู้เกี่ยวข้องมาดำเนินงานทันที

รอยแตกที่ผิว และความตรง ของ Blade และ Shank ที่จะอยู่ตรงงายกของรถโฟล์คลิฟท์

การตรวจสอบรอยแยกและรอยแตกที่ผิว ทางเว็บ https://www.รถโฟล์คลิฟท์.com/ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายรถยก แนะนำว่าให้ตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อหารอยแตกร้าวที่มองเห็นได้ยาก และควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับบริเวณจุด mounting ของงายก นอกจากนี้แล้วการตรวจสอบรอยแตก อาจต้องเพิ่มความระเอียดมากขึ้นเป็นพิเศษ ถ้ามีการใช้กลไกเพิ่มเติม

ส่วนการตรวจความตรงควรตรวจสอบ straightness ของ blade และ shank หากพบความเบี่ยงเกิน 0.5% ของความยาวของ blade หรือความสูงของ shank ตามลำดับ รถที่ตรวจพบความเสียหายนี้ไม่ควรเอาออกมาใช้งานเด็ดขาด!! จนกว่าจะมีการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนงายกที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมใช้งาน

ความแตกต่างตรงบริเวณความสูงปลายงาด้านหน้ารถโฟล์คลิฟท์

"ต้องตรวจสอบความแตกต่างความสูงของปลายขางายกของรถโฟล์คลิฟท์ควบคู่กันไปด้วย หากพบว่ามันมีความแตกต่างความสูงของปลายงาเกิน 3% ของความยาว blade ก็ไม่ควรเอาออกมาใช้งาน จนกว่าจะได้รับการซ่อมแซมให้มีความสมบูรณ์ตามเดิม ดังนี้้้้้้"

1.ถ้างายาว 48 นิ้ว ความสูงที่แตกต่างกันไม่ควรเกิน 1.44 นิ้ว
2.ถ้างายาว 72 นิ้ว ความสูงที่แตกต่างกันไม่ควรเกิน 2.16 นิ้ว
3.ถ้างายาว 96 นิ้ว ความสูงที่แตกต่างกันไม่ควรเกิน 2.88 นิ้ว