͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เวิลด์แบงก์-IMF ร้อง G20 ช่วยบรรเทาหนี้ประเทศรายได้น้อย  (อ่าน 468 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Fern751

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15944
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
กลุ่มธนาคารโลก และ องค์กรการเงินระหว่างประเทศ ร้อง G20 ออกมาตรการบรรเทาการชำระหนี้ ให้ประเทศกลุ่มรายได้น้อย
        วันนี้ ( 26 มี.ค.63) กลุ่มธนาคารโลก และ องค์กรการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้กลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือ จี20 ออกมาตรการบรรเทาการชำระหนี้ให้กับประเทศยากจนในนามกลุ่มสมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Association : IDA) เพื่อช่วยให้ประเทศเหล่านี้สามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

        โดย ในแถลงการของ เวิลด์แบงก์ และ IMF ระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและภาคสังคมของประเทศที่ยากจนที่สุด    ดังนั้น "เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมายระดับประเทศของกลุ่มประเทศผู้ให้กู้    เราขอเรียกร้องให้ประเทศผู้ให้กู้ทั้งหมดระงับการชำระหนี้ชั่วคราว  ให้กับประเทศในกลุ่ม IDA ที่กำลังเผชิญความยากลำบาก โดยเร็วที่สุด"

          วิธีการนี้จะช่วยให้แก้ปัญหาสภาพคล่องให้กับประเทศในกลุ่ม IDA ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเปิดโอกาสให้ประเทศเหล่านั้นได้มีเวลาในการประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์วิกฤตและความต้องการทางการเงินของพวกเขา" แถลงการณ์ระบุ

          ทั้งนี้ กลุ่ม G20 ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 โดยเป็นรวมกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกเพื่อร่วมมือกันในด้านการเงินและเศรษฐกิจ ประกอบด้วย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล อังกฤษ แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป

          นอกจากนี้ เวิลด์แบงก์ และ IMF ยังเชิญชวนให้ผู้นำประเทศในกลุ่ม G20 ร่วมมือกันเพื่อประเมินปัญหาต่างๆ เช่นการระบุรายชื่อประเทศที่มีสถานการณ์หนี้สินไม่ยั่งยืน และเตรียมข้อเสนอสำหรับการดำเนินการที่ครอบคลุมโดยกลุ่มเจ้าหนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการเงินและบรรเทาหนี้สินให้กับประเทศ IDA

          แถลงการณ์ระบุว่า ทั้งสององค์กรจะรับรองข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการพัฒนา, คณะกรรมาธิการร่วมของคณะกรรมการเวิลด์แบงก์ และ IMF ในการประชุมประจำฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งมีกำหนดการจัดขึ้นในวันที่ 16-17 เมษายนนี้