͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: รีบหาแนวทางรับมือ โควิด-19 ในวันที่ยังไม่รู้จะจบอย่างไร  (อ่าน 310 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16766
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
มีการประกาศล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันเดียวพุ่งกระโดดเกินร้อย และก็ไม่รู้มีผู้รอตรวจคัดกรองอีกเท่าไร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัส เพราะเชื้อมันอยู่ในพวกเสมหะ น้ำลาย น้ำมูก ซึ่งเวลาไอจามมันแพร่กระจายไปติดอยู่ตามข้าวของต่างๆ

ณ ขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ มีการประกาศล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันเดียวพุ่งกระโดดเกินร้อย และก็ไม่รู้มีผู้รอตรวจคัดกรองอีกเท่าไร นาทีนี้ถึงแม้หลายคนจะบ่นด่ารัฐบาลว่าห่วย แต่อยากให้มองในมุมบวกบ้างเพื่อลดความวิตกกังวล ว่า ยอดผู้ติดเชื้อไทยยังไม่ได้ติดอันดับทอปเทนที่พุ่งมาทีวันละเกือบพัน หรือตายทีวันละหลายร้อยแบบประเทศในยุโรป และอเมริกาก็ยอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่เราต้องช่วยเหลือตัวเองกันก็คือ “ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตัวตามที่หมอสั่ง” ไม่ใช่ทำอะไรตามใจ หรือชอบอะไรประเภทกฎมีไว้แหก เพราะมันเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพระดับตายได้ สำคัญคือรักษาความสะอาดมาก ๆ มีบทความจากนักข่าวฝรั่งที่เข้าไปทำข่าวในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นต้นตอของการระบาด (ขณะนี้คุมสถานการณ์ได้แล้ว) เล่าถึงบทเรียนในการป้องกันตัวเองไว้ไม่ให้ติด ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องความสะอาดล้วนๆ



เป็นบทความของนักข่าวชื่อ Laurie Garrett อธิบายไว้ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัส เพราะเชื้อมันอยู่ในพวกเสมหะ น้ำลาย น้ำมูก ซึ่งเวลาไอจาม มันแพร่กระจายไปติดอยู่ตามข้าวของต่าง ๆ ดังนั้น การใช้ถุงมือเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการหยิบจับอะไรก็ตาม และที่สำคัญคือจะหยิบจะจับอะไรก็ห้ามใช้มือเปล่าสัมผัสหน้าเด็ดขาด การทักทายอะไรก็ต้องเว้นระยะห่าง ไม่จับมือ พวกผ้าขนหนู, เสื้อผ้าใช้แล้วรีบซักตากให้แห้ง อย่าใช้ซ้ำบ่อย

พยายามอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเท อย่าอยู่ในที่อับ อย่าเลือกกินเนื้อสัตว์อะไรแปลก ๆ ที่เราไม่รู้ว่าจะแพร่เชื้ออะไรหรือเปล่า ( เพราะโรคระบาดอุบัติใหม่ทั้งซาร์ส, เมอร์ นี่มีสมมุติฐานว่ามาจากการรับเชื้อโรคแปลก ๆ จากการกินสัตว์ป่าทั้งนั้น ) การกินอาหารไม่ใช่กินร้อน ช้อนกลางแล้ว แต่สำรับใคร สำรับมันไปเลย กรณีรักษาความสะอาดนี่ต้องเคร่งครัดในขณะที่หน้ากากอนามัยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในขณะนี้



มีคนตั้งคำถามว่า “หน้ากากอนามัยที่พาณิชย์บอกเพิ่มกำลังการผลิต หายไปไหนหมด ?” ถ้าตอบให้โลกสวยคือ จำนวนมากมันต้องส่งไปใช้ในโรงพยาบาล ในทางการแพทย์ เพราะมันไม่ใช่แค่โควิดโรคเดียวที่ต้องใช้ หมอผ่าตัดหมออื่น ๆ ก็ต้องใช้ อีกส่วนหนึ่งมันถูกส่งไปยังอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็น เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ถ้าไม่มีการรักษาความสะอาดอย่างใส่หมวกใส่หน้ากากขณะผลิต มันก็ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนถ้ามีโกง ก็ขอให้รีบเชคบิล

ตอนนี้ช่วยตัวเองได้ก็ต้องช่วยไปก่อน อย่าคิดว่า เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบอย่างเดียว ถ้าคนไม่มีวินัยมันก็แก้ปัญหาไม่ได้  เขาขอความร่วมมือให้อยู่ห่างๆ กันอย่าสังคม เพราะขณะนี้มันก็ดูเหมือนเข้าสู่ภาวะเฟสสามกลาย ๆ แล้ว คือไม่รู้ว่าติดมาจากไหน ( คาดว่าจุดเริ่มต้นของการ super spread น่าจะมาจากสนามมวยและสถานบันเทิง) พอเขาปิดสถานบันเทิงก็ไม่ใช่นัดรวมตัวกันกินเหล้าที่อื่น หรือร่อนไปทั่วจนติดมาก็ไม่รู้ติดจากไหน



สถานการณ์ในโรงพยาบาลก็ใช่ว่าจะดี ล่าสุดเห็นประกาศของโรงพยาบาลรามาธิบดีบอกน้ำยาเพื่อตรวจเชื้อชักจะไม่พอ และโรงพยาบาลเองก็ต้องขอเงินบริจาค ห้องเก็บกักผู้ติดเชื้ออะไรก็ไม่ค่อยพอ สถาบันบำราศนราดูรไม่สามารถรับเคสเพิ่มได้แล้ว ถึงไม่ชอบรัฐบาล การระวังตัวก็ถือว่าเป็นการช่วยหมออีกทางหนึ่ง โรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ แต่การกักตัว 14วัน ไม่รับเชื้อเพิ่ม แล้วไม่แสดงอาการ ก็มีโอกาสที่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานได้

ถามว่าจะต้องระวังตัวไปถึงเมื่อไร ก็ตอบได้แค่ว่า “จะปลอดภัยคือต้องรอให้คิดค้นวัคซีนป้องกันและยารักษาได้ชัดเจนก่อน” ซึ่งไม่รู้ว่าระยะการทดลองมันจะยาวนานแค่ไหน รักษาสุขภาพไว้ก่อนเถอะดี ออกกำลังกายเท่าที่ทำได้ กินอาหารมีวิตามินซีที่ต้านทานหวัด  ถ้ามีผู้ติดเชื้อเพิ่ม มาตรการในการเฝ้าระวังของรัฐบาลก็จะต้องแรงขึ้นเพื่อป้องกันการ super spread ไปทั่วประเทศ และก็ส่งผลกระทบในวงกว้างอีก

พูดก็พูดเถอะว่า มาตรการของรัฐบาลตอนนี้มันก็เหมือนยกระดับวันต่อวันอยู่ เพราะแป๊บๆ ก็มีประกาศโครมลงมาเพื่อปิดพื้นที่ที่มีการชุมนุม มีการท่องเที่ยวแบบไม่ทันให้ผู้ประกอบการได้ตั้งตัวเท่าไร อย่างเมื่อวันเสาร์ที่ 21 มี.ค.ก็ออกมาตรการโครมลงมาเลยว่า ห้างสรรพสินค้ายกเว้นส่วนจำหน่ายยาและอาหารก็ต้องปิด ก่อนหน้านั้นก็มีพื้นที่ที่ประกาศไปก่อนแล้วอย่างสถานบันเทิง ร้านนวด โรงหนังต้องปิด ไม่รู้ว่าไอ้ที่ปิดก่อนจะขยายปิดถึง 12 เม.ย.หรือเปล่า



บางทีการไม่สื่อสารแบบโยนหินถามทางก่อน ก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลมาก ไปถาม ๆ คนที่เขากักตุนสินค้า ทั้งที่ร้านสะดวกซื้อยังเปิดว่า กักตุนเพราะอะไร เขาก็บอกว่าเขาไม่มั่นใจว่า มาตรการจะยกระดับอะไรแค่ไหน ถ้าสูงสุดจริง ๆ ถึงขั้นเคอร์ฟิวส์ห้ามออกจากบ้าน อันนั้นแหละถ้าไม่มีกักตุนจะเดือดร้อน รัฐบาลต้องจัดทีมส่งเสบียงตามบ้านต่าง ๆ แบบตอนน้ำท่วมกันบ้างแหละ ดังนั้นขอทำอะไรให้อุ่นใจกันไว้ก่อนก็ดี

สิ่งที่ผู้ประกอบการ แรงงาน วิตกกังวลกันมากคือ “มาตรการปิดสถานประกอบการ กักตัวมันจะต่อยาวไปถึงแค่ไหน” มันส่งผลกระทบต่อประชาชนมาก ผู้ประกอบการสถานบริการ , ร้านค้าขนาดเล็กบางที่ก็ไม่มีค่าเช่าร้าน แล้วพวกแรงงานอีก พนักงานที่มีประกันสังคมดูแล รัฐก็อาจช่วยเยียวยาระดับหนึ่งแต่ต้องรัดเข็มขัดกันไปก่อน ลูกจ้างที่ไม่เข้าประกันสังคม เจ้าของกิจการก็ต้องดูแล แต่ถ้าจะกักให้โรคอยู่แค่ใน กทม.รัฐบาลต้องบอกมาตรการให้คนอุ่นใจ



พอคนไม่มีงานทำใน กทม. ก็อยากกลับไปอยู่ต่างจังหวัดเพราะค่าใช้จ่ายมันน้อย ไปอยู่กับครอบครัว บ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ แต่รัฐบาลเองก็ไม่อยากให้มีการรวมตัวกันตามที่ขนส่ง หรือรวมตัวกันบนยานพาหนะ แล้วบังเอิญมีคนเป็นพาหะติดโรคไป กระจายต่อโดยที่ตัวพาหะไม่แสดงอาการ ถ้าจะให้กักตัวอยู่ กทม. กระทรวงที่ต้องมีแอคชั่นคือกระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง หรือ ครม. ที่จะต้องบอกมาตรการช่วยเหลือฉุกเฉิน

การต้องใช้เงินช่วยเหลือมหาศาล ดูเหมือนจะไม่ใช่ใช้แค่รอเยียวยาหลังวิกฤตการณ์แล้ว แต่ต้องเริ่มคิดเริ่มทำ ว่าผันงบจากตรงไหนมาได้บ้าง งบกลางมีอยู่ส่วนหนึ่ง แต่อาจต้องใช้สนับสนุนเรื่องหมอ เวชภัณฑ์อะไรต่าง ๆ มาก เห็นข้อเสนอของนายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ก็น่าสนใจดีทำนองว่า สำรวจงบประมาณบางตัวที่ไม่จำเป็นของแต่ละกระทรวงแล้วออกเป็น พ.ร.ก.ผันงบเหล่านั้นออกมาใช้ในเรื่องที่จำเป็นก่อน

ส.ส.หลายคนก็เห็นว่า น่าจะมีการเปิดสภาเพื่อรับฟังความเห็น แต่ชักจะไม่ค่อยเห็นด้วยเพราะกลัวจะเล่นเกมการเมืองโจมตีกันอีก เมื่อเขาใช้วิธีไม่ให้มีการชุมนุมกัน การเสนอความเห็นอะไรก็ใช้ช่องทางรับฟังความเห็นของรัฐบาลได้ เห็นข่าวไม่กี่วันก่อนนายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง คิดว่าจะเปิดเพจรับปัญหาจากผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อนำมาประเมินเป็นมาตรการช่วยเหลือ ส.ส.ก็ใช้ช่องทางนั้นเสนอความเห็นไปก็ได้ ถ้าหวังดีแบบไม่ต้องเอาซีน

นาทีนี้ต้องสร้างพลังสามัคคี ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เข้าใจ เห็นอกเห็นใจกัน ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์.
........................................
คอลัมน์ : ที่เห็นและเป็นอยู่
โดย “บุหงาตันหยง”