͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.เผยไทยติด โควิด เพิ่มขึ้นเท่าตัว ผงะ!มี 108 ราย ไม่รู้ติดเชื้อจากที่ไหน  (อ่าน 426 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Cindy700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15687
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
สธ.เผยไทยติด โควิด เพิ่มขึ้นเท่าตัว ผงะ!มี 108 ราย ไม่รู้ติดเชื้อจากที่ไหน เผยสถานการณ์โควิดในไทย พบติดเชื้อใหม่ 188 ราย สูงขึ้นเกือบเท่าตัวในตจว. 127 ราย


โควิด / เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลกแพร่ระบาดใน 186 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษและ 1 เรือสำราญ พบผู้ป่วยยืนยัน สะสม 306,677 ราย ผู้ป่วยวิกฤต 9,382 ราย คิดเป็นร้อย 3.1 รักษาหายจำนวน 94,798 ราย คิดเป็นร้อยละ 30 เสียชีวิต 13,017 ราย

กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในหลักพัน ได้แก่ อิตาลี 6,557 ราย สหรัฐอเมริกา 9,407 ราย สเปน 5,084 ราย เยอรมนี 3,570 ราย อิหร่าน 966 ราย ฝรั่งเศส 3,464 ราย เกาหลีใต้ 147 ราย สวิตเซอร์แลนด์ 1,699 ราย และอังกฤษ 1,749 ราย ซึ่งเป็นประเทศแถบทางยุโรป เป็นส่วนใหญ่



ทั้งนี้ สธ.เผยพบผู้ติดเชื้อโคโรนา 2019 ใหม่เพิ่ม 188 ราย กลับบ้าน 1 ราย ล่าสุดส่งหนังสือด่วนถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย อธิบดีกรมขนส่งทางบก ขอความร่วมมือ คัดกรองผู้เดินทางทุกคน



ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อแบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 65 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย 21 ราย กลุ่มสถานบันเทิง 5 ราย กลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 37 ราย และกลุ่มที่เข้าร่วมพิธีทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย 2 ราย



กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 15 ราย ได้แก่ กลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศ/ชาวต่างชาติ 8 ราย(ใน จำนวนนี้มีหลายรายที่มีประวัติเดินทางกลับจากเที่ยวผับปอยเปต ที่ประเทศกัมพูชา สัมผัสผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้) กลุ่มผู้ทำงานหรืออาศัยในสถานที่แออัดต้องใกล้ชิดคนจำนวนมาก หรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ 7ราย

กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ได้รับผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อแต่อยู่ระหว่างรอสอบสวนโรค 108 ราย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า จากการคัดกรองในประเทศไทยทุกด่าน สะสม 5,954,621 ราย แผนที่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระจายตัวทั่วประเทศไทย ข้อมูล วันที่ 21 มีนาคม จำนวน 411 ราย แบ่งเป็น 1.กรุงเทพมหานคร (กทม.) 284 ราย 2.จ.สมุทรปราการ 18 ราย 3.จ.ภูเก็ต 13 ราย 4.จ.ปัตตานี 11 ราย 5.จ.นนทบุรี 9 ราย 6.จ.เชียงใหม่ 8 ราย 7.จ.ชลบุรี จ.นราธิวาส จ.ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดละ 6 ราย 8.จ.สุราษฎร์ธานี จ.สงขลา จังหวัดละ 5 ราย 9.จ.ยะลา จ.ปทุมธานี จังหวัดละ 4 ราย 10.จ.นครราชสีมา จ.กาญจนบุรี จ.สุรินทร์ จังหวัดละ 3 ราย

11.จ.กระบี่ จ.สมุทรสาคร จ.อุบลราชธานี จังหวัดละ 2 ราย 12.จ.เพชรบูรณ์ จ.กาฬสินธุ์ จ.ขอนแก่น จ.นครปฐม จ.นครศรีธรรมราช จ.ร้อยเอ็ด จ.สระบุรี จ.สุโขทัย จ.สุพรรณบุรี จ.นครนายก จ.นครสวรรค์ จ.บุรีรัมย์ จ.ปราจีนบุรี จ.มุกดาหาร จ.ระยอง จ.ลพบุรี จ.ศรีสะเกษ จ.สมุทรสาคร จังหวัดละ 1 ราย ขณะนี้ประเทศไทยพบผู้ป่วยในจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในต่างจังหวัด 127 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบเท่าตัว

โฆษก สธ. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมา มีคำสั่งจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในลักษณะของการปิดสถานบริการต่างๆ และมีแนวโน้มว่าประชาชนที่เป็นแรงงานในกรุงเทพมหานคร จะเคลื่อนย้ายออกไปยังส่วนภูมิภาคซึ่งอาจจะส่งผลให้มีการแพร่กระจายโรคที่มากขึ้น

ทั้งนี้ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้ส่งหนังสือด่วนที่สุด โดย นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ในฐานะเลขานุการ ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ขอความร่วมมือจัดทำแผนปฏิบัติการค้นหา เฝ้าระวัง และป้องกันโรคระดับอำเภอและหมู่บ้าน หลังจากที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เนื่องจากพบการเพิ่มของจำนวนผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประชาชนส่วนหนึ่งเดินทางเพื่อกลับภูมิลำเนา โดยให้ทุกจังหวัดดำเนินการ ดังนี้

1.จัดตั้งทีมอาสา “โควิด-19” ระดับอำเภอและหมู่บ้านเพื่อดำเนินการค้นหาและเฝ้าระวัง

2.จัดทำฐานข้อมูลของผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มาถึงภูมิลำเนา ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป

3.ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เดินทางกลับมาจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อแยกตัวสังเกตอาการไข้และอาการทางเดินหายใจทุกวัน และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้อื่นในที่พำนักหรือที่พักอาศัยจนครบ 14 วัน นับจากวันที่เดินทางมาถึงภูมิลำเนา

4.แจ้งผู้เดินทางกลับมาจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้ ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน ผ้าห่ม แก้วน้ำ ซ้อนส้อม ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการพูดคุย ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง หากมีไข้และอาการทางเดินหายใจ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าและรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยทันที

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังส่งหนังสือขอความร่วมมือไปยังผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย อธิบดีกรมขนส่งทางบก คัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางออกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ให้ทำความสะอาดสถานี ยานพาหนะก่อนและหลังเดินทาง เน้นพื้นที่สัมผัสร่วม เช่น ราวจับบันได ประตู ห้องน้ำ เก็บบันทึกข้อมูลผู้เดินทาง ลดความแออัดผู้โดยสาร จัดที่นั่งให้เว้นระยะห่าง ให้คำแนะนำผู้โดยสารเรื่องการป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่อถึงเดินทางถึงสถานีปลายทางหากพบผู้โดยสารมีไข้ ไอ และอาการระบบทางเดินหายใจให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อรายงานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่