͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ผนึกเครือข่ายสหกรณ์รับมือ โควิด-19 กระตุ้นบริโภค ในประเทศ แทนส่งออก  (อ่าน 503 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Chanapot

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14700
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
        จากการประเมินสถานการณ์โรคไวรัสโควิด -19 แพร่ระบาดหนักในประเทศจีนและอีกหลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีน โดยเฉพาะผลไม้ ทั้งทุเรียน มังคุดและลำไย ซึ่งแต่ละปีทางประเทศจีนมีปริมาณการสั่งซื้อผลไม้เหล่านี้จากไทยจำนวนมาก ดังนั้นกระตุ้นการบริโภคผลไม้ภายในประเทศ จึงเป็นออกที่ดีที่สุดในเวลานี้ โดยจะใช้เครือข่ายสหกรณ์ทั่วประเทศเป็นกลไกในการระบายผลไม้สู่ตลาด ในทุกพื้นที่และเข้าถึงผู้บริโภค ในราคาที่เป็นธรรม       ภายหลังที่มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เรียกตัวแทนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่รวบรวมผลไม้ 79 แห่ง 29 จังหวัดเพื่อประชุมหารือในการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว



   

              อย่างไรก็ตามขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำแผนเพื่อขอเงินอุดหนุน จากรัฐบาลเพื่อบริหารจัดการผลไม้ผ่านระบบสหกรณ์ วงเงิน 414.20 ล้านบาท โดยให้สหกรณ์ต้นทางใช้เป็นค่าบริหารจัดการผลไม้ กิโลกรัมละ 1 บาท ค่าขนส่ง จากแหล่งรวบรวมไปสหกรณ์ปลายทาง กิโลกรัมละ 2 บาท ค่าจัดซื้อบรรจุภัณฑ์ เช่น ตะกร้า กล่อง จำนวน 3.5 ล้านใบ และค่าบริหารจัดการของสหกรณ์ปลายทางเพื่อกระจายผลไม้สู่ผู้บริโภคในพื้นที่ กิโลกรัมละ 50 สตางค์ และจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์บริโภคผลไม้ ในจังหวัดใหญ่ ๆ  เช่น นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี เชียงใหม่ สงขลา สุราษฎร์ธานี กรุงเทพฯ รวม 16 จังหวัดและระดับอำเภอ 824 อำเภอ



            จากนั้นกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางการค้าผลไม้ร่วมกันระหว่างสหกรณ์ผู้ผลิตผลไม้ ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด สหกรณ์การเกษตรมะขาม จำกัด สหกรณ์การเกษตรเมืองขลุง จำกัด สหกรณ์การเกษตรนายายอาม จำกัด จ.จันทบุรี สหกรณ์การเกษตรเขาสมิง จำกัด และสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคการเกษตรจังหวัดตราด จำกัด จ.ตราด สหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร จำกัด สหกรณ์การเกษตรเมืองสุราษฎร์ธานี จำกัด จ.สุราษฎร์ธานี สหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด จ.นครศรีธรรมราช สหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด จังหวัดอุตรดิตถ์ และสหกรณ์การเกษตรประตูป่า จำกัด จ.ลำพูน กับสหกรณ์เครือข่ายผู้รับซื้อผลไม้จากจังหวัดต่าง ๆ อาทิ สหกรณ์การเกษตรพิมาย จำกัด จ.นครราชสีมา สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด จ.ร้อยเอ็ด สหกรณ์ออมทรัพย์กรมศุลกากร จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด และชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ที่จะรับซื้อผลไม้จากสหกรณ์ชาวสวนผลไม้ในภาคตะวันออก ภาคใต้และภาคเหนือ เพื่อนำไปกระจายสู่ผู้บริโภคในทุกพื้นที่



              นอกจากนี้ ยังมีการทำข้อตกลงซื้อขายผลไม้ระหว่างสหกรณ์ชาวสวนผลไม้กับห้างโมเดิร์นเทรด ได้แก่ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (ห้างเทสโก้โลตัส) บริษัท สยามแมคโคร จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซนทรัล ฟู้ดรีเทล จำกัด (ท๊อปซูเปอร์มาเก็ต) และบริษัทผู้ส่งออก ได้แก่ บริษัท ริชฟิลด์ เฟรชฟรุ๊ต จำกัด โดยความร่วมมือดังกล่าวคาดหวังว่าจะมีการกระจายผลไม้ผ่านเครือข่ายสหกรณ์ คู่ค้าเอกชน ทั้งห้างโมเดิร์นเทรด ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการ ในการช่วยกันระบายผลผลิตสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ป้องกันปัญหาผลผลิตกระจุกตัวในช่วงที่ออกมาพร้อมกัน และช่วยเพิ่มช่องทางกระจายผลไม้ให้ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาเป็นธรรม

             ศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการทำข้อตกลงซื้อขายผลไม้ระหว่างสหกรณ์ชาวสวนผลไม้ในครั้งนี้ว่าเนื่องด้วยมีการคาดการณ์ว่า ปี 2563 ผลไม้ฤดูกาลจะมีผลผลิตจำนวนมาก และส่วนใหญ่กระจุกตัวภายในประเทศ ด้วยผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้การส่งออกลดลง แม็คโคร ในฐานะผู้นำธุรกิจค้าส่งที่สนับสนุนผลผลิตเกษตรกรไทยมาโดยตลอด จึงได้วางแผนการรับซื้อเพิ่มขึ้น และได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการรับซื้อผลไม้จากชาวสวนกับสองกระทรวงหลักอย่าง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมจัด “เทศกาลผลไม้ฤดูกาลภาคตะวันออก” ทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อให้คนไทยช่วยกันอุดหนุนผลผลิตชาวสวน

    “ในภาวะเช่นนี้ทุกคนต้องช่วยกัน แม็คโครขอเป็นแรงสนับสนุนด้านการตลาดให้เกษตรกร ผ่านการรับซื้อ กระจายผลผลิต เพื่อไม่ให้เกิดภาวะล้นตลาด ราคาสินค้าตกต่ำ โดยจัดโปรโมชั่นและกิจกรรมรณรงค์บริโภคผลไม้ภายในประเทศตลอดทั้งปี เริ่มจากงานเทศกาลผลไม้ฤดูกาล ภาคตะวันออก ที่จัดขึ้นในทุกสาขาของแม็คโครตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน ”

         สำหรับในปี 2563 นี้ แม็คโคร ตกลงรับซื้อผลไม้ตามฤดูกาลจากเกษตรกรในภาคต่างๆ มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 40 เปอร์เซนต์ อาทิ เงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกอง สละ จากสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออก ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรนายายอาม ,สหกรณ์การเกษตร เมืองขลุง, สหกรณ์การเกษตรมะขาม ,สหกรณ์การเกษตรคิชฌกูฎ,วิสาหกิจชุมชน ปัฎวี จำนวนกว่า 4,000 ตัน ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดการณ์ว่า ปี 2563 ประเทศไทยจะมีปริมาณผลไม้ออกสู่ตลาด รวม 3,072,591 ตัน โดย 84 เปอร์เซนต์ของปริมาณผลไม้ทั้งหมด คือ ทุเรียน ลำไย และมังคุด

      “แม็คโครหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ให้มีช่องทางในการจำหน่าย ขายผลผลิตได้ในราคาเป็นธรรม สร้างรายได้ที่มั่นคงอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรชาวสวนของไทยและเราจะก้าวข้ามวิกฤตินี้ไปด้วยกัน”ศิริพร กล่าว    

 

       พิริยะ กมลเดชเดชา รองประธานฝ่ายจัดซื้อสินค้าประเภทอาหารสด บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ห้างค้าปลีกในกลุ่มบีเจซี เผยถึงความร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสหกรณ์ผู้ผลิตผลไม้ สหกรณ์เครือข่าย ผู้ประกอบการภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ เพื่อรับซื้อผลไม้ฤดูกาลจากเกษตรกรในปี 2563 ว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรจากสถานการณ์ปัจจุบันที่เกษตรกรผลไม้ไทยจะประสบปัญหาด้านการส่งออกและการลดลงของนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้บริโภคผลไม้ไทย ให้มีช่องทางในการจำหน่าย กระจายผลไม้คุณภาพดีไปยังผู้บริโภค ขายผลผลิตได้ในราคาเป็นธรรม และสร้างรายได้ที่มั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรชาวสวนของไทย

         ทั้งนี้บิ๊กซี ในฐานะผู้นำธุรกิจค้าปลีกที่อยู่เคียงข้างเกษตรกรไทยมาโดยตลอด ในปีนี้ได้ให้การสนับสนุนรับซื้อผลไม้ไทยจากภาคตะวันออกจากเกษตรกรโดยตรง จากสหกรณ์การเกษตรเมืองขลุง จำกัด กลุ่มเกษตรกรผลไม้จังหวัดจันทบุรี เพื่อนำผลไม้ฤดูร้อนที่สด อร่อย ราคาประหยัดมาบริการลูกค้าในบิ๊กซี ทุกสาขาทั่วประเทศ

         อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าในเดือนเมษายน 2563 นี้ผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออกจะเริ่มออกสู่ตลาดช่วงแรกประมาณ 200,000 ตัน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมเกษตรเชิงท่องเที่ยวในสวนผลไม้ มหกรรมสินค้าสหกรณ์ที่เน้นจำหน่ายผลไม้ รวมทั้งปรับระบบช่องทางการจำหน่ายผลไม้ จากช่องทางปกติ เป็นการขายแบบตลาดออนไลน์ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะขอความร่วมมือหน่วยงานในสังกัด และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ และเอกชนเข้ามาร่วมด้วย