͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 32.55 ระหว่างวันค่อนข้างผันผวน จับตาสถานการณ์รัสเซีย  (อ่าน 21 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ PostDD

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14907
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 32.55 ระหว่างวันค่อนข้างผันผวน จับตาสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนช่วงสุดสัปดาห์

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 32.55 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ ระดับ 32.59 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.42 - 32.62 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทช่วงบ่ายกลับมาอ่อนค่า ทิศทางเดียวกับภูมิภาค ระหว่างวันเงินบาทผันผวน จากแรงซื้อแรงขาย ซึ่งตลาดจับ ตาประเด็นรัสเซีย-ยูเครน เป็นหลัก

"วันนี้บาทผันผวน เคลื่อนไหวถึง 20 สตางค์ จากปัจจัยเรื่องรัสเซีย-ยูเครน" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 32.45 - 32.65 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ ต้อง ติดตามดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนม.ค. ของสหรัฐฯ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใช้เป็นมาตร วัด จึงอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดได้ นอกจากนี้ยังต้องจับตาดูสถานการณ์ยูเครนในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ว่าจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือ ไม่

ล่าสุด THAI BATH SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 32.5279 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 115.27 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 115.45 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1176 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1197 ดอลลาร์/ยูโร
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผย เศรษฐกิจไทยม.ค.65 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชน และภาค
การท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนักท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
เนื่องจากมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (RSI) ก.พ.65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก
เดือนก่อนหน้าหลายภูมิภาค สะท้อนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้น ทั้งในภาคเกษตร และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก
PwC เผยผลสำรวจ CEO ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในระดับสูงที่สุดในรอบ 10
ปี โดย 76% คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกปีนี้จะแข็งแกร่งขึ้น ขณะที่มีเพียง 17% เท่านั้น ที่คาดว่าสภาวะเศรษฐกิจจะเลวร้ายลง แม้จะมี
อุปสรรคมากมาย อาทิ แรงกดดันจากการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 และสภาวะตลาดทั้งอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น การหยุดชะงักของ
ห่วงโซ่อุปทาน และกระแสการลาออกจำนวนมากของพนักงาน
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดกำลังเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. แม้
ความตึงเครียดทางการเมืองในยูเครนจะทวีความรุนแรงขึ้นก็ตาม
ธนาคารกลางยูเครน (NBU) สั่งระงับการโอนเงินทางระบบดิจิทัล โดยเป็นมาตรการหนึ่งในกฎอัยการศึกที่รัฐบาลประกาศ
ใช้ทั่วประเทศ ส่งผลให้ชาวยูเครนบางส่วนหันไปใช้สกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซีแทน
ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ประกาศว่า สหภาพยุโรป (EU) ตัดสินใจออกมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อรัส
เซีย หลังรัสเซียเปิดปฏิบัติการบุกโจมตียูเครน โดยการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรชุดใหม่นี้ จะทำให้รัสเซียไม่สามารถซื้อเทคโนโลยีเพื่อ
ปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันหรือซื้ออะไหล่สำรองสำหรับเครื่องบินได้
สัปดาห์หน้าสหรัฐฯ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.พ.จาก ADP, รายงานสรุป
ภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัด
ซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนก.พ., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ดัชนี
ภาคบริการเดือนก.พ.