͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: วิจัยกสิกรฯคาดเฟดยังไม่ส่งสัญญาณเพิ่มในการประชุมสัปดาห์หน้า  (อ่าน 69 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14271
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
วิจัยกสิกรฯคาดเฟดยังไม่ส่งสัญญาณเพิ่มในการประชุมสัปดาห์หน้า,ตลาดรับรู้ขึ้นดอกเบี้ยมี.ค.แล้ว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) วันที่ 25-26 ม.ค. คาดเฟดยังไม่ส่งสัญญาณอะไรเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมี.ค. ซึ่งตลาดได้รับรู้ไปแล้ว

ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวอย่างต่อเนื่องและตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่เข้าสู่ระดับเต็มศักยภาพ (Full employment) คาดว่าเฟดคงเริ่มวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมี.ค 2565 ตามที่เจ้าหน้าที่เฟดหลายคนได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้านี้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนธ.ค. 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปีที่ 7.0% YoY ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งสูงขึ้นที่ 5.5% YoY ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 30 กว่าปี ทั้งนี้ ปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานและปัญหาขาดแคลนแรงงานในสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะยังไม่คลี่คลายลงในระยะเวลาอันใกล้
ขณะที่นโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดที่เพิ่มสูงขึ้นในจีนอาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของจีนและยิ่งซ้ำเติมปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานโลก นอกจากนี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มที่จะยืนอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องไปอย่างน้อยจนสิ้นสุดไตรมาส 1/2566 ท่ามกลางอุปทานที่ยังตึงตัวและความเสี่ยงจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกที่มีความตึงเครียดขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปในระยะข้างหน้า

ตลาดแรงงานสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราว่างงานเดือนธ.ค. 2564 ลดลงมาสู่ระดับต่ำกว่าระดับ 4.0% ที่ 3.9% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ได้เข้าสู่ระดับเต็มศักยภาพ (Full employment) และเข้าใกล้ระดับก่อนโควิด ทั้งนี้ แม้ว่าตัวเลขยอดขอรับสวัสดิการว่างงานสัปดาห์ก่อนหน้า (9-15 ม.ค.) จะออกมาน่าผิดหวัง โดยยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกันและแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน โดยอยู่ที่ระดับ 286,000 ราย แต่คาดว่าเป็นผลกระทบชั่วคราวจากการแพร่ระบาดของโอมิครอนที่ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นและส่งผลกระทบให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสะดุดลงบ้าง อย่างไรก็ดี ในภาพรวมตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งอยู่ ขณะที่ เนื่องจากสายพันธุ์โอมิครอนมีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า ดังนั้นผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอาจมีไม่มากนัก
ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่หลายคนของเฟดแสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. เพื่อสกัดเงินเฟ้อ อาทิ นางลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในคณะผู้ว่าการเฟด นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก นายจอห์น วิลเลี่ยม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก นางแมรี ดาลี ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก นายแพทริค ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย นายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ นางลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ ดังนั้น คาดว่าเฟดจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมี.ค. ตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้
 ในการประชุมนโยบายการเงินที่จะถึงนี้ คาดว่าเฟดจะยังคงไม่ส่งสัญญาณอะไรเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมี.ค. ซึ่งได้ส่งสัญญาณไปแล้วก่อนหน้านี้และตลาดรับรู้ไปแล้ว เพื่อรอดูแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อท่ามกลางความไม่แน่นอนที่ยังมีอยู่ ทั้งในประเด็นของความเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การแพร่ระบาดของโควิด และปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานโลก ขณะที่คงต้องติดตามการประชุมนโยบายการเงินครั้งหน้าในเดือนมี.ค. ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก
อีกทั้งในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนมี.ค. จะมีการเผยแพร่ประมาณการเศรษฐกิจและประมาณการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Dot Plot) ซึ่งตลาดคงจะต้องติดตามว่าเฟดจะมีการปรับจุดยืนในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจาก 3 ครั้งเป็น 4 ครั้งในปีนี้ตามที่ตลาดบางส่วนมีการคาดการณ์หรือไม่ โดยมีแนวโน้มว่าเฟดอาจส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 4 ครั้งในปีนี้ หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งและเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี หากประเด็นความเสี่ยงต่างๆ ด้านเศรษฐกิจมีน้ำหนักมากขึ้น คณะกรรมการเฟดส่วนใหญ่อาจจะยังคงมีมุมมองปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปีนี้

สำหรับผลกระทบต่อค่าเงินบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ตลาดได้รับรู้การส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟดไปแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งหากเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณแข็งกร้าว (hawkish) เพิ่มเติมในการประชุมนโยบายการเงินที่จะถึงนี้ คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุนเท่าใดนัก ขณะที่สถานการณ์โควิดในประเทศ ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนแนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินบาท อย่างไรก็ดี หากเฟดมีการส่งสัญญาณ hawkish มากขึ้นในระยะข้างหน้า ประกอบกับหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเติบโตอย่างร้อนแรง คาดว่าปัจจัยเหล่านี้จะช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์ฯ ทยอยแข็งค่าขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยอาจยังคงมีไม่มากนัก ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยอาจยังอยู่ในระดับที่อ่อนแออยู่ ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้