͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 'อ่อนค่า' ที่ระดับ  32.87 บาท/ดอลลาร์  (อ่าน 87 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16170
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท 'อ่อนค่า'อาจเผชิญแรงขายจากบรรดาผู้ส่งออกที่ขยับออเดอร์มาทยอยขายเงินดอลลาร์ในช่วง 32.90-33.00 บาทต่อดอลลาร์ 

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  32.87 บาทต่อดอลลาร์ 'อ่อนค่า'ลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  32.75 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทยระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทมีแนวโน้มผันผวน แต่อาจแข็งค่าขึ้นได้บ้าง จากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ รวมถึง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่อาจเข้ามาเก็งกำไรแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ผ่านการซื้อบอนด์ระยะสั้น รวมถึงรอซื้อหุ้นไทยที่อาจย่อตัวตามตลาดการเงินโลก หลังจากที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. มีมุมมองต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้น 

นอกจากนี้ เรามองว่า การแข็งค่าของเงินดอลลาร์แตะระดับสูงสุดในรอบปี น่าจะรับรู้ปัญหาเงินเฟ้อไปเยอะพอสมควรแล้ว ทำให้ เราเชื่อว่า เงินดอลลาร์อาจมีการย่อตัวได้บ้างในระยะสั้น ยกเว้นในกรณีที่ตลาดเผชิญปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติม อาทิ การระบาดหนักของ COVID ในช่วงฤดุหนาว ที่เริ่มเห็นยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นทั้งในยุโรปและจีน 


ทั้งนี้ หากเงินบาทอ่อนค่าลง ก็อาจเผชิญแรงขายจากบรรดาผู้ส่งออกที่ขยับออเดอร์มาทยอยขายเงินดอลลาร์ในช่วง 32.90-33.00 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากที่เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น ส่วนผู้นำเข้ายังรอทยอยซื้อเงินดอลลาร์ หากเงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 32.50-32.60 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้เรามองว่า เงินบาทจะปรับโซนการแกว่งตัวมาอยู่ในกรอบ 32.50-33.00 บาทต่อดอลลาร์

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.70-32.90 บาท/ดอลลาร์

ตลาดการเงินพลิกกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูง หลังจากที่ อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม พุ่งขึ้นแตะระดับ 6.2% มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มากและเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 30 กว่าปี ทำให้ตลาดกังวลว่า แนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูง อาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ปรับลดคิวอีในอัตราที่เร็วขึ้นและอาจขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว

ภาพดังกล่าวส่งผลให้ ในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 ย่อตัวลงกว่า -0.82% ส่วนดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ดิ่งลงกว่า -1.66% ตามแรงเทขายหุ้นเทคฯ หลังจากที่บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น กดดันให้ระดับราคาของหุ้นเทคฯ ดูแพงขึ้นมาก


ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยราว +0.10% จากแรงหนุนการอ่อนค่าของเงินยูโร (EUR) ที่หนุนให้ราคาหุ้นของบริษัทที่มียอดขายทั่วโลกต่างปรับตัวสูงขึ้น อาทิ Sanofi +1.4%, Inditex (แบรนด์ Zara) +1.3% อย่างไรก็ดี ดัชนีตลาดหุ้นยุโรปก็ถูกกดดันจากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคฯ เช่นกัน หลังบอนด์ยีลด์ในฝั่งยุโรปก็ปรับตัวขึ้นตามบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ASML -1.6%, Adyen -1.3%, Infineon Tech. 1.0%

 

ในฝั่งตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมามองว่า ธนาคารกลางหลักอาจจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็วขึ้น อาทิ ปรับเร่งอัตราการลดคิวอี หรือ ขึ้นดอกเบี้ย เพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ ล่าสุด บอนด์ยีลด์ระยะยาวทั่วโลก อาทิ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็ปรับตัวขึ้นราว 10bps สู่ระดับ 1.55% เช่นเดียวกันกับ บอนด์ยีลด์ในฝั่งยุโรป อาทิ บอนด์ยีลด์ 10 ปี อังกฤษรวมถึง บอนด์ยีลด์ 10 ปี เยอรมนี ต่างก็ปรับตัวขึ้นราว 5-10bps แตะระดับ 0.92% และ -0.25% ตามลำดับ 

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นหนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 94.85 จุด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปี หลังจากที่ตลาดกลับมากังวลปัญหาเงินเฟ้อมากขึ้น และหนุนให้บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์นั้นได้กดดันให้ สกุลเงินหลัก อาทิ เงินยูโร (EUR) อ่อนค่าหลุดระดับ 1.15 ดอลลาร์ต่อยูโร  ส่วนเงินเยน (JPY) ก็อ่อนค่าลงใกล้ระดับ 114 เยนต่อดอลลาร์ อีกครั้ง

 

อย่างไรก็ดี การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ กลับไม่ได้กดดันราคาทองคำมากนัก โดยราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นใกล้ระดับ 1,870 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนจะย่อตัวลงสู่ระดับ 1,850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อเป็นหลัก อย่างไรก็ดี เราคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจทยอยขายทำกำไรราคาทองคำมากขึ้น เนื่องจาก การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อหลังจากนี้อาจมีไม่มากนัก แต่บอนด์ยีลด์ยังสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวอาจทำให้ Real Yield หรือ Nominal Yield - เงินเฟ้อ ปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อราคาทองคำ 

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอจับตาการประชุมผู้นำระดับสูงพรรคคอมมิวนิสต์จีน ว่าจะมีการสื่อสารเกี่ยวกับทิศทางนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างไรบ้าง รวมถึงแนวโน้มการควบคุมสถานการณ์การระบาดในจีนว่าจะมีการออกมาตรการใหม่ๆ หรือ ไม่ นอกเหนือจากนโยบาย Zero COVID ที่อาจกดดันให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงในช่วงการระบาดระลอกใหม่นี้

 

ทางด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 32.80-32.92 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 32.76 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ได้รับแรงหนุนอย่างแข็งแกร่งจากข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งขยับขึ้นไปที่ 6.2% YoY สูงสุดในรอบ 30 ปี ทั้งนี้ตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวทำให้ตลาดบางส่วนเริ่มประเมินว่า เฟดอาจจำเป็นต้องปรับท่าทีมาเป็นคุมเข้มมากขึ้น (อาทิ ปรับ speed ของการลด QE หรือส่งสัญญาณเรื่องดอกเบี้ย) หากเงินเฟ้อยังสูงต่อเนื่องในระยะข้างหน้า 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 32.75-32.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่  ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ การตอบรับของนักลงทุนต่อตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และการรายงานตัวเลขจีดีพี ไตรมาส 3 ของอังกฤษ