͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: AOT จ่อกู้ กรุงไทย-ออมสิน 2.5 หมื่นล้าน หมุนดำเนินธุรกิจรับเปิดประเทศ  (อ่าน 99 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16766
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
บอร์ด AOT อนุมัติแผนกู้เงิน 2.5 หมื่นล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย-ธนาคารออมสิน เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับปีงบประมาณ 2565 พร้อมหั่นประมาณการผู้โดยสารปีงบประมาณ 2565 เหลือ 62.13 ล้านคน คาดมีผู้โดยสารต่างชาติแค่ 26.28 ล้านคน

วันที่ 20 ตุลาคม 2564 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) หรือ AOT แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติให้ ทอท.กู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน วงเงินรวมไม่เกิน 25,000 ล้นบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการทั่วไป และ/หรือเพื่อดำเนินโครงการ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามที่ ทอท. เห็นสมควร

ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตั้งแต่ต้นปี 2563 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเดินทางทางอากาศ ทำให้จำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท.ลดลงเป็นอย่างมากตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 เป็นต้นมา ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2565 ทอท.จำเป็นต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอก โดยการกู้ยืมเงินจากธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสิน ในวงเงินรวมไม่เกิน 25,000 ล้านบาทดังกล่าว


นอกจากนี้ ทอท. ได้รายงานการปรับประมาณการปริมาณการจราจรทางอากาศ ระหว่างปีงบประมาณ 2565 – 2567 จากการประเมินผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ฉบับเดือนตุลาคม 2564 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ทอท.คาดว่าในปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.2564-ก.ย.2565) จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 483,695 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 62.13 ล้านคน ปีงบประมาณ 2566 จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 768,658 เที่ยวบิน และผู้โดยสารรวม 116.13 ล้านคน และปีงบประมาณ 2567 จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 925,197 เที่ยวบิน และผู้โดยสารรวม 143.05 ล้านคน


ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากการคาดการณ์ประมาณการปริมาณการจราจรทางอากาศข้างต้น โดยอยู่บนสมมติฐานในกรณีที่สถานการณ์ดีที่สุด (Best Case) กล่าวคือ กรณีที่มีการฉีดวัคซีนได้ทั่วโลกตามเป้าหมายและก้าวหน้าเป็นอย่างมาก รวมทั้งสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ทั่วโลก ทำให้ผู้โดยสารมี

ความเชื่อมั่นต่อการเดินทางมากขึ้น ประกอบกับสายการบินปรับตัวได้เร็ว ส่งผลให้ทั้งเที่ยวบินและผู้โดยสารสามารถฟื้นตัวได้เร็ว คาดว่าปริมาณการจราจรทางอากาศจะกลับมาอยู่ในระดับปกติเช่นเดียวกับปีงบประมาณ 2562 (ช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) ในช่วงต้นปีงบประมาณ 2567

แต่ในกรณีที่สถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ (Worst Case) กล่าวคือ กรณีที่เกิดการกลายพันธุ์ของโรค ทำให้ไม่สามารถควบคุมกรระบาดได้ หรือเกิดปัญหาเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนทำให้ผู้โดยสารยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อการเดินทาง ประกอบกับสายการบินปรับตัวได้ช้า และได้รับผลกระทบจากขีดความสามารถการให้บริการที่ลดลงในระดับสูง – ปานกลาง ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการจราจรทางอากาศฟื้นตัวได้ช้ากว่าปกติ คาดว่าปริมาณการจราจรทางอากาศจะไม่สามารถกลับสู่ระดับปกติเช่นเดียวกับปีงบประมาณ 2562 ได้ภายในปีงบประมาณ 2567

2. การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารปีงบประมาณ 2565 ฉบับเดือนตุลาคม 2564 ลดลงจากฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 11.04 ล้านคน โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ จำนวน 26.28 ล้านคน ลดลง 3.06 ล้านคน และผู้โดยสารภายในประเทศ จำนวน 35.85 ล้านคน ลดลง 7.98 ล้านคน ซึ่งเป็นผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ครั้งใหญ่ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา โดยผลการคาดการณ์ปริมาณเที่ยวบินเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับผลการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร