͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: UBE ปิดเทรดต่ำจอง-CPANEL เหนือ IPO 1.30 บาท  (อ่าน 197 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ hs8jai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12750
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
UBE ปิดเทรดต่ำจอง-CPANEL เหนือ IPO 1.30 บาท
« เมื่อ: 02 2021-10-02 2021 04:%i:1633125141 »


"อุบล ไบโอ เอทานอล" เทรดวันแรกปิดที่ 2.06 บาท ต่ำกว่าราคาจอง หรือลดลง 0.34 บาท คิดเป็น 14.17% มูลค่าซื้อขาย 3,047.38 ล้านบาท ด้าน "ซีแพนเนล" คึกสวนทางปิดที่ 7.30 เหนือจอง 1.30 บาท คิดเป็น 21.67% มูลค่าซื้อขาย 814.78 ล้านบาท

วานนี้ หุ้นของบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นวันแรกในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร หมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค เมื่อเปิดตลาดราคาหุ้นอยู่ที่ 2.28 บาท ลดลง 0.12 บาท หรือลดลง 5% จากราคาขาย IPO ที่กำหนดไว้หุ้นละ 2.40 บาท ระหว่างวันราคาหุ้นปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 2.40 บาท ต่ำสุดที่ 2.06 บาท เมื่อปิดตลาดราคาหุ้นอยู่ที่ 2.06 บาท ลดลง 0.34 บาท คิดเป็น 14.17% มูลค่าซื้อขาย 3,047.38 ล้านบาท และหุ้น CPANEL หรือบริษัท ซีแพนเนล จำกัด (มหาชน) เปิดเทรดวันแรกในตลาด mai ด้วยราคา 8.70 บาท เพิ่มขึ้น 2.70 บาท หรือ 45% จากราคาขาย IPO ที่กำหนดไว้หุ้นละ 6.00 บาท ระหว่างวันราคาหุ้นปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 8.80 บาท ต่ำสุดที่ 7.15 บาท เมื่อปิดตลาดราคาหุ้นอยู่ที่ 7.30 บาท เพิ่มขึ้น 1.30 บาท คิดเป็น 21.67% มูลค่าซื้อขาย 814.78 ล้านบาท นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ UBE เปิดเผยว่า การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นับเป็นก้าวสำคัญของบริษัทที่จะช่วยสนับสนุนให้บริษัทดำเนินธุรกิจได้ตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ในการสร้างสรรค์ธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างครบวงจร ส่งเสริมวิถีการเกษตรอินทรีย์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่ง UBE มีแผนจะนำเงินจากการระดมทุนไปขยายและพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตในธุรกิจเอทานอล ขยายกำลังการผลิตแป้งฟลาวมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเกษตรอินทรีย์ให้มีมูลค่าสูง

ทั้งนี้ UBE ขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในช่วงที่ผ่านมา 1,370 ล้านหุ้น ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัท 1,174,286,000 หุ้น หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด 97,857,000 หุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ BBGI 97,857,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 2.40 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 2,818 ล้านบาท และมีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO ประมาณ 9,394 ล้านบาท

นายชาคริต ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีแพนเนล จำกัด (มหาชน) หรือ CPANEL กล่าวว่า การเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (PROPCON) เป็นวันแรกถือว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างดี โดยการระดมทุนของบริษัทในครั้งนี้ บริษัทจะนำไปชำระหนี้สถาบันการเงิน พร้อมเดินหน้าลงทุนก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ในพื้นที่โรงงานเดิมด้วยระบบการผลิต Fully Automated ที่มีกำลังการผลิต 720,000 ตารางเมตรต่อปี หรือเท่ากับกำลังการผลิตเพิ่มอีก 1 เท่าตัว ซึ่งจะมีระยะเวลาก่อสร้างในช่วงไตรมาส 2/65 ถึงไตรมาส 4/66 คาดการณ์เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ภายในไตรมาส 1/67

“แนวโน้มผลประกอบการช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยบริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) ณ 30 มิ.ย64 ที่ 1,156.03 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ 228.56 ล้านบาท จากภาพรวมตลาดแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง มีปัจจัยสนับสนุนจากเทรนด์ของโครงการก่อสร้างในปัจจุบันที่มีลักษณะขายก่อนสร้างทีหลัง ทำให้ผู้ประกอบการที่ยังมีการลงทุนในโครงการต่างๆ ต้องการความรวดเร็ว ปัจจัยดังกล่าวจึงหนุนความต้องการใช้ Precast Concrete ของ CPANEL เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง” นายชาคริตกล่าว

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า CPANEL เป็นผู้ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ที่มีทีมผู้บริหารและบุคลากรที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมคอนกรีตสำเร็จรูป มีเทคโนโลยีและเครื่องจักรการผลิตระบบ Fully Automated ที่ควบคุมทุกขั้นตอนการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจ สามารถบริหารจัดการต้นทุน และกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพในการเติบโตสอดคล้องกับความต้องการในอนาคต นับได้ว่าเป็นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีบริษัทหนึ่ง

“ภายหลังการระดมทุน CPANEL จะสามารถสร้างการเติบโตเพิ่มขึ้น จากฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ความพร้อมในการดำเนินธุรกิจอย่างประสิทธิภาพ เพื่อรองรับความต้องการที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนในเรื่องต้นทุนเวลา ต้นทุนของผู้ประกอบการ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อีกทั้งเงินที่ได้จากการระดมทุนส่วนหนึ่งจะถูกนำไปชำระคืนเงินกู้ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อทุน (Debt to Equity Ratio : D/E Ratio) ลดลง” นายสมศักดิ์ กล่าว