͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “อธิรัฐ” เร่งรัด 5 Flagship พัฒนาท่าเทียบเรือสำราญ หนุนท่องเที่ยวทางทะเล  (อ่าน 106 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16170
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (นปท.) ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 13 ก.ย. โดยมี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ประชุมรับทราบสถานะ Flagship 5 โครงการสำคัญ กระทรวงคมนาคม พร้อมทั้งมีข้อสั่งการให้ดำเนินการขับเคลื่อนอย่างรอบคอบ เข้มแข็งให้เป็นไปตามแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลอย่างเคร่งครัดต่อไป

โดย 5 โครงการสำคัญ คือ 1. โครงการศึกษาวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมทุนการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) อ.เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 2. โครงการวางแผนแม่บทเพื่อพัฒนาท่าเรือ สำรวจออกแบบ Cruise Terminal ฝั่งอันดามัน

3. โครงการศึกษาสำรวจออกแบบท่าเรือต้นทาง (Home Port) สำหรับ Cruise Terminal อ่าวไทยตอนบน 4. โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวและบริหารจัดการภายในท่าเทียบเรือเพื่อความปลอดภัยที่ท่าเทียบเรือฯ ปากคลองจิหลาด จ.กระบี่ 5. โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวและบริหารจัดการภายในท่าเทียบเรือเพื่อความปลอดภัยที่ท่าเทียบเรือฯ ท้องศาลา และท่าเทียบเรือหาดริ้น อ.เกาะพงัน สุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมเจ้าท่าได้ร่วมแก้ปัญหากับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล หรือ ศรชล. ดำเนินการในเรื่องการควบคุมเรือสำราญและกีฬา (เรือยอชต์) ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสนับสนุนโครงการ Phuket Sandbox

รวมถึงบูรณาการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะบริเวณอ่าวบ้านดอน สุราษฎร์ธานี ได้รื้อถอน 465 ขนำ สามารถส่งคืนพื้นที่อ่าวบ้านดอนกว่า 200,000 ไร่ (อ.เมืองสุราษฎร์ฯ (28,265 ไร่) อ.กาญจนดิษฐ์ (23,378 ไร่) อ.ท่าฉาง (23,457 ไร่) อ.ไชยา (8,164 ไร่))

แก้ไขปัญหาการใช้ร่องน้ำเดินเรือในทะเลสาบสงขลา ได้แก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย หารือร่วมหลายฝ่ายและสำรวจเปิดร่องน้ำสัญจรเร่งด่วน 2 ครั้ง แก้ไขปัญหาระหว่างประมงพื้นบ้านกับโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้จัดทำแนวทางแก้ไขปัญหากระทบต่อโครงการฯ ระยะที่ 3 แล้ว เกี่ยวกับการเรียกร้องการเยียวยาประมงพื้นบ้าน และนำเป็นโมเดลเยียวยาให้แก่ชาวประมงต่อไป และการบูรณาการให้ความช่วยเหลือกรณีเรือสันทัดสมุทรอับปาง บริเวณเกาะสมุย ขณะนี้ได้ดำเนินการเก็บกู้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว