͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ครึ่งปี 64 รถบรรทุก ยังโต ... เอ็ม เอ เอ็น ชูบริการรุกตลาด  (อ่าน 99 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12401
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด



เมื่อพูดถึงรถบรรทุก ความสนใจอาจไม่มากเท่ารถยนต์ขนาดเล็กทั่วไป จะเป็น รถเก๋ง ปิกอัพ หรือ เอสยูวี ก็ตาม เพราะเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้ว ตลาดรถบรรทุกมีความสำคัญอย่างมาก และหลายคนกำหนดให้เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ

การที่หลายคนกำหนดให้เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ เพราะแน่นอนว่ารถบรรทุกคงไม่มีใครซื้อไปขับเล่น แต่ซื้อไปสำหรับประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ ดังนั้นหากตลาดรถบรรทุกมีความเคลื่อนไหวที่ดี ก็แสดงว่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีทิศทางที่ดีด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นขนส่ง โลจิสติกส์ เกษตรกรรม หรือว่า ก่อสร้าง เป็นต้น

และสำหรับปีนี้ แม้ว่าตลาดจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 แต่ปรากฏว่าช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา กลับอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มียอดจดทะเบียนจากกรมการขนส่งทางบก 8,192 คัน เพิ่มขึ้น 28% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 

จักรพงษ์ ศานติรัตน์ ผู้อำนวยการ เอ็ม เอ เอ็น ทรัค แอนด์ บัส ประเทศไทย ผู้จำหน่ายรถบรรทุก เอ็ม เอ เอ็น กล่าวว่าตัวเลขจดทะเบียนดังกล่าวเป็นรถขนาด 7 ตัน ขึ้นไป หรือกลุ่มรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่สุดในไทย 

และสิ่งที่น่าสนใจอีกสิ่งหนึ่ง คือ เมื่อดูยอดขายรายเดือน ก็พบว่าเติบโตทุกเดือนเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เห็นภาพว่าตลาดมีทิศทางขาขึ้น 

อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่รุนแรงขึ้น ก็ต้องจับตาดูต่อไปว่าจะมีผลมากน้อยแค่ไหน แต่เบื้องต้นเมื่อประเมินตามสถานการณ์ อาจเห็นภาพตลาดรถบรรทุกเติบโตแบบชะลอตัว จนถึงเดือน ต.ค. จากนั้นจะกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง 


ทั้งนี้มองว่าตลาดรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่เติบโต เป็นเพราะหลายธุรกิจ อุตสาหกรรมขยายตัว รวมถึงภาคขนส่ง แม้ว่าจะมีบางกลุ่มที่สถานการณ์ไม่ดี แต่บางกลุ่มก็ยังเดินหน้าได้ดี

“ผู้ประกอบการขนส่ง-โลจิสติกส์ ก็ปรับตัวเช่นกัน ไม่ได้เสนอแค่เรื่องของการขนส่ง แต่นำเสนอแพคเกจบริการ ทำให้ได้รับการตอบรับที่ดี ส่วนรายล็ก อาจจะได้รับผลระทบมากกว่า เพราะการแข่งขันรุนแรง ทำให้หลายคนนำเรื่องของราคามาใช้ ทำให้ได้รับผลกระทบมากขึ้น”

และการแข่งขันนำเสนอแพคเกจบริการให้กับลูกค้า มองว่าจะเป็นผลดีต่อตลาดรถยุโรป ซึ่งปัจจุบันยังมีขนาดเล็ก โดยช่วงครึ่งปีมียอดขาย 280 คัน เติบโต 10% ขณะที่ตลาดใหญ่ที่สุดคือรถญี่ปุ่น มียอดขาย 7,561 คัน เติบโต 26% ส่วนอีกตลาดหนึ่งที่เติบโตสูง คือ จีน 196% แต่ว่าขนาดตลาดยังไม่ใหญ่นัก 269 คัน

การที่มองว่าการแข่งขันของภาคขนส่ง-โลจิสติกส์ จะส่งผลดีกับรถยุโรป แม้จะมีราคาที่สูงกว่า แต่ก็เชืื่อว่าจะช่วยให้ภาพลักษณ์ของการดำเนินธุรกิจดีกว่า นำไปสู่การได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น

ในส่วนของ เอ็ม เอ เอ็น ก็มีผลงานที่น่าพอใจ แม้ว่าจะเริ่มทำตลาดเองอย่างจริงจังได้ไม่นาน ช่วงเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว และเริ่มส่งมอบรถได้ช่วงเดือน ธ.ค. แต่ก็สามารถสร้างยอดขายได้ 58 คัน เพิ่มขึ้น 81% มีส่วนแบ่งการตลาด 21% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วทั้งปีที่ทำได้ 9% และมั่นใจว่าเมื่อถึงสิ้นปีจะมียอดขายอย่างน้อย 100 คัน และส่วนแบ่งตลาด 14-15%

แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายของโควิด-19 แต่เอ็ม เอ เอ็น ก็มั่นใจว่าสามารถฝ่าไปได้ โดยกลยุทธ์ที่ใช้ นอกจากด้านตัวสินค้าที่เชื่อว่ามีคุณภาพ และราคาแข่งขันได้ แม้จะเป็นรถนำเข้า (CBU) จาก เยอรมนีแล้ว ก็คือ พันธมิตรทางการเงินที่หลากหลาย

“ผู้ซื้อรถบรรทุกทั้งหมดจะซื้อผ่านไฟแนนซ์ ซึ่งเราจะไม่บังคับ แต่มีพันธมิตรหลายรายให้ลูกค้าเลือก ทำให้สามารถเลือกข้อเสนอที่พึงพอใจที่สุดได้”

นอกจากนี้ก็ยังมีข้อเสนอด้านการบริการ เช่น บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน (Roadside Assistance) ครอบคลุม 24 เดือน ด้วยพันธมิตรที่มีครอบคลุมทั่วประเทศ

“หรือจะเป็นเรื่องการบำรุงรักษา แถมเซอร์วิส คอนแทคท์ 3 ปี หรือ 3 แสน กม. หรือ ออนไซต์ เซอร์วิส บริการบำรุงรักษารถลูกค้าถึงที่ แม้จะแค่คันเดียวก็ตาม ทั้งหมดนี้ทำให้ลูกค้าของเราพึงพอใจมาก”

ทางด้านเครือข่ายจำหน่าย ก็มีแผนจะเปิดเพิ่มหลังจากเปิดที่หาดใหญ่ไปไม่นาน โดยเล็งพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่นครราชสีมา และภาคเหนืออีก 1 แห่ง 

https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/951933