รีแพร์ หรือ กระชับช่องคลอด ทำได้ 2 วิธี คือการผ่าตัดและการใช้เลเซอร์ การผ่าตัดรักษาแบบดั้งเดิมทำได้โดยการเย็บติดเพื่อรวบเนื้อเยื่อที่นูนเข้าด้วยกัน แต่เป็นวิธีการที่ไม่นิยมในปัจจุบัน เพราะมีอัตราการล้มเหลวถึง 25-60% จึงได้มีการพัฒนาการผ่าตัดรักษาด้วยเทคนิคใหม่ คือ การนำแผ่นพยุงตาข่ายพิเศษ (Mesh) แปะหรือฝังในผนังช่องคลอด ทำให้การผ่าตัดประสบความสำเร็จมากขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาช่องคลอดหย่อนยานได้ถึง 95% และหลังทำผู้ป่วยจะไม่รู้สึกว่ามีแผ่นพยุงอยู่ในช่องคลอด การผ่าตัดทั้งสองวิธีนี้เป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไขกระเพาะปัสสาวะหย่อนและลำไส้หย่อน
สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีการหย่อนยานของผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง แพทย์จะทำการผ่าตัดรักษา กระบังลมหย่อน เรียกว่า A-P Repair หรือ Anterior-Posterior Vaginal Repair โดยเป็นการผ่าตัดนำผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง และเนื้อเยื่อส่วนเกินที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอดออกไป รวมทั้งตกแต่งกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ส่วนปลายที่หย่อนคล้อย กรณีที่ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนอย่างรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาใช้แผ่นพยุงตาข่ายพิเศษ (Mesh) ร่วมด้วย เพื่อให้เนื้อเยื่อและอวัยวะในอุ้งเชิงกรานกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม ทำให้ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนดีขึ้นและช่องคลอดกระชับขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดทำรีแพร์ เช่น เสียเลือดมาก เกิดการติดเชื้อ ผนังกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ทะลุ หากผ่าตัดบริเวณฝีเย็บสูงเกินไปอาจทำให้เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ อวัยวะเพศอาจผิดรูปร่างไปทำให้ไม่เป็นที่พอใจได้ เป็นต้น สำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำรีแพร์ ได้ คือ ผู้ป่วยเบาหวาน เพราะแผลอักเสบและติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ, ผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศภายใน 1 สัปดาห์ และผู้ที่มีอาชีพที่ต้องเดินทางบ่อยๆ เพราะ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัดเสี่ยงต่อการเกิดแผลแยก แผลอักเสบ และฉีกขาด
รีแพร์ กระชับช่องคลอด คืนความมั่นใจให้ผู้หญิง ดูเพิ่มเติมที่นี่ https://www.natchayaclinic.com/review/view/270