คอร์สติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย - O-NET O-NET คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งในภาษาฝรั่งก็คือ Ordinary National Education Test ที่จัดสอบโดย สทศ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ใช้ อาจารย์ระดับมัธยมปลายที่มีความเชี่ยวชาญในการออกข้อสอบ) หรือ National Institute of Educational Testing Service ตัวย่อ NIETS
การสอบ O-NET นี้จะใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะใช้วัดความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 โดย ที่ข้อสอบจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 5กลุ่มสาระการเรียนรู้ (จากเดิมที่เคยมี 8กลุ่ม) ได้แก่
ภาษาไทย
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ภาษาอังกฤษ
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
O-NET เป็นการทดสอบที่มีจุดหมายเดียวกัน คือประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนแต่ละโรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาทำแผนพัฒนานักเรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ รู้จักคิดวิเคราะห์ เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทดสอบวัดผลการเรียนของโรงเรียนนั้นๆ
การสอบ O-NET ใช้ข้อสอบมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ นักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งแบ่งระดับการสอบออกเป็น 3 ช่วงชั้น คือ
1) ป.6 ใช้โรงเรียนที่นักเรียนเรียนอยู่เป็นสนามสอบ
2) ม.3 ใช้โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นสนามสอบ
3) ม.6 ใช้ศูนย์สอบมหาวิทยาลัย 20 แห่งเป็นสนามสอบ โดยคะแนนจากการสอบแต่ละวิชามีความสำคัญมาก เพราะเป็นองค์ประกอบในการยื่นเลือกคณะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือ Admission กลางนั่นคือ คะแนนที่เราสอบทุกคะแนน จะเอาไปคำนวณและรวมกับ GPAX GAT PAT ให้ออกมาเป็นคะแนน Admission อีกทั้งในหลายๆคณะใน Admissionกลาง ได้กำหนดขั้นต่ำของคะแนนสอบ O-Net เอาไว้ด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม ตรวจสอบได้ทาง
http://www.niets.or.th/th/catalog/view/241 แต่ทีผ่านมายังไม่มีการนำผลคะแนน O-Net มาใช้อย่างจริงจัง เป็นเพียงเก็บเป็นสถิติ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อประเมินการเรียนการสอน รวมถึงการแก้ไขปัญหาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของ โรงเรียน และนักเรียนที่มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
สทศ.ยังจัดสอบในรูปแบบคล้ายๆ กับ O-Net แต่เรียกต่างกัน เช่น โรงเรียนพระเรียก B-Net, กศน.เรียก N-Net, อาชีวะ เรียก V-Net และอิสลามศึกษา เรียก I-Net ซึ่งมีจุดมุ่งหมายของการสอบเช่นเดียวกับ O-Net นั่นเอง