͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: INTERVIEW: CEO วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ เปิดเส้นทางนำธุรกิจก้าวข้ามทุกความขัดแย้งมุ่งหน้าเข้าตลาดทุน  (อ่าน 29 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ hs8jai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12750
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด

นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) ประกาศความชัดเจนแผนขยายธุรกิจพลังงานทดแทนครั้งใหญ่ด้วยการวางเป้าหมายผลักดันรายได้ทะลุ 1.5 หมื่นล้านบาทภายในปี 68 ด้วยกำลังผลิตไฟฟ้าในมือสูงขึ้นแตะ 1,500 เมกะวัตต์ เตรียมเสริมทุนกว่า 5.5 หมื่นล้านบาทรองรับแผนยื่นขายไฟฟ้ารอบใหม่ 870 เมกะวัตต์ แม้ว่าปัญหาคดีความที่เกิดจากความขัดแย้งของผู้ถือหุ้นยังคงค้างคาอยู่ แต่หวังว่าจะคลี่คลายได้ภายในสิ้นปี 66 จึงเชื่อว่าเส้นทางครั้งนี้ช่วยให้ WEH ก้าวเข้าสู่ตลาดทุนได้ในที่สุด

"บริษัทหวังว่าปลายปี 66 คดีความต่าง ๆ จะคลี่คลายไปได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีความขัดแย้งของผู้ถือหุ้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ซึ่งที่ผ่านมา สามารถเดินหน้าไปตามแผนงานปกติ"นายณัฐพศิน กล่าว
*ลุ้นคลายปม 4 คดีสำคัญปลายปี 66

นายณัฐพศิน กล่าวว่า คดีความและข้อพิพาทต่าง ๆ ที่บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องมีเพียง 4 คดีสำคัญ ซึ่งผลของคดีล้วนไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัท โดยส่วนใหญ่ เป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ถือหุ้นบางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทสามารถสร้างเสถียรภาพในการบริหารงาน และความแข็งแกร่งทางการเงินได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีข้อพิพาทต่าง ๆ เหล่านั้นเกิดขึ้น

ส่วนแนวโน้มผลการพิจารณาคดีและข้อพิพาทต่าง ๆ คาดว่าจะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก การบริหารงานภายใน ความสามารถในการดำเนินงาน และผลประกอบการของบริษัท

คดีของนายเกษม ณรงค์เดช ฟ้องแพ่งและอาญา นายณพ ณรงค์เดช ผู้ถือหุ้น WEH ซึ่งเป็นบุตรชาย พร้อมผู้ถือหุ้น WEH บางส่วน โดยนายเกษม ขอให้มีการอายัดเงินปันผลของ WEH ไว้ก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งปัจจุบันคำสั่งอายัดดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ในส่วนของคดีอาญา ศาลได้ยกฟ้องไปแล้วเช่นเดียวกัน และศาลไม่ให้อายัดเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ โดยคดีนี้ WEH ถูกระบุว่าเกี่ยวข้องในฐานะนายทะเบียนเท่านั้น
คดีสืบเนื่องจากคดีข้างต้น โดยนายกฤษณ์ และนายกรณ์ ณรงค์เดช ฟ้องนายณพ โดยส่วนนี้เกี่ยวข้องเฉพาะหุ้น WEH ที่อยู่ในมือของโกลเด้น มิวสิค 39 ล้านหุ้น ซึ่งผู้ฟ้องขอให้มีการอายัดหุ้นและเงินปันผลส่วนนี้ ซึ่งเริ่มฟ้อง 1-2 เดือนที่ผ่านมา
คดีปกครอง เป็นกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชาวบ้านในท้องที่บางส่วนฟ้องบริษัทว่ากังหันผลิตไฟฟ้าสร้างเสียงรบกวน ซึ่งบริษัทได้พิสูจน์ว่าเสียงจากกังหันผลิตไฟฟ้าไม่เกินค่ามาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด คาดว่าจะจบได้เร็ว ๆ นี้
คดีพิพาทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการที่อังกฤษ โดยมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับบริษัทคือกรณีของอดีตผู้บริหารได้อนุมัติให้บริษัทต้องรับผิดชอบค่าทนายความต่อสู้คดีที่ตัวเองถูกฟ้องเป็นการส่วนตัว โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการฟ้องเรียกเงินคืนกว่า 300 ล้านบาทจากกรณีดังกล่าวเช่นกัน
"ข้อพิพาทต่างๆ ของบริษัทในปัจจุบันเป็นไปในทางที่ดีขึ้น แม้ว่ายังอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลหรืออนุญาโตตุลาการ โดยบริษัทฯ คาดว่าข้อพิพาทดังกล่าวน่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดในช่วงปลายปี 66"นายณัฐพศิน กล่าว
*กลุ่มผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก 51% ทำ MOU จับมือกันแน่นสร้างเสถียรภาพ

นายณัฐพศิน กล่าวอีกว่า สำหรับความขัดแย้งของกลุ่มผู้ถือหุ้น WEH เพื่อชิงอำนาจบริหารใน WEH ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ขณะนี้ถือว่าสงบลงแล้ว หลังจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นขณะนี้ กลุ่มของนายประเดช กิตติอิสรานนท์ รวบรวมหุ้นไว้ได้ 39% บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) 7% บมจ.เด็มโก้ (DEMCO) 4% และครอบครัวเชฎฐ์อุดมลาภอีก 1% ทั้งหมดได้ทำ MOU ร่วมกันที่จะลงมติไปในทิศทางเดียวกัน

ส่วนของนายณพ ถือหุ้นราว 38% ที่เหลือเป็นรายย่อย หลังจากรายย่อยบางส่วนได้ขายหุ้นออกไปให้กับ NUSA ไปแล้ว จากนั้น บริษัท ธนา พาวเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ WEH ถือหุ้นทั้ง 100% ก็ได้เข้าไปทำดีลแลกเข้าไปถือหุ้น 3.56% ใน NUSA

*ปักธงชิง PPA พลังงานทดแทนกว่า 870 MW คาดใช้เงินทุนกว่า 5.5 หมื่นลบ.

นายณัฐพศิน กล่าวถึงแผนธุรกิจในช่วง 3-5 ปี ต่อจากนี้ว่า บริษัทตั้งเป้าหมายเพิ่มยอดกำลังการผลิตรวม COD จากพลังงานลมให้แตะ 1,500 เมกะวัตต์ภายใน 5 ปี รวมถึงมองหาโอกาสการลงทุนที่ดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายรายได้ในทะลุ 1.5 หมื่นล้านบาทในปี 68 ภายใต้กำลังผลิตเพิ่มขึ้น 250 เมะวัตต์ หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 12% จากปี 64 ที่มีรายได้ 1.1 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ หลังจากปัญหาหลายอย่างคลี่คลายไปในทางที่คดีขึ้น บริษัทจึงประกาศเดินหน้าขยายธุรกิจด้วยการวางเป้าหมายจะเข้ายื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่ภาครัฐในรอบใหม่นี้ เป็นโครงการพลังงานลม 9 โครงการ รวม 810 เมกะวัตต์ และพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) 2 โครงการ รวม 60 เมกะวัตต์ ซึ่งสัญญา PPA ใหม่ที่บริษัทคาดหวังจะช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับรายได้ในอนาคต

นายณัฐพศิน กล่าวว่า หากบริษัทสามารถคว้า PPA ได้ตามแผนทั้งหมด คาดว่าจะต้องใช้เงินทุนเพื่อพัฒนาโครงการกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท โดยจะดำเนินการพัฒนาโครงการด้วยตัวเองทั้งหมด วางแผนจะใช้เงินกู้ในลักษณะ Project Finance ในสัดส่วนราว 75% เปิดกว้างสถาบันการเงินทุกแห่งมายื่นข้อเสนอ ส่วนอีก 25% จะมาจากระแสเงินสดของบริษัทที่มีเข้ามาราวปีละ 4-5 พันล้านบาท

ส่วนภาระหนี้สินที่มีอยู่ในปัจจุบันจากการพัฒนาโครงการพลังงานลม 8 แห่ง ขนาดกำลังผลิตรวมกัน 717 เมกะวัตต์ตั้งอยู่ในชัยภูมิ และนครราชสีมา หลังจากบริษัททยอยชำระหนี้ทำให้มูลหนี้ลดลงเหลือราว 2.5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่มีอยู่ราว 5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากสามารถดำเนินธุรกิจและรับรู้รายได้ตามแผนงานที่วางไว้ตามปกติ

นอกจากนั้น บริษัทยังมีช่องทางในการออกหุ้นกู้ หลังจากที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เห็นชอบให้บริษัทกำหนดวงเงินการออกหุ้นกู้ทั้งหมด 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาออกไปแล้ว 400 ล้านบาท และล่าสุดกำลังจะเสนอขายอีก 2 พันล้านบาท โดยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมการขยายแผนธุรกิจพลังงานและลงทุนในธุรกิจอื่นๆ และเป็นเงินทุนหมุนเวียน

บริษัทยังมีแผนศึกษาธุรกิจอื่นๆ เพิ่มเติมทั้งในและต่างประเทศ ที่มีศักยภาพการเติบโตสูง อาทิ เวียดนาม ไต้หวัน และยุโรปตะวันออก เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างยั่งยืนในอนาคต แต่ยอมรับว่าคงยังไม่มีข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้ เพราะยังต้องศึกษาให้รอบคอบก่อน

*เพิ่มทางเลือกดัน "ธนา พาวเวอร์ โฮลดิ้ง" เข้าตลาดหุ้น

นายณัฐพศิน กล่าวว่า แผนแรกคือการนำ WEH เข้าตลาดหุ้นเพื่อเพิ่มมูลค่ากิจการ ซึ่งน่าจะมีมูลค่ามากกว่าเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 7 หมื่นล้านบาท หากแผนงานและผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมาย และคดีความจากความขัดแย้งต่าง ๆ คลี่คลายไปได้ในช่วงปลายปี 66 ก็มีความเป็นไปได้มากที่ WEH จะเข้าตลาดหุ้นภายใน 2-3 ปีข้างหน้า

จากนั้นก็จะผลักดันบริษัทย่อย คือ บริษัท ธนา พาวเวอร์ โฮลดิ้ง เข้าตลาดหุ้น หลังจากเริ่มขยายธุรกิจออกไปนอกเหนือจากพลังงาน โดยไปลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพและความงาม ที่บริษัทเข้าไปลงทุนใน NUSA ขณะที่ยังมองโอกาสเข้าลงทุนในบริษัทอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ธุรกิจการเงิน รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน ซึ่งจะสามารถเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพของบริษัท

นายณัฐพศิน กล่าวว่า แต่หากใน 3 ปี ธนา พาวเวอร์ โฮลดิ้ง มีผลประกอบการที่ดีก็มีความเป็นไปได้ที่จะผลักดันเข้าตลาดหุ้นก่อน WEH