͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: "โอมิครอน BA.2" ตัวปิดเกมระบาด! เตือน 5 พฤติกรรมเสี่ยง ติดโควิดตรุษจีน  (อ่าน 328 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ B001

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 575
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
"โอมิครอน BA.2" ตัวปิดเกมระบาด! เตือน 5 พฤติกรรมเสี่ยง ติดโควิดตรุษจีน
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลย้ำ "โอมิครอน BA.2" กลายพันธุ์มาเป็นตัวปิดเกมการระบาด กำลังเข้าสู่โหมดของการสูญพันธุ์
"BA.2" ไม่รุนแรง ขออย่าตระหนก ต้องเร่งควบคุมระบาดใน กทม. หวั่น "โอมิครอน" กลายพันธุ์เพิ่ม กระทบปิดเกมโควิดฯ
สบส.ชี้ 5 พฤติกรรมเสี่ยงติดโควิดฯ ช่วงตรุษจีน แนะเลี่ยงการสัมผัส-เปลี่ยนพฤติกรรม ย้ำมาตรการครอบจักรวาล ยึดหลัก D-M-H-T-T สกัดแพร่เชื้อ
โควิดฯ ในไทยยังพุ่งต่อเนื่อง ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ กว่า 8 พันคนต่อวัน โดยมี กทม.เป็นแชมป์ติดเชื้อรายวัน ตามมาด้วยจังหวัดโดยรอบ ทั้ง สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี และปทุมธานี โดยเฉพาะช่วงเทศกาลตรุษจีน ที่จะถึงนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงทำเชื้อแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น ส่วนสถานการณ์ "โอมิครอน" ภายในประเทศนั้นถือว่าทรงตัว แต่ก็นิ่งนอนใจไม่ได้ หลังองค์การอนามัยโลก "WHO" ออกคำเตือนทั่วโลก ถึงกรณีพบผู้ติดเชื้อโควิดฯ "โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2" เพิ่มสูงขึ้น แต่ยังไม่จัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล แต่ก็กำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด ล่าสุดศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยข้อมูลว่า "โอมิครอน" อาจเป็นตัวปิดเกมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19        อาจเป็นตัวปิดเกมการระบาด
เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความว่า "โอมิครอน" มีวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อ "Endgame" การระบาดของโควิด-19 แบบ "Pandemic" หรือไม่? จากข้อมูลล่าสุดมีแนวโน้มจะเป็นไปได้ ข้อมูลจาก Dr. Ridhwaan Suliman นักวิจัยชั้นยอดของประเทศแอฟริกาใต้ได้นำเสนอกราฟที่น่าสนใจแสดงให้เห็นจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนในแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น และลดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 2 เดือน มีผู้เสียชีวิตต่ำมาก ขณะที่ช่วงเวลาการติดเชื้อระลอกแรก (อู่ฮั่น) ระลอกสอง (เบตา) ระลอกสาม (เดลตา) ใช้เวลายาวนานถึง 6 เดือน มีผู้เสียชีวิตสูงกว่าหลายเท่าตัว
mgwin88
"โอมิครอน" รหัสพันธุกรรมใกล้เคียง "อู่ฮั่น"
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ยังได้สุ่มดาวน์โหลดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ BA.1 BA.2 BA.3 อย่างละ 100 ตัวอย่าง รวมทั้งรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของชาวต่างชาติจากเอเชียใต้หนึ่งราย ที่เดินทางเข้าไทยและติดเชื้อ BA.2 มาวิเคราะห์การกลายพันธุ์แบบแผนภูมิ ที่แสดงถึงสายวิวัฒนาการแตกกิ่งก้านสาขาคล้ายต้นไม้ พบความสัมพันธ์ด้านจีโนมระหว่างโอมิครอนทั้ง 3 สายพันธุ์ มาจากต้นกำเนิดเดียวกัน B.1.1 มีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับไวรัสดั้งเดิมอู่ฮั่น มากกว่าสายพันธุ์อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา ฯลฯ BA.1 กลายพันธุ์ต่างไปจากอู่ฮั่นประมาณ 60-70 ตำแหน่ง BA.2 กลายพันธุ์ต่างไปจากอู่ฮั่นประมาณ 70-80 ตำแหน่ง BA.3 กลายพันธุ์ต่างไปจากอู่ฮั่นประมาณ 55-65 ตำแหน่ง

มีแนวโน้มเข้าสู่โหมดสูญพันธุ์
ดังนั้นจึงทำให้เห็นแนวโน้มว่า สายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ต่างจากอู่ฮั่นไปน้อยกว่า 60 ตำแหน่ง เช่น อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา ฯลฯ กำลังเข้าสู่โหมดของการสูญพันธุ์หรือ “Endgame” มีโอมิครอนที่มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากอู่ฮั่นถึง 80-100 ตำแหน่งเข้ามาแทนที่ แถมยังสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านสายพันธุ์เดลตาไม่ให้เพิ่มจำนวนกันได้อีกต่อไป ในส่วนโอมิครอนนอกจากจะมีสายพันธุ์หลัก BA.1 แล้ว ยังมีสายพันธุ์อุบัติตามกันมาคือ BA.2 BA.3 โดยเฉพาะ BA.2 มีอัตราการเพิ่มจำนวนเป็น 120% เมื่อเทียบกับ BA.1 จากข้อมูลทางคลินิกเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้พบว่าอาจไม่ก่อโรครุนแรงเช่นเดียวกับ BA.1 ทำให้เหมือนว่าธรรมชาติส่ง BA.1 มาแล้ว ยังส่ง BA.2 ตามมาด้วย เพื่อชะลอหรือยุติการระบาดโควิด-19 ทั่วโลก         "BA.2" ไม่น่ากังวล ไม่ต้องวิตก
ด้าน นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจผู้ป่วยหนักและโรคผู้สูงอายุ รพ.วิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊กว่า เชื้อไวรัสโควิดฯ มีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา ประเทศแอฟริกาใต้รายงานสายพันธุ์โอมิครอน BA.1 ครั้งแรกในเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว จากนั้นไม่นานมากกว่า 40 ประเทศพบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากกว่า 8,000 คน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยพบ BA.2 เช่นกัน มีรายงานว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2 นี้ มีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นมากกว่าสายพันธุ์ BA.1 อีก 20 ตำแหน่ง แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์ BA.1 แต่ไม่ได้รุนแรงมากขึ้น ไม่ทำให้คนเข้านอนในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ไม่น่าจะหลบหลีกภูมิคุ้มกัน ถ้าเคยติดเชื้อสายพันธุ์ BA.1 ยังมีภูมิคุ้มกันเพียงพอทำให้ไม่ติดเชื้อสายพันธุ์ BA.2 อีก ขณะนี้สายพันธุ์ BA.2 ยังไม่ถูกจัดเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล ไม่ต้องวิตกกังวล ถ้าจะมีการระบาดรอบต่อไปต้องมีการกลายพันธุ์มากกว่าเดิม จนเกิดสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดง่ายกว่าโอมิครอน และหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน เชื่อว่าคงเป็นไปได้ยาก ถ้าไม่มีสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนหลังจากโอมิครอน โรคโควิดฯ ก็จะเปลี่ยนเป็นโรคประจำถิ่น หรือโรคตามฤดูกาลเหมือนไข้หวัดใหญ่ในที่สุด       mgwin88 ?????           ต้องเร่งมือควบคุมการแพร่ระบาดใน กทม.
ขณะที่ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า นับเป็นเวลาติดต่อกัน 7 วันแล้ว ที่ยอดผู้ป่วยในเมืองหลวงเกินวันละ 1 พัน แม้เมื่อเทียบสัดส่วนกับประชากรทั้งหมด อาจจะยังไม่สูงที่สุดในประเทศ บ่งบอกถึงว่าการควบคุมโรคยังต้องเร่งมืออีกมาก เพราะจังหวัดอื่นๆ เริ่มควบคุมกันได้แล้วเป็นส่วนใหญ่

หวั่นโอมิครอนกลายพันธุ์เพิ่ม กระทบปิดเกมโควิดฯ
ส่วนการเปิดประเด็นเรื่องโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่พบเพิ่มขึ้นในหลายประเทศนั้น จะน่ากลัวกว่าสายพันธุ์ย่อยก่อนหน้านั้นหรือไม่ ที่จริงสายพันธุ์โอมิครอนมีสายพันธุ์ย่อยอยู่ 4 ตัวคือ B.1.1.529, BA.1, BA.2 และ BA.3 ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกยังหาคำอธิบายไม่ได้ว่าทำไม BA.2 จึงเพิ่มจำนวนได้เร็วในอินเดีย อังกฤษ แอฟริกาใต้ เดนมาร์ก อยู่ในขณะนี้ ต้องจับตาว่าจะมีความรุนแรงกว่า BA.1 ที่ครองตลาดอยู่เดิมหรือไม่ น่าสังเกตว่า 3 ประเทศแรกล้วนเป็นประเทศที่เคยติดเชื้อมาก และเป็นแหล่งกำเนิดของสายพันธุ์หลักในอดีต เรียงมาจากเดลตา อัลฟา เบตา ตามลำดับ จึงเกรงว่าอาจจะเป็นแหล่งการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นของสายพันธุ์โอมิครอนหรือไม่ จะส่งผลต่อการปิดเกมโควิดฯ ตามที่หลายคนตั้งความหวังไว้         ศบค.ขออย่าตื่นตระหนก "BA.2"          mgwin     
จากความตื่นตระหนกกับโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 นั้น พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เน้นย้ำยังไม่มีรายงานชัดเจนที่น่าเป็นห่วง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ติดตามสถานการณ์โลก ติดตามผู้ติดเชื้อในประเทศอย่างใกล้ชิด แม้จะพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวในไทยแล้ว แต่เบื้องต้นยังไม่พบความแตกต่างทางพันธุ์กรรมจากโอมิครอนเดิม แม้ต่างชาติจะระบุตรวจหาเชื้อดังกล่าวได้ยาก แต่กรมวิทย์ยืนยันว่ายังสามารถตรวจสายพันธุ์ดังกล่าวได้จาก ATK และ RT-PCR

สบส.ชี้ 5 พฤติกรรมเสี่ยงติดโควิดฯ ช่วงตรุษจีน
ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนชาวไทยเชื้อสายจีนมักจะรวมกลุ่มพบปะญาติพี่น้องไหว้ตรุษจีน หรือรับประทานอาหารร่วมกัน แต่การระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอนที่แม้อาการไม่รุนแรง แต่ติดต่อได้ง่าย ประชาชนจึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้ตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดเกิดความสุ่มเสี่ยงที่จะแพร่หรือติดโรคโควิดฯ ได้ นอกจากนี้ สบส.สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคโควิด-19 ช่วงเทศกาลตรุษจีนในกลุ่มตัวอย่าง 1,289 คน พบว่าประชาชนยังมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคโควิด-19 ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 5 อันดับ ดังนี้ ร้อยละ 61.4 ระบุประชาชนซื้อของเซ่นไหว้บรรพบุรุษในตลาด ร้อยละ 54.4 ระบุประชาชนนิยมให้อั่งเปาเป็นเงินสด ร้อยละ 29.5 ระบุประชาชนไม่มีการตรวจ ATK ก่อนพบปะสังสรรค์กับญาติ ร้อยละ 27.6 ระบุประชาชนยังคงมีการรวมกลุ่มกินอาหารกับญาติพี่น้อง และร้อยละ 24.2 ประชาชนไม่มีการสแกนไทยชนะหรือลงทะเบียนก่อนเข้าออกสถานที่ต่างๆ
mgwin88 ?????
เลี่ยงการสัมผัส-ยึดหลัก D-M-H-T-T สกัดแพร่โควิดฯ
นพ.ธเรศ กล่าวว่า เพื่อป้องกันความเสี่ยง ขอความร่วมมือประชาชนลดการสัมผัสโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการจับจ่ายในตลาด เป็นการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การมอบอั่งเปาเงินสดเปลี่ยนเป็นการโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทน ก่อนไปพบญาติพี่น้องหรือญาติผู้ใหญ่ควรมีการคัดกรอง ATK ด้วยตนเอง และเว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อที่สำคัญมาจากการสัมผัสกันภายในครอบครัว หรือการรับประทานอาหารร่วมกันที่บ้าน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ลูกหลานกลับมากราบไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งผู้ติดเชื้ออาจได้รับเชื้อมาจากสถานที่ระบาดและแพร่กระจายเชื้อสู่คนใกล้ตัวหรือผู้สูงอายุ จึงต้องระมัดระวังและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล และยึดหลัก D-M-H-T-T คือ เว้นระยะห่าง-สวมหน้ากากทุกครั้ง-ล้างมือบ่อยๆ-ตรวจเร็วควบคุมไว-ไปไหนสแกนไทยชนะอย่างเคร่งครัด
ติดตามรายละเอียดได้ที่ ::: https://slotxo-game.vip/